คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ทำนบพระร่วง

ระบบชลประทานแห่งแรกของสยาม

ทำนบพระร่วง : เขื่อนโบราณสมัยสุโขทัย

     เมืองสุโขทัยโบราณนั้นมีภูมิประเทศเอียงลาดเพราะพื้นที่อยู่ติดภูเขา จนไม่สามารถเก็บน้ำได้ตามธรรมชาติ จำเป็นต้องมีการพัฒนาแหล่งเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง พระร่วงเจ้ากษัตริย์สุโขทัยสมัยนั้นจึงได้สร้างทำนบส่งไปตามลำรางส่งน้ำที่ขุดพบเป็นท่อสังคโลก ซึ่งเรียกว่า “ท่อปู่พญาร่วง” ส่งน้ำเข้าไปในตัวเมือง เพื่อเก็บขังในสระน้ำใหญ่เล็กหลายสระ และมีสระขนาดใหญ่ในกำแพงเมืองหรือที่เรียกว่า “ตระพัง” เช่น ตระพังทอง ตระพังเงิน ตระพังสอ ตระพังตระกวน นอกจากนี้ยังมีการขุดบ่อน้ำกรุอิฐไว้เป็นจำนวนมาก ทำให้พื้นที่ในเมืองสุโขทัยไม่ขาดแคลนน้ำ ดังจะเห็นได้จากจารึกว่า “เมืองสุโขทัยนี้จึ่งชม สร้างป่าหมากป่าพลูทั่วเมืองนี้ทุกแห่ง ป่าพร้าวก็หลายในเมืองนี้ ป่าลางก็หลายในเมืองนี้ หมากม่วงก็หลายในเมืองนี้ หมากขามก็หลายในเมืองนี้ ใครสร้างได้ไว้แก่มัน กลางเมืองสุโขทัยนี้ มีน้ำตะพังโพยสี ใสกินดี … ดั่งกินน้ำโขงเมื่อแล้ง”

     สำหรับชื่อ “เขื่อนสรีดภงส์” ได้มาจากข้อความในศิลาจารึกหลักที่ ๑ ที่เขียนไว้ว่า “เบื้องหัวนอนเมืองสุโขไทนี้ มีกุฏิ พิหาร ปู่ครูอยู่ มีสรีดภงส์ มีป่าพร้าว ป่าลาง มีป่าม่วง ป่าขาม มีน้ำโคก มีพระขพุง ผีเทพดาในเขาอันนั้น เป็นใหญ่กว่าทุกผีในเมืองนี้” สรีดภงส์ ในคงหมายสมัยโบราณจึงหมายถึงทำนบชลประทานในสมัยพระร่วงเจ้า จึงนับเป็นเขื่อนกั้นน้ำเป็นระบบชลประทานที่ทันสมัยมากเมื่อ ๗๐๐ กว่าปีที่ผ่านมาแล้ว

     เขื่อนสรีดภงส์หรือทำนบพระร่วง ถือว่าเป็นเขื่อนแห่งแรกของประเทศไทย สร้างเพื่อการชลประทาน มาตั้งแต่สมัยสุโขทัย เป็นลักษณะทำนบคันดิน หรือเรียกว่าเป็นเขื่อนดินก็ได้ สำหรับกั้นน้ำอยู่ระหว่างซอกเขาคือ เขาพระบาทใหญ่ และเขากิ่วอ้ายมา ที่สร้างขึ้นเพื่อกักน้ำ และชักน้ำไปตามคลองส่งน้ำมาเข้ากำแพงเมืองและพระราชวังในสมัยโบราณ บริเวณด้านหน้าปูด้วยหินโดยตลอด มีฝายน้ำล้นและท่อระบายน้ำอยู่ทางทิศใต้ทำนบ สันทำนบมีความกว้าง ๔ เมตร   มีความยาว ๔๗๘ เมตร สูง ๑๐.๕๐ เมตร ระดับน้ำลึกเต็มที่ ๘ เมตร สามารถเก็บน้ำไว้ ๔๐๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร และด้วยกรมชลประทานเข้ามาปรับปรุงตามแนวเขื่อนโบราณ ในปัจจุบันมีน้ำขังตลอดปี ยามน้ำในตระพังต่าง ๆ ภายในเขตกำแพงเมืองลดน้อยลง ก็สามารถปล่อยน้ำจากทำนบนี้เข้าสู่ตระพังในกำแพงเมืองให้มีน้ำบริบูรณ์ตลอดปี

ขอขอบคุณเนื้อเรื่องและภาพถ่ายจาก

     องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) สำนักงานพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย - ศรีสัชนาลัย - กำแพงเพชร (อพท.๔)

29,073 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดสุโขทัย