คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

เมืองโบราณบางขลัง

เมืองเก่าที่ถูกลืม

  

เมืองบางขลัง

อยู่ตรงกลางระหว่างเมืองศรีสัชนาลัยกับเมืองสุโขทัย  เป็นเมืองที่ร่วมสมัย ศรีสัชนาลัย สุโขทัย (ก่อนพ่อขุนศรีอินทราทิตย์)   ปรากฏอยู่ในจารึกวัดศรีชุม  ว่าเมืองบางขลังหรือบางขลัง พ่อขุนผาเมืองร่วมกับพ่อขุนบางกลางหาว  นำไพร่พลจากเมืองบางยางกับเมืองราด  พ่อขุนบางกลางหาวยึดเมืองศรีสัชนาลัยได้   และพ่อขุนผาเมืองยึดได้เมืองบางขลัง   จากนั้นพ่อขุนบางกลางหาวใช้เมืองบางขลังหรือบางฉมังเป็นฐานกำลัง  สู้รบกับขอมสบาดโขลญลำพงตีเมืองสุโขทัยคืนแต่ไม่สำเร็จ  จึงร้องขอให้พ่อขุนผาเมืองยกทัพไปตีสุโขทัย  และขับไล่ขอมสบาดโขลญลำพงจนสำเร็จ   ตั้งพ่อขุนบางกลางหาว เป็นพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ครองสุโขทัย

     

จารึกวัดป่ามะม่วงก็ระบุว่า  พระยาลิไทยเป็นกษัตริย์องค์ที 6 แห่งอาณาจักรสุโขทัยนั้น  เดิมทรงปกครองเมืองศรีสัชนาลัย ในฐานะองค์อุปราช แห่ง เมืองสุโขทัย เมื่อพระยาเลอไทยเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 1884   พระยางั่วนำถุมได้ขึ้นครองราชย์จนเสด็จสวรรคตในพ.ศ. 1890  พระยาลิไทยโดยต้องใช้กำลังทหารเข้ามายึดอำนาจเพราะที่สุโขทัยเกิดการกบฏการสืบราชบัลลังก์  พระยาลิไทยยกทัพมาแย่งชิงราชสมบัติได้ และขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. 1890  ทรงพระนามว่า พระศรีสุริยพงศ์รามมหาธรรมราชาธิราช ในศิลาจารึกมักเรียกพระนามเดิมว่า "พญาลิไทย" หรือเรียกย่อว่า พระมหาธรรมราชาที่ 1

 

  

จากตำนานการสร้างพระธาตุดอยสุเทพเล่าว่า  พระมหาสุมนเถรเจ้าแห่งสุโขทัย เกิดนิมิตฝันอันประหลาดว่า

พระบรมธาตุของพระพุทธเจ้า  ซึ่งพระเจ้าธรรมาอโศกราชให้อัญเชิญมาบรรจุไว้ ณ พระเจดีย์เมืองปางจานั้น

(สันนิษฐานว่า เมืองบางจา คือ บางจาลัง หรือ เมืองบางฉลัง หรือ เมืองบางขลัง เพราะ คนเหนือ ออกเสียง ช เป็น จ ... ช้าง เป็น จ้าง)

 

บัดนี้พระเจดีย์นั้นหักพังเสียแล้ว ที่ข้างเจดีย์มีกอดอกเข็มกอหนึ่ง  มีลักษณะเป็นรูปม้านั่ง เป็นที่สถิตของพระบรมธาตุ  ขอให้ท่านไปขุดเอาพระบรมธาตุองค์นี้มาเสีย  พระสุมนเถรเจ้า จึงให้ผู้จะขุดพระบรมธาตุที่ข้างกอเข็มนั้น

ต่อมา ในสมัยพระเจ้ากือนา แห่งราชวงศ์มังรายที่ 6 ขึ้นครองนครเชียงใหม่ พ.ศ. 1910  ได้นิมนต์พระสุมนเถรเจ้า มาประกาศศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ที่เมืองเชียงใหม่  เพราะมีพระวินัยดีทางสุโขทัยก็ยินยอมให้พระสุมนเถรเจ้ามาพร้อมกับพระธาตุนั้น  องค์หนึ่งบรรจุที่วัดพระธาตุดอยสุเทพ  อีกองค์บรรจุที่วัดบุปผาราม หรือวัดสวนดอก

 

เมืองบางขลังถูกเลือนหายไปจากประวัติศาสตร์ อาจมีแค่อิฐที่วัดใหญ่ชัยมงคลบอกว่ามีการก่อสร้างวัดในช่วงอยุธยา  ต่อมาผู้คนอพยพออกไป เมื่อไหร่ อย่างไร ไม่มีใครทราบ ... หรือหนีภัยสงคราม  เหลือเพียงโบราณสถานร้าง  ต่อมามีคนจากที่อื่นเข้ามาอาศัยอยู่ อาจมาจากเถิน ผ่านลงมาทางประตูหอรบ กำแพงล้านนา สู่ทุ่งเสลียม

ราวปีพ.ศ. 2530 ชาวเมืองบางขลังฝันว่ามีพระพุทธรูปถูกฝังอยู่ใต้ดิน ติดกับพื้นที่ วัดโบสถ์ เมืองบางขลัง

เมื่อขุดก็พบ พระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัย ร่วมสมัยศิลปสุโขทัย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 18 ประทับนั่งบนฐานสำเภาสังฆาฏิเขี้ยวตะขาบชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อขาว เพราะครั้งแรกที่ขุดพบเป็นพระพุทธรูปสีขาวจึงนำมาประดิษฐานไว้ที่วัดโบสถ์  ปัจจุบันประดิษฐาน ในพระอุโบสถหลังใหม่  หลวงพ่อขาวเนรมิต (พระศรีสุรีย์มงคลพลญาณ)

ขอบคุณภาพและเนื้อเรื่องจาก  

Tuk-tukatkorat.BlogGang.com

และ  

Purewat  Photography

10,757 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดสุโขทัย