คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

สถานีรถไฟบ้านปิน

"บาวาเรียนสไตล์" แห่งแรกของเมืองไทย

สถานีรถไฟในประเทศไทยที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นแตกต่างจากที่อื่นและมีเพียงหนึ่งเดียวก็คือ

สถานีรถไฟบ้านปิน อาคารมีลักษณะที่แปลกตาและแตกต่างไปจากที่อื่น ซึ่งถูกสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2457 ในสมัยรัชกาลที่ 6 โดยการรถไฟหลวงแห่งสยาม มีพลเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุร-ฉัตรไชยการ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน เป็นผู้บังคับบัญชาการ และมีนายช่างชาวเยอรมันชื่อ เอมิล ไอเซนโฮเฟอร์ เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง สถานีรถไฟบ้านปิ่น สร้างมาแล้วกว่า 100 ปี มีความโดยเด่นด้วยสถาปัตยกรรม เป็นสถานีรถไฟแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทยที่สร้างด้วยสไตล์ “เฟรมเฮ้าส์” แบบบาวาเรียน (Bavarian Timber Frame House) ซึ่งเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมที่นิยมมากในแคว้นบาวาเรียนของเยอรมัน เมืองแพร่เป็นพื้นที่ที่มีป่าไม้สักอุดมสมบูรณ์ที่สุด ทำให้เกิดแนวคิดในการออกแบบสถานีแห่งนี้ด้วยสไตล์ “ทิมเบอร์ เฟรมเฮ้าส์แบบบาวาเรียน” ซึ่งเป็นสไตล์ที่ใช้วัสดุจากไม้เป็นหลัก มีการออกแบบผสมผสานให้เข้ากับเรือนปั้นหยาแบบไทยซึ่งเป็นที่นิยมอยู่ในยุคนั้นได้อย่างลงตัว สถานีรถไฟบ้านปิ่นจึงเป็นอาคารสองชั้น ตัวตึกประกอบด้วยไม้ หลังคาจั่วและปั้นหยา ตัวอาคารทาด้วยสีเหลือง ตัดกับโครงสร้างสีน้ำตาลเข้ม หน้าต่างโค้งมีลายฉลุสวยงาม ประตูหน้าต่างเป็นบานลูกฟักไม้ เหนือบานประตูหน้าต่างและหน้าช่องจำหน่ายตั๋วประดับด้วยไม้ฉลุลายพรรณพฤกษามีความงดงามอ่อนช้อยประณีตละเอียดอ่อน ถึงแม้จะผ่านมามากกว่าร้อยปีแล้วแต่อาคารก็คงยังดูสวยงาม ทรงคุณค่า สถานีรถไฟบ้านปินจึงเป็นอีกหนึ่งเสน่ห์ที่เชิญชวนผู้คนให้อยากมาสัมผัสกับที่แห่งนี้

 

7,112 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดแพร่