คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ลายสือไทย

อักษรไทย สุโขทัย หรือลายสือไทย

กำเนิดอักษรไทย

     เมื่อปีพ.ศ. 2376 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะยังทรงผนวชได้เสด็จประพาสนมัสการเจดีย์สถานต่างๆ ทางเมืองเหนือ ทรงพบศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงพร้อมแท่นมนังคศิลา ที่เนินปราสาทเก่าเมืองสุโขทัย มีลักษณะเป็นแท่นศิลารูปสี่เหลี่ยม มียอดแหลมมน สูง 1 เมตร 11เซนติเมตร มีจารึกทั้ง 4 ด้าน สูง 59 เซนติเมตร กว้าง 35 เซนติเมตร ด้านที่ 1 และด้านที่ 2 มี 35บรรทัด ด้านที่ 3 และ 4 มี 27 บรรทัด

     ศิลาจารึกนี้นับเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดี ที่ใช้อ้างอิงได้ว่า รูปอักษรไทยได้ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 1826 จากข้อความจารึกตอนหนึ่ง บนด้านที่ 4 บรรทัดที่ 8-11ความว่า“เมื่อก่อนลายสือไทยนี้บ่มี ๑๒๐๕ ศก ปีมะแม พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในใจ แลใส่ลายสือไทยนี้ ลายสือไทยนี้จึ่งมีเพื่อขุนผู้นั้นใส่ไว้....”

     จากข้อความดังกล่าวบ่งชัดว่าก่อนปีพ.ศ. 1826 ไม่เคยมีรูปอักษรไทยมาก่อน พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงคิดประดิษฐ์รูปอักษรไทยขึ้นนับแต่พุทธศักราชนั้น ซึ่งพระองค์ทรงกำหนดให้รูปอักษรแตกต่างไปจากรูปอักษรโบราณอื่นๆ ที่มีใช้มาก่อน และเรียกตัวอักษรไทยนั้นว่า“ลายสือไทย” พระองค์ทรงกำหนดให้อักษรแต่ละตัวแยกกันเป็นอิสระ วางรูปสระไว้หน้าพยัญชนะอยู่ในแนวเดียวกัน พร้อมกับมีวรรณยุกต์กำกับการออกเสียงตามคำศัพท์ภาษาไทย นอกจากนี้พระองค์ยังได้ออกแบบรูปอักษรให้มีวิธีการเขียนเส้นอักษรแต่ละตัวลากสืบต่อกันโดยไม่ต้องยกมือขึ้น โดยเริ่มต้นลากจากหัวอักษรที่เป็นเส้นโค้งงอเหมือนขอเบ็ด แล้วลากไปจนสุดปลายเส้นอักษรซึ่งมีลักษณะงอโค้งเล็กน้อยเช่นกัน มีพยัญชนะ 39 รูป สระ 20 รูป วรรณยุกต์ 2 รูป รวมทั้งหมด61 รูป

วิวัฒนาการของรูปอักษรไทย

     นับจากอดีตถึงปัจจุบัน มีเพียงหลักศิลาจารึกเพียงหลักเดียวเท่านั้นที่ค้นพบว่ามีรูปอักษรไทยแบบที่พ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์ขึ้นในปีพ.ศ. 1826 ส่วนจารึกหลักอื่นๆ ที่จารึกขึ้นในสมัยสุโขทัย จะมีระยะเวลาห่างออกไปประมาณ 60-70 ปี ซึ่งรูปแบบอักษรได้เปลี่ยนแปลงไปบ้าง แต่บางตัวยังคงรูปเดิม นอกจากนี้การจารึกรูปอักษรต่างๆ มิได้คงไว้แต่บนหลักศิลาแต่ยังมีการจารึกบนแผ่นหินรูปอื่นๆ เช่น จารึกวัดสรศักดิ์ พ.ศ. 1960 บนแผ่นหินรูปใบเสมา

     ตลอดช่วงพุทธศตวรรษที่ 20-21 การแพร่ขยายอารยธรรมของอาณาจักรสุโขทัยไปสู่อาณาจักรล้านนา ทำให้รูปอักษรได้เปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการไปเป็นรูปอักษรอีกแบบหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า อักษรไทยล้านนา ส่วนอาณาจักรศรีอยุธยาก็ได้รับอิทธิพลรูปอักษรที่วิวัฒนาการมาเป็นรูปอักษรไทยปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยพยัญชนะ 44 รูป สระ 26 รูป วรรณยุกต์ 4 รูป (5 เสียง) รวมทั้งหมด 74 รูป ซึ่งสระและวรรณยุกต์ไม่ได้อยู่ในแนวเดียวกับพยัญชนะอีก มีทั้งที่อยู่หน้า หลัง ด้านบน และด้านล่างของพยัญชนะ

คำอธิบายประกอบภาพ

สำหรับส่วนของรูปอักษรไทย สุโขทัย หรือลายสือไทย ใช้สีอักษรแทนสัญลักษณ์ดังนี้
ตัวอักษรสีดำ ตัวอักษรที่ใช้ในปัจจุบัน
ตัวอักษรสีน้ำตาล ตัวอักษรลายสือไทยที่ปรากฏบนศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง พ.ศ. 1835 ตัวอักษรเทา ตัวอักษรที่ปรากฏบนจารึกวัดป่ามะม่วง พ.ศ. 1904

ขอขอบคุณเนื้อเรื่องและภาพถ่ายจาก

     องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) สำนักงานพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย - ศรีสัชนาลัย - กำแพงเพชร (อพท.๔)

180,558 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดสุโขทัย