คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

กู่ช้าง กู่ม้า

โบราณสถานศักดิ์สิทธิ์

กู่ช้าง - กู่ม้า โบราณสถานศักดิ์สิทธิ์อีกแห่งหนึ่งที่ชาวลำพูนให้ ความเคารพสักการะ

ตามประวัติความเป็นมาของกู่ช้าง กล่าวกันว่า สถานที่แห่งนี้เป็นที่บรรจุซากของพระยาช้าง “ผู้กล่ำงาเขียว” ซึ่งเป็นช้างทรง คู่พระบารมีของพระเจ้ามหันตยศและพระเจ้าอนันตยศ พระราชโอรสแฝด ของพระนางจามเทวี ปฐมกษัตริย์องค์แรกของนครหริภุญไชย

ตามประวัติกล่าวว่า เป็นช้างที่มีฤทธิเดชมาก เมื่อช้างเชือกนี้หันไปทางศัตรู จะทำให้ศัตรูอ่อนกำลังลงทันที เมื่อช้างเชือกนี้ล้มลงจึงมีการสร้างสถูปขึ้นเพื่อบรรจุซากของช้าง โดยให้ซากของช้างหันหน้าขึ้นไปบนอากาศ

สถานที่ที่ประชาชนชาวลำพูนให้ความเคารพสักการะและเชื่อถือในความศักดิ์สิทธิ์เป็นอันมากถึงกับมีการสร้างศาลเจ้าพ่อกู่ช้างขึ้นใกล้กับองค์สถูป เมื่อมีเหตุต้องเดินทางไกลชาวบ้านจึงมักมากราบไหว้ขอพรให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์แห่งนี้ ช่วยปกป้องคุ้มครอง กระทั่งปัจจุบันกู่ช้างได้กลายมาเป็นที่พึ่งทางใจของชาวลำพูนในการบนบานช่วยให้สอบได้ ขอให้ได้งาน หรือแม้แต่ขอให้สมหวังในสิ่งที่คิดไว้ ต่อมาทางกรมศิลปกรได้มาบูรณะให้มีสภาพที่สมบูรณ์และได้ย้ายศาลเจ้าพ่อกู่ช้างออกไปห่างจากสถูปพอสมควร

นอกจากนี้ บริเวณใกล้เคียงยังมีสถูปอีกหนึ่งองค์ ชื่อว่า กู่ม้า เป็นสถูป ที่บริเวณองค์ของสถูปนั้นมีลักษณะเป็นทรงกระบอก ปลายมน เหนือองค์สถูปมีแท่นคล้ายบัลลังก์ของเจดีย์ทั่วๆ ไป

ขอขอบคุณเนื้อเรื่องและภาพถ่ายจาก

องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน  และเทศบาลเมืองลำพูน 

6,015 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดลำพูน