คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ศาสตร์ศิลป์ สังคโลก

“สังคโลก” ศาสตร์และศิลป์ของการใช้ดิน น้ำ ลม ไฟ

     สังคโลกหมายถึง เครื่องปั้นดินเผาที่ปรากฏในอาณาจักรสุโขทัย ซึ่งมีกระบวนการผลิตสังคโลกนับเป็นศาสตร์และศิลป์จากอดีตที่ยังคงสืบทอดมา แม้ว่าปัจจุบันจะมีนวัตกรรมที่ช่วยลดขั้นตอนและระยะเวลาไปบ้างแล้ว แต่ยังคงใช้ศาสตร์ของดิน น้ำ ลม ไฟ มาสร้างสรรค์เป็นงานศิลปะที่เราสามารถเรียนรู้ได้กับ ๖ ศาสตร์การสืบทอด “สังคโลก” มรดกพระร่วง

“รู้ดิน”

     ดินเขา ดินน้ำ ดินนา คือแหล่งดิน การเตรียมดินนั้นต้องนำก้อนดินมาตำหรือแช่น้ำให้อ่อนตัว กรองเหลือแต่เนื้อดิน ไล่น้ำออกด้วยวิธีต่างๆ จนสามารถนำดินมานวดได้ กลายเป็นดินเหนียวเนื้อนุ่ม ดินจากแต่ละแห่งแต่ละที่นั้น เมื่อผ่านกระบวนการเผาแล้วจะได้สีเนื้อดินที่ต่างกัน

“รู้ดิน รู้น้ำ”

     หมุน ขด แปะ ทุบ เป็นการขึ้นรูปด้วยวิธีต่างๆ ซึ่งน้ำเป็นส่วนสำคัญในการขึ้นรูปด้วยแป้นหมุน และการปะติดชิ้นส่วนดินเข้าด้วยกัน

“รู้ลม”

     ผึ่งลม ไม่ผึ่งแดด เป็นการนำชิ้นงานที่เป็นรูปทรงแล้วมาวางตั้งไว้ในที่ร่มจนแห้งสนิท ในขั้นตอนนี้สภาพอากาศที่ร้อนจัดหรือเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมีผลกับความเสียหายของสังคโลกด้วย เมื่อแห้งสนิทแล้วจึงนำไปเก็บความเรียบร้อยของชิ้นงาน

“รู้เขียน”

     สังคโลกลวดลายต่างๆ เกิดขึ้นได้ทั้งจากการขูดลายบนผิวดิน การใช้สีเขียนลาย ซึ่งในอดีตสีที่ใช้เขียนลายนั้นมาจากดินลูกรังซึ่งมีส่วนประกอบของแร่เหล็กออกไซด์

“รู้เคลือบ”

     จุ่ม เช็ด แต้ม เคลือบ วัตถุดิบของน้ำเคลือบแต่ละสีนั้นล้วนเกิดจากธรรมชาติรอบตัว ซึ่งทำให้สีน้ำเคลือบของแต่ละแหล่งแตกต่างกันไปด้วย

“รู้เรียง รู้เผา”

     การเผาชิ้นงานสังคโลกในปัจจุบันนั้น จะทำการเผา ๒ ครั้ง ครั้งแรกเป็นการเผาชิ้นงานที่แห้งสนิทแล้วด้วยอุณหภูมิ ๗๐๐-๘๐๐ องศาเซลเซียส เรียกว่า การเผาดิบ (Biscuit Firing) เพื่อไล่ความชื้นและสารอินทรีย์ (Organic Matter) อีกทั้ง เป็นการทดสอบชิ้นงานในเบื้องต้นว่ามีรอยแตก รอยร้าว ฉีกแยก หรือไม่ ครั้งที่สอง เรียกว่า การเผาเคลือบ (Glost Firing) ที่อุณหภูมิ ๑,๒๐๐-๑,๓๐๐ องศาเซลเซียส ขึ้นไป ในอดีตนั้นใช้ไม้เป็นเชื้อเพลิง

   “เตาทุเรียง” คือ เตาเผาเครื่องสังคโลกที่ต้องใช้เทคนิคการจัดเรียงชิ้นงานอย่างถี่ถ้วน โดยใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า กี๋ท่อ กี๋งบน้ำอ้อย เป็นอุปกรณ์ช่วยการจัดเรียงให้ได้จำนวนชิ้นงานมากที่สุด

ขอขอบคุณเนื้อเรื่องและภาพถ่ายจาก

     องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) สำนักงานพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย - ศรีสัชนาลัย - กำแพงเพชร (อพท.๔)

 

4,616 views

1

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดสุโขทัย