คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

วัดพระธาตุดอยกวางคำ

ตำนานพญากวางคำ บนดอยขุนห้วยโป่งแดง

            วัดพระธาตุดอยกวางคำ บ้านโป่งแดง-สัญชัย ตำบลทุ่งหัวช้าง อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน วัดนี้ถูกสร้างโดยหลวงปู่ครูบาเจ้าชัยยะวงศาพัฒนากิจจานุรักษ์(อดีตเจ้าอาวาสวัดพระพุทธบาทห้วยต้ม อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ซึ่งได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว) เมื่อประมาณ 50 กว่าปีที่แล้วในสมัยที่องค์หลวงปู่ได้ติดตามครูบาเจ้าศรีวิชัย และครูบาเจ้าอภัยขาวปี(วัดพระพุทธบาทผาหนาม อำเภอลี้) มาบูรณะวัดพระธาตุหัวขัวอำเภอทุ่งหัวช้าง

            วัดพระธาตุดอยกวางคำมีประวัติความเป็นมาที่น่าสนใจยิ่ง ดังนี้

ครั้งพุทธกาลแต่เดิมมา(สมัยสมเด็จพระกกุกสันโธสัมาสัมพุทธองค์)

      ณ ขุนห้วยโป่งแดงปัจจุบัน เวลาบ่ายคล้อย มีกวางฝูงหนึ่งประมาณสิบกว่าตัว ออกหากินตามประสาสัตว์โลก โดยการนำของจ่าฝูง (พญากวางคำ.. เหตุที่เรียกว่า พญากวางคำ ก็เพราะว่า เป็นกวางพระโพธิสัตว์ ตัวใหญ่ สีเหลืองดุจทองคำ) ในขณะเดียวกันนั้นก็มีพรานล่าเนื้อ สองกลุ่ม ออกล่าสัตว์ กลุ่มหนึ่งมาทางทิศเหนือ อีก กลุ่มหนึ่งมาทางทิศใต้ ได้มาเจอพญากวางคำฝูงกวางกำลังออกหากินอยู่พอดีด้วยความเป็นจ่าฝูง โดยสัญชาติญาณแห่งโพธิสัตว์ ที่จะให้บริวารพ้นภัยอันตราย จากกลุ่มพราน พญากวางอันมีสติปัญญาว่องไวและความเสียสละ จึงตัดสินใจหลอกล่อนายพรานทั้งสองกลุ่มให้สนใจติดตามตัวเองแต่ผู้เดียว โดยมุ่งหน้าวิ่งหลอกล่อพรานขึ้นไปบนเขาที่อยู่ใกล้ที่สุด คือ พระธาตุดอยกวางคำปัจจุบัน เพื่อให้พ้น และห่างจากบริวารที่หากินอยู่ โดยไม่ห่วงตัวเอง ไม่หวั่นเกรงต่อความตายในขณะนั้น บนจอมเขาขุนห้วยโป่งแดงที่พญากวางคำกำลังวิ่งขึ้นไปนั้นมีพระเถระรูปหนึ่งออกเดินธุดงค์โปรดสัตว์โลก มาพักปักกลดจำศีลภาวนาอยู่บนจอมเขา ขณะนั้นกำลังทำวัตรสวดมนต์พระอภิธรรมอยู่ พญากวางคำได้วิ่งหนีพรานมาเจอพระมหาเถระสวดมนต์พระอภิธรรมอยู่ จึงได้หยุดยืนฟัง และพิจารณาว่าเสียงนี้เหมือนเคยได้ยินได้ฟังมาก่อน ไพเราะมาก จิตจึงเกิดความเพลิดเพลินหลงใหลติดในเสียงสวดมนต์ ของพระมหาเถระ ลืมว่ากำลังวิ่งหนีกลุ่มพรานอยู่ ไม่สนใจไม่กลัวความตายว่าจะมาถึงตัว พรานล่าเนื้อทั้งสองกลุ่มได้วิ่งไล่พญากวางขึ้นมาบนจอมเขา เพราะเห็นรูปร่างลักษณะใหญ่โตสวยงาม พญากวางหยุดอยู่กับที่ไม่เคลื่อนไหวก็ใช้ธนูยิงใส่พญากวางทันที โดยไม่ลังเล และไม่ทันสังเกตว่ามีพระธุดงค์ปักกลดอยู่ใกล้ ๆ (หลวงปู่ฯบอกว่า ด้วยบารมีบุญเก่าเดิมมา และอานิสงส์ที่จิตติดในเสียงสวดมนต์เป็นธรรมของพระพุทธเจ้า)    ในขณะนั้นพญากวางคำไม่รู้สึกตัวว่าถูกยิงเสียชีวิต.... แต่รู้ตัวว่าเหมือนหลับแล้วตื่นขึ้นมา ก็ได้อุบัติจุติเกิดเป็นเทพบุตรอยู่บนสวรรค์
ชั้นตาวติงสา (ดาวดึงส์)มีปราสาทวิมานกว้างได้สิบสองโยชน์ สูงสิบสองโยชน์ และมีเทพธิดานางฟ้าเป็นบริวารอีก เป็นพันองค์ ส่วนพรานทั้งสองกลุ่มก็ได้แบ่งเนื้อกวาง โดยไม่ได้สนใจพระธุดงค์ที่ปักกลด สวดมนต์อยู่ หนังของกวาง นั้น พรานได้เอาไปตากไว้บนก้อนหินใกล้ ๆ กับเขาลูกนี้ (ปัจจุบันกลายเป็นแท่นหินหนังกวาง อยู่ห่างจากวัดไม่ไกลนัก หลวงปู่ฯเมตตาพาชาวบ้านไปดู และยืนยันด้วยองค์ท่านเอง) ส่วนหัวของกวาง พรานได้นำไปคั่ว ปัจจุบันคือบ้านหัวขัว แต่หลวงปู่ฯ บอกว่า “บ้านหัวขัว” ไม่ถูก ต้องเป็น “หัวคั่ว” เพราะพรานเอาหัวกวางมาคั่วที่นี่ ปัจจุบันนี้ชาวบ้านเรียกเพี้ยนเป็นภาษาล้านนาว่า “หัวขัว” (หัวสะพาน) ก็เป็นจริงอย่างที่หลวงปู่ฯ บอก เพราะชาวบ้านได้ไปขุดลอกลำเหมือง ข้างวัดม่วงคำ ในสมัยที่องค์ท่านได้บูรณะ วัดม่วงคำ ปัจจุบันได้ไปเจอกระดูกกะโหลกกวางฝังอยู่จึงนำไปให้หลวงปู่ฯพิจารณา.. ท่านบอกว่า ใช่ เป็นกระดูกส่วนหัวพญากวาง คำ(น่าเสียดาย มิได้มีใครสนใจเก็บรักษาไว้ จึงได้สูญหายไปในที่สุด 
พระมหาเถระนั้น เมื่อสวดมนต์ไหว้พระปฏิบัติกรรมฐานแล้ว จึงได้ มาเทศน์โปรดสั่งสอนบอกกล่าวให้กลุ่มพรานที่กำลังแบ่งเนื้อพญากวางคำ และได้ชี้บอกพรานทั้งหลายว่า....“สูทั้งหลายทำบาปมากแล้วสูรู้ไหมว่ากวางที่สูยิงนั้น มิใช่กวางธรรมดาทั่วไป แต่เป็นพญากวาง คำโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมี ได้พาบริวารออกหากิน ต่อไปภายหน้า จัก ได้เป็นพระพุทธเจ้า อีกต๋นหนึ่ง” แล้วเทศน์โปรดพรานให้เลิกฆ่าสัตว์ตัดชีวิต หันมาทำบุญรักษาศีลโดยการให้นำศีลห้าไปปฏิบัติ พรานทั้งหมดเมื่อฟังพระมหาเถระเทศน์จบ ก็มีจิตศรัทธาเลื่อมใส ในพระรัตนตรัยจึงขอรับศีลห้าไปปฏิบัติ แล้วพร้อมใจกันนำอาวุธทั้งหมด ถวายพระ มหาเถระ เพื่อบูชาพระธรรมคำสอนของพระมหาเถระและบูชาศีลห้า (หลวงปู่ฯ จึงบอกว่าดอยลูกนี้ คือดอยศีลห้า)

       เมื่อกลุ่มพรานมีจิตศรัทธาเลื่อมใสในพระรัตนตรัยแล้ว จึงนึกถึงพระคุณองพระมหาเถระ กลุ่มพราน จึงได้ขอให้พระมหาเถระทำสัญลักษณ์ไว้ให้เป็นอนุสรณ์ตัวแทนของพระมหาเถระ เพื่อเขาจะได้สักการะบูชาต่อไปในวันข้างหน้า พระมหาเถระ จึงได้อธิษฐานจิตเหยียบรอยเท้าไว้บนหิน ให้พรานรักษา และได้มากราบไหว้สักการบูชา ต่อไป    พระมหาเถระได้เล็งเห็นว่าในอนาคต ณ สถานที่แห่งนี้ คงจะดำรงอายุสืบทอดพระพุทธศาสนาในอนาคตข้างหน้า พระมหาเถระจึงได้ขอเอาพญากวางโพธิสัตว์จากพรานไว้ หลังจากพรานกลับกันไปหมดแล้ว พระมหาเถระ จึงได้นำเขาพญากวางคำมาที่ได้ขอมาจากพราน อธิษฐานจิต ฝังเขาพญากวางคำไว้ตรงจุดสูงสุด ของจอมเขาแล้วทำสัญลักษณ์ไว้ โดยการนำเอาหินสามก้อนมาวางไว้เป็นรูปสามเหลี่ยม (ปัจจุบันหลวงปู่ฯ ได้สร้างพระธาตุครอบ ตรงหินสามก้อนที่ฝังเขาพญากวางคำ)พรานทั้งสองพวก จึงได้แยกย้ายกันกลับ อีกพวกหนึ่งไปทางทิศใต้ อีกพวกหนึ่งไปทางทิศเหนือพอไปได้สักระยะหนึ่ง ทั้งสองพวกจึงมาคิดทบทวนคำขอกของพระมหาเถระว่า กวางตัวนี้ไม่ใช่กวางธรรมดา แต่เป็นพญากวางคำโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมี วันข้างหน้าได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาลข้างหน้า เมื่อคิดได้จึงปรึกษาพร้อมใจกันไม่กินเนื้อพญากวางคำ แล้วพร้อมใจกันนำเอาเนื้อพญากวางคำมากองรวมกันไว้ทั้งหมด แล้วแยกย้ายกันกลับ

        ปัจจุบันเนื้อพญากวางคำ ได้กลายเป็นหินหมด และหลวงปู่ฯได้ให้ไปเก็บเอามารักษาไว้บนวัด เพื่อให้อนุชนรุ่นหลัง ได้เห็นเป็นอนุสติเตือนใจในสมัยที่องค์หลวงปู่มาเจอรอยพระบาท แล้วได้ชาวบ้านกระเหรี่ยงมาช่วยสร้างให้เป็นวัดขึ้น จึงได้บอกให้ชาวบ้านไปดูจุดที่พรานนำเนื้อพญากวางคำกองไว้ ไม่ห่างจากวัดพระธาตุดอยพญากวางคำไปเท่าใดนัก

       สำหรับการสร้างวัดพระธาตุดอยกวางคำนั้น มีเรื่องเล่าจากผู้ใกล้ชิดครูบาบันทึกไว้ว่า  เมื่อประมาณหกสิบปีที่ผ่านมา ในสมัยที่ท่านได้ติดตามพระครูบาเจ้าศรีวิชัยมาบูรณะซ่อมแซม วัดพระธาตุหัวขัว ห่างจากวัดฯไปทางทิศตะวันตก ประมาณ ๕ กิโลเมตร เป็นวัดที่มีอายุเก่าแก่พอสมควร ในเขตอำเภอทุ่งหัวช้าง มีอยู่วันหนึ่งชาวบ้านหัวขัวได้เล่าให้ท่านฟังว่า ได้ไปหาเห็ดบนดอยตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของ วัดพระธาตุหัวขัว ประมาณห้ากิโลเมตร ได้ไปเจอรอยเท้าอยู่บนหินบนดอยลูกนั้น และได้เล่าบอกต่อ ๆ กันไปให้พระ เณร ที่ติดตามมาช่วยพระครูบาศรีวิชัยบูรณะพระธาตุหัวขัวฟัง พระภิกษุที่มาช่วยงานครูบาเจ้าศรีวิชัย ก็ได้ไปเที่ยวดูก็ไปเจอจริง ๆ ตามคำบอกเล่าของชาวบ้าน แล้วพระภิกษุหมู่นั้น ก็เอามาล้อองค์หลวงปู่ว่า....“บ่จั๊ยเป๋นรอยพระบาทพระพุทธเจ้า เป๋นรอยติ๋นของตุ๊วงศ์” (ไม่ใช่เป็นรอยเท้าพระพุทธเจ้าแต่เป็นรอยเท้าของครูบาวงศ์ เอง) เหตุที่องค์หลวงปู่ฯ ถูกล้อเลียนนั้น เพราะท่านชอบเก็บตัวอยู่องค์เดียว ไม่สุงสิงกับหมู่พวก ตั้งแต่นั้นมา ถ้าวันไหนว่างจากงานซ่อมแซมบูรณะวัดพระธาตุหัวขัว องค์หลวงปู่ฯมักจะขึ้นไปกราบรอยพระบาท บางครั้งขึ้นไปกราบ  ไปที่เดิม ไม่มีรอยพระบาท หายังไงก็ไม่เจอวันหลังขึ้นไปใหม่ ไปที่เดิมปรากฏว่า มีรอยพระบาทอยู่ที่เดิม เป็นอยู่อย่างนี้ หลายครั้ง  จากนั้น องค์หลวงปู่ จึงขึ้นไปกราบสักการะอีกครั้ง ในตอนนี้ท่านได้เก็บเอาก้อนหินบริเวณรอบรอยพระบาท มาก่อทำเป็นรั้วให้ดูเรียบร้อยสะอาดงามตาแก่ผู้มากราบไหว้ทีหลัง และเพื่อป้องกันเวลาขึ้นมากราบวันหลัง รอยจะมิได้ถูกเทวดาซ่อนอีก และท่าน ได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า ถ้ารอยเท้านี้เกี่ยวข้องผูกพันกับท่าน เป็นรอยพระบาทจริง ไม่ได้ถูกสร้าง หรือมนุษย์ทำขึ้น และเป็นบุญของท่านที่จะได้บูรณะก่อสร้างที่ครอบรอยพระบาทก็ขอให้ได้สร้างที่ครอบรอยพระบาทแล้วเสร็จภายในระยะเวลาเพียงเจ็ดวันเท่านั้น พออธิษฐานจิตเสร็จ ท่านบอกว่า ได้ยินเสียงดอยครางสั่นสะเทือน คือเทวดาที่รักษารอยพระบาท รับรู้เป็นพยาน และอนุโมทนาสาธุการในเจตนาจะบูรณะ การอธิษฐานจิตขององค์ท่าน ที่เป็นจริงตามคำอธิษฐานของท่าน ท่านได้ทำการก่อสร้างที่ครอบรอยพระบาทแล้วเสร็จภายใน ๗ วันพอดี ในระหว่างที่ทำการก่อสร้างนั้น หลวงปู่ฯสร้างเองทั้งหมด ไม่มีใครช่วยท่านเลย และท่านไม่ได้จำวัตรที่รอยพระบาทนี้ ยังคงจำวัตรที่วัดพระธาตุหัวขัว ฉันเช้าเสร็จแล้วก็เดินเท้าขึ้นมาทำงาน พอตกเย็นตะวันตกดินท่านก็เดินทางกลับ มาจำวัตรที่วัดพระธาตุหัวขัวตามเดิม เป็นอย่างนี้ทุกวัน (ครบ ๗ วัน) ท่านจึงตั้งชื่อรอยพระบาทว่า “พระบาททันใจ” ถ้าใครมีปัญหาอะไร ก็ให้มาอธิษฐานขอที่รอยพระบาทนี้ ศักดิ์สิทธิ์เร็วทันใจ

       ปัจจุบัน ได้สร้าง รอยพระบาท ครอบของแท้ ไว้อีกชั้นหนึ่ง หลังจากสร้างที่ครอบรอยพระบาทเสร็จแล้ว และช่วยครูบาเจ้าศรีวิชัยบูรณะวัดพระธาตุหัวขัว จนแล้วเสร็จหลวงปู่ฯ จึงได้นำพาชาวบ้านหัวขัว โป่งแดงสัญชัย ตัดถนนขึ้นสู่ดอย ตรงกับที่ได้สร้างบันไดนาคในปัจจุบัน และได้ขุดสร้างทางเป็นวงกลมขึ้นสู่ดอยอีกสายหนึ่ง จึงเรียกติดปากชาวบ้านแต่ก่อนว่า วัดดอยวง เรียกตามลักษณะของถนนที่เป็นวงกลมขึ้นดอย และได้สร้างพระธาตุขึ้นหนึ่งองค์ สร้างพระวิหารอีกหนึ่งหลัง เสนาสนะ กุฏิพร้อมกับต่อประปาภูเขานำมาใช้ในวัดและในหมู่บ้านโป่งแดง-สัญชัย จนถึงปัจจุบัน หลวงปู่ท่านผูกพันกับวัดพระธาตุดอยกวางคำนี้มาก ถึงกับออกปากว่าสถานที่นี้ คือ ป่าช้าของพ่อ ความหมาย คือ ท่านได้เกิดเป็นกวาง คือ พญากวางคำ แล้วได้มาสิ้นชีวิต ณ สถานที่แห่งนี้.ประมาณปี ๒๕๓๓ หลวงปู่ได้สร้างพระวิหารขึ้น ๑ หลัง มีหลวงพี่ปั๋น ปามจฺโจ ดูแลอยู่จนพระวิหารสร้างเสร็จแล้ว หลวงปู่ฯก็ได้ไปบูรณะวัดม่วงคำ ห่างจากวัดพระธาตุไปทางทิศเหนือประมาณ ๒ กิโลเมตร ท่านปั๋นฯก็ได้ไปช่วยดูแล จนถึงปัจจุบัน

ขอบคุณภาพและเนื้อเรื่องจาก

www.wangdinli.go.th (เทศบาลตำบลวังดิน อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน)

5,371 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดลำพูน