คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

บ้านทุ่งโฮ้ง

ประวัติศาสตร์ชาวไทพวน

          ในจังหวัดแพร่มีผู้คนมากมายหลากหลายเชื้อสาย ที่บ้านทุ่งโฮ้งนั่น ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นชาวไทพวน มีเอกลักษณ์เป็นของตัวเองไม่ว่าจะเป็นภาษา วัฒนธรรมประเพณี อาหาร และความเป็นอยู่ โดยชื่อบ้านทุ้งโฮ้งนั่นก็เป็นชื่อเรียกที่มาจากภาษาไทพวน เดิมเรียกว่าบ้านทั่งโฮ้ง คำว่าทั่ง หมายถึง ทั่งรองรับตีเหล็ก เนื่องจากสมัยนั้นชาวบ้านส่วนใหญ่ทำอาชีพตีเหล็ก ส่วนคำว่า โห้ง เป็นภาษาไทพวน หมายถึง สถานที่เป็นแอ่งลึกลงไป จึงเรียกว่า บ้านทั่งโห้ง และได้เรียกเพี้ยนมาเรื่อยๆจนกลายเป็น “บ้านทุ่งโฮ้ง” อย่างเช่นปัจจุบัน

          ชาวไทพวน บ้านทุ่งโฮ้ง เดิมอาศัยอยู่ที่เมืองพวน ประเทศลาว เมืองพวนเป็นเมืองโบราณเก่าแก่ ที่สร้างโดยขุนเจ็ดเจือง เคยตกเป็นเมืองขึ้นของหลวงพระบาง มีเจ้าชมพู เป็นกษัตริย์องค์ที่ 43 เจ้าชมพูเป็นพระราชโอรสเพียงองค์เดียวของพระเจ้าหล้าแสนไทไตรภูวนาถ เป็นเจ้าเมืองที่ปราดเปรื่องและมีความกล้าหาญ หลังตกเป็นเมืองขึ้นได้รวมตัวกับเมืองเวียงจันทร์ แล้วยกทัพไปรบกับหลวงพระบางจนได้ชัยชนะ เจ้าชมพูจึงได้ประกาศเอกราชไม่ยอมเป็นเมืองขึ้น ทำให้เจ้านนท์แห่งเวียงจันทร์โกรธเคืองมาก จึงได้ยกทัพมาปราบเมืองพวน และจับเจ้าชมพูไปประหารชีวิต ได้เกิดฟ้าผ่าลงมาถูกด้ามหอกที่ใช้ประหารจนหักสะบั้นลง เมื่อเจ้านนท์ทราบเหตุอัศจรรย์นั้น จึงสั่งให้นำเจ้าชมพูกลับไปครองเมืองพวนตามเดิม นับตั้งแต่นั้นมา ชาวพวนจึงนับถือฟ้า มีความเชื่อและศรัทธาต่อฟ้าอย่างมั่นคงว่า ฟ้า คือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ช่วยคุ้มครองชีวิตผู้นำและชีวิตของชาวพวนให้พ้นจากภัยพิบัติได้ จึงเกิดประเพณีกำฟ้า ตั้งแต่บัดนั้นมา

          ชาวไทพวนมีพิธีกรรมที่สืบต่อกันมาช้านานคือ กำฟ้า  หมายถึง การนับถือสักการบูชาฟ้า  การแสดงกดเวทีตาต่อฟ้าที่ท่านได้คุ้มครองให้มีอายุยืนยาว  ให้อยู่ดีกินดี  มีฝนตกต้องตามฤดูกาล  มีข้าวปลาอาหารสมบูรณ์  โดยชาวไทยพวนทุกคนจะหยุดทำงานทุกชนิด คือ หยุดทำไร่ ทำนา ทอหูก ปั่นฝ้าย ตีเหล็ก เป็นต้น  ในวันกำฟ้า ชาวไทยพวนจะมีกิจกรรมร่วมกัน คือการทำบุญตักบาตรในตอนเช้า  การละเล่นในตอนกลางคืนและการพบปะสังสรรค์ระหว่างเครือญาติด้วยกัน ในวันกำฟ้า

ประเพณีกำฟ้าเป็นมรดกแห่งสังคม ที่แสดงถึงภูมิปัญญาของบรรพชนชาวไทยพวนที่แฝงไว้ด้วยคุณค่าแห่งความกตัญญูกตเวที  การสร้างขวัญกำลังใจ  ความสมานสามัคคีในหมู่คณะให้มีความเชื่อถือศรัทธาในพิธีกรรมบูชาฟ้า เป็นศูนย์รวมแห่งจิตใจ จึงทำให้ชาวไทยพวนบ้านมทุ่งโฮ้งมีวัฒนธรรมอันเข้มแข็ง ยากมีวัฒนธรรมอื่นจะเข้าครอบงำได้

ที่มาข้อมูล : หนังสือเรื่องเล่าชาวไทยพวน

4,997 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดแพร่