คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

เว็บบอร์ด

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   เว็บบอร์ด
  4.    >   เที่ยววังงาม กลางเมืองเพชร

เที่ยววังงาม กลางเมืองเพชร

09 สิงหาคม 2560

ชื่นชอบ 13

1,572 ผู้เข้าชม

2

แบ่งปัน
จังหวัดเพชรบุรี นอกจากจะมี พระนครคีรี หรือเขาวัง ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ที่สำคัญแล้ว เพชรบุรียังเป็นอีกหนึ่งที่มีพระราชวังเก่าแก่หลายแห่ง หนึ่งในนั้นคือ พระรามราชนิเวศน์ หรือ พระราชวังบ้านปืน.....ด้วยความงดงามที่เป็นเอกลักษณ์ และ ความวิจิตรด้านสถาปัตยกรรมของพระราชวังบ้านปืนนี้ทำให้เราเห็นพระราชวังหลังนี้ปรากฏอยู่ในฉากละครโทรทัศน์ย้อนยุคอยู่บ่อยๆ วันนี้จึงขอมาเห็นด้วยตาตัวเองสักครั้ง

พระราชวังบ้านปืน ตั้งอยู่ที่บ้านปืน ริมแม่น้ำเพชรบุรี ไม่ห่างจากพระนครคีรีมากนัก พระราชวังแห่งนี้สร้างขึ้นใน รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่มีพระราชประสงค์ให้สร้างวังแบบยุโรป เพื่อเสด็จแปรพระราชฐานในฤดูฝน ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มิสเตอร์คาล ดอห์ริง นายช่างเยอรมัน เป็นผู้คิดเขียนแบบรูปพระตำหนักตามกระแสพระราชดำริ  และโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนครสวรรค์วรพินิต ผู้บัญชาการทหารเรือกับพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงดำรงราชานุภาพ (พระยศในขณะนั้น) เป็นแม่กองดำเนินการก่อสร้างพระตำหนัก ถนน และสถานที่ต่างๆ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงวางศิลาฤกษ์ด้วยพระองค์เอง แต่หลังจากก่อสร้างได้ไม่นาน ก็ได้เสด็จสวรรคตเสียก่อน ต่อมาพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 โปรดเกล้าฯ ให้ช่างสร้างต่อจนเสร็จในรวมแล้วใช้เวลาสร้างเกือบ 7 ปี 

พระราชวังถูกก่อสร้างตามแบบสถาปัตยกรรมยุโรปทั้งหมด โดยมีลักษณะคล้ายกับพระราชวังของพระเจ้าวิลเฮิร์มไกเซอร์แห่งประเทศเยอรมัน ตั้งแต่หลังคากระเบื้อง การวางแปลน สวน โทนสีที่ใช้ จนถึงลวดลายต่างๆ ที่ทำให้พระราชวังแห่งนี้มีเอกลักษณ์ดูสวย โอ่อ่า และสง่างาม แต่ถึงแม้ว่าจะถูกออกแบบให้ตามแบบตะวันตกที่ไม่ได้มีการผสมศิลปะไทยเลยแม้แต่น้อย แต่ดอห์ริ่งเอง ก็ดัดแปลงให้เหมาะสมกับภูมิประเทศเขตร้อนและไม่ได้ลอกเลียนแบบงานมาจากที่ใด 

ภายในพระราชวังมีโถงสูงที่มีบันไดโค้งนำขึ้นสู่ชั้นสองที่ถือเป็นจุดเด่นของพระตำหนัก
ภายในอาคารชั้นล่างประกอบด้วยห้องโถงกลมขนาดใหญ่เป็นที่ประดิษฐานพระบรมรูปของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ยังมีห้องเสวย ห้องเครื่องและห้องเทียบเครื่อง ส่วนพื้นที่ตรงกลางของชั้นล่าง จะมีทางเดินออกไปสู่สวนน้ำพุขนาดเล็ก ส่วนห้องชั้นบนประกอบด้วยห้องพระบรรทมใหญ่ ห้องพระบรรทมพระราชินี ห้องพระบรรทมเจ้าฟ้าและห้องทรงพระอักษร สิ่งที่น่าสนใจอีกอย่างคือการใช้สีสันและวัสุตกแต่งห้องที่ต่างกัน เพื่อต้องการสื่ออารมณ์ที่แตกต่างกันไป อย่างเช่น ห้องบรรทมใช้โทนสีทอง โดยตกแต่งเสาในห้องด้วยแผ่นโลหะสีทองขัดเงา ดูสง่างามและมลังเมลือง  บริเวณโถงบันไดใช้โทนสีเขียว ห้องเสวยใช้โทนสีเหลือง 

ใครอยากจะเที่ยวแบบย้อนอดีต กลับไปสัมผัสความงดงาม และ บรรยากาศเก่าๆ และยังได้ความรู้และรูปสวยๆ มาเก็บไว้เป็นความทรงจำ  พลาดไม่ได้อยากให้หาโอกาสมาชมพระราชวังแห่งนี้ด้วยตาของตัวเองสักครั้ง.....

*ไม่อนุญาตให้ถ่ายรูปภายในพระราชวัง

พระราชวังบ้านปืน เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.00 – 16.00 น.

ค่าเข้าชม: ผู้ใหญ่คนละ20 บาท เด็กคนละ10 บาท ส่วนนักเรียนหรือนักศึกษาคนละ5 บาท ชาวต่างชาติคนละ50 บาท

สำหรับผู้ที่ต้องการจะเข้าชมเป็นหมู่คณะ และต้องการวิทยากรบรรยาย สามารถทำหนังสือถึงผู้บังคับการ จังหวัดทหารบกเพชรบุรี ค่ายรามราชนิเวศน์ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี 76000 

ติดต่อสอบถามข้อมูล โทร. 0 3242 8506-10 ต่อ 259

วันที่สร้าง : 13 กันยายน 2560

2

แบ่งปัน
สร้างโดย