คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

นาฎศิลป์ถิ่นพระร่วง

นาฎศิลป์ในแผ่นดินพระร่วง จินตนาการที่จับต้องได้

     เมื่อกล่าวถึงเมืองโบราณสุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร  หลายคนจะนึกถึงภาพจำคือ ชุดระบำสวยๆ ในโบราณสถาน ด้วยลีลาท่าร่ายรำที่อ่อนช้อยงดงามในท่วงทำนองดนตรีอันไพเราะ ด้วยความงดงามเสมือนหนึ่งว่าชุบชีวิตอดีตกาลให้กลับมามีชีวิตได้อีกครั้ง ระบำนี้เป็นผลงานอันทรงคุณค่าซึ่งได้สร้างภาพความทรงจำอันดีให้แก่การท่องเที่ยวเมืองมรดกโลกผ่านการแสดงผ่านสายตาผู้ชมมาแล้วนับไม่ถ้วน

     ในพื้นที่มรดกโลกสุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร ปรากฎหลักฐานด้านศิลปกรรมอันเกี่ยวข้องกับการแต่งกายและอากัปกิริยาร่ายรำต่างๆ ในงานประติมากรรมซึ่งเหลืออยู่คู่กับโบราณสถาน อีกทั้งยังปรากฎในเอกสารโบราณ เช่น จารึกหลักต่างๆ ให้ศึกษา และที่น่าภาคภูมิใจคือ ยังคงมีลูกหลานได้สืบสานผลงานและต่อยอดภูมิปัญญาด้านนาฎศิลป์ให้คงอยู่

     เมื่อกรมศิลปากรเริ่มทำการบูรณะเมืองโบราณสุโขทัยเมื่อปี พ.ศ. 2497 จนเห็นรูปทรงโบราณสถานในเวลาต่อมา ซึ่งการบูรณะนี้ทำให้พบเห็นรูปแบบศิลปะจากงานประติมากรรมสุโขทัยเป็นจำนวนมาก ในการนี้เองได้มีการประดิษฐ์ “ระบำสุโขทัย” ได้รับการออกแบบท่ารำโดยท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ไทย กรมศิลปากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ไทย) โดยได้แรงบัลดาลใจมาจากนางต่างๆ ในงานประติมากรรมสุโขทัย ทั้งภาพชาดกสลักหิน ซึ่งพบในอุโมงค์วัดศรีชุม และลวดลายปูนปั้นที่พบจากวัดพระพายหลวง เป็นความภาคภูมิใจด้วยมีโอกาสแสดงต่อหน้าพระพักตร์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2510 ณ พิพิธภันฑสถานแห่งชาติพระนคร

     “ระบำเทวีศรีสัชนาลัย” เป็นระบำที่วิทยาลัยนาฏศิลป์สุโขทัยประดิษฐ์ขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2537 ด้วยอาศัยหลักฐานทางโบราณคดี โดยต้นเค้าทางศิลปกรรมภาพจิตรกรรมฝาผนัง เจดีย์ราย วัดเจดีย์เจ็ดแถว บานประตูไม้แกะสลักรูปเทวดา ลวดลายปูนปั้นนางอัปสราร่ายรำประดับยอดซุ้มปราสาทเฟื้องที่ยอดซุ้มประตูวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดพระปรางค์) ตุ๊กตาสังคโลกแบบต่างๆ ลักษณะท่าร่ายรำคล้ายศิลปะการร่ายรำแบบศิลปะขอมโบราณ เครื่องแต่งกายของระบำศรีสัชนาลัย ผู้แสดงจะสวมเสื้อแขนสั้นแนบเนื้อสีชมพู นุ่งผ้านุ่งสีม่วงตัดเย็บให้แหวกได้ตรงกลางโดยสอดซับพลีทสีชมพูอ่อนไว้ด้านใน ตัวผ้านุ่งด้านหน้าจับจีบพับเป็นหลายๆ ชั้น โดยใช้สีด้านในผ้านุ่งเป็นสีทอง รัดเอวเพื่อเน้นทรวดทรง ใส่ห้อยหน้าปักลวดลายแบบสุโขทัย สวมกรองคอ พาหุรัด ทองพระกรและต่างหูเป็นเกลียวยาว ศีรษะสวมชฎาหรือเทริด ยอดชฎาทำเป็นรูปเจดีย์ทรงระฆังตามแบบเจดีย์วัดช้างล้อมกลางเมืองศรีสัชนาลัย

    ความโดดเด่นของเครื่องถ้วยสังคโลกคือสีที่เคลือบ ซึ่งส่วนใหญ่นิยมสีเขียว สีน้ำตาล และสีขาว รูปทรงที่แปลกตาและการตกแต่งลวดลายต่างๆ โดยเฉพาะลายพันธุ์ไม้ และลายปลาหลากหลายชนิด สิ่งล้ำค่าที่ซ่อนอยู่ในรูปทรงของเครื่องถ้วยสังคโลกนี้เองที่เป็นแรงบันดาลใจให้คณาจารย์ภาควิชานาฏศิลป์ไทย วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย คิดประดิษฐ์การแสดง ระบำลีลาลายสังคโลก” ขึ้นมาเมื่อปี พ.ศ.2542 เครื่องแต่งกาย ยึดหลักเครื่องแต่งกายการนุ่งซิ่นของหญิงสมัยสุโขทัยและสวมเสื้อเข้ารูป โดยสร้างสรรค์เป็นผ้าซิ่นสีเขียวไข่กา สีที่เป็นเอกลักษณ์ของเครื่องเคลือบสังคโลก และเขียนลวดลายดอกไม้บนผ้า ซึ่งเป็นลายที่ปรากฏบนเครื่องถ้วยสังคโลก

ปลุกอดีตผสานจินตนาการผ่านเทคโนโลยีเสริมการท่องเที่ยว

     สำนักงานพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร หรือ อพท.4 ได้พัฒนาเครื่อง Virtual Dressing Room หรือระบบคอมพิวเตอร์แสดงท่าทางของระบำต่างๆ ในแผ่นดินพระร่วง ซึ่งผู้ใช้สามารถใช้เครื่องมือนี้ถ่ายภาพตนเองตามแบบท่าระบำต่างๆ นั้น ซึ่งสามารถส่งภาพนั้นไปยังเฟซบุ๊ค หรือปริ้นท์ออกมาเป็นที่ระลึกได้ นอกจาก นักท่องเที่ยวจะได้รู้จักกับการแสดงนาฏศิลป์แล้ว ยังได้มีภาพของตนเองเสมือนสวมใส่ชุดและทำท่ารำต่างๆ นับเป็นการสร้างประสบการณ์ที่ดี

     นักท่องเที่ยว และผู้สนใจจะสามารถได้รับประสบการณ์และเรียนรู้ด้านข้อมูลท่ารำนาฏศิลป์ถิ่นพระร่วงต่างๆ ได้จากเครื่อง Virtual Dressing Room ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติรามคำแหง และศูนย์บริการข้อมูลนักท่องเที่ยว อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

ขอขอบคุณเนื้อเรื่องและภาพถ่ายจาก

     องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) สำนักงานพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย - ศรีสัชนาลัย - กำแพงเพชร (อพท.๔)

11,918 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดสุโขทัย