คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

กำแพงเมืองแพร่

กำแพงเมืองที่สูงที่สุดในล้านนา

แพร่ เมืองโบราณในล้านนาที่มีอายุเก่าแก่ถึงพันปี ตัวเมืองเก่าที่ถูกโอบล้อมด้วยกำแพงเมือง ในอดีตนั้นกำแพงเมืองถูกสร้างขึ้นเพื่อป้องกันภัยคุกคามต่างๆ ทั้งจากศัตรูและอุทกภัยจากแม่น้ำยม เป็นกำแพงเมืองเก่าที่น่าจะมีมาตั้งแต่สมัยแรกเริ่มสร้างเมืองแพร่ ตามประวัติการสร้างกำแพงเมืองพบหลักฐานจากวัดหลวงจารึกไว้ว่า พ.ศ. 1374 ท้าวพหุสิงห์ กษัตริย์องค์ที่ 2 ของเมืองพลเมื่อขึ้นครองราชย์ ทรงรับสั่งให้ขุนพระวิษณุวังไชย เป็นแม่งานทำการบูรณะอารามวัดหลวง มีการหุ้มทองพระเจ้าแสนหลวงทั้งองค์ ขยายกำแพงวัดออกไปถมกำแพงเมือง ก่ออิฐให้สูงขึ้นเพื่อป้องกันน้ำขุนยมไหลเอ่อท่วมเวียง แล้วฉลองสมโภช 5 วัน 5 คืน แสดงว่ากำแพงเมืองมีการสร้างมาตั้งแต่สมัยพญาพลซึ่งเป็นกษัตริย์องค์แรกที่ก่อตั้งเมืองพลขึ้นหรือจังหวัดแพร่ในปัจจุบันนั่นเอง

          แต่เดิมนั้นกำแพงเมืองแพร่ยังมีแนวกำแพงเมืองปรากฏหลักฐานให้เห็นและมีความสมบูรณ์อยู่มาก ลักษณะเป็นกำแพงชั้นเดียว พูนดินขึ้นเป็นสันแล้วเสริมอิฐโดยใช้ก้อนอิฐขนาดใหญ่ เรียงเป็นแนวกำแพง ขนาดความสูงประมาณ 7 เมตร ซึ่งเป็นกำแพงเมืองที่สูงที่สุดในล้านนา ยาวล้อมรอบตัวเมืองเป็นระยะทางประมาณ 4,000 เมตร และมีลักษณะรูปร่างเป็นวงรีคล้ายหอยสังข์ ถัดจากกำแพงออกไปด้านนอกเป็นคูน้ำล้อมรอบกำแพงเมือง รอบๆกำแพงเมืองทั้ง 4 ทิศ จะมีประตูเมืองอยู่ทั้ง 4 ทิศ ได้แก่ ประตูใหม่อยู่ทางทิศเหนือ ประตูชัยอยู่ทางทิศตะวันออก ประตูมารอยู่ทางทิศใต้และประตูศรีชุมอยู่ทางทิศตะวันตกและมีป้อมปราการทุกประตู

 

          เมื่อบ้านเมืองเริ่มขยายตัวมากขึ้น ก็เริ่มมีผู้บุกรุกพื้นที่กำแพงเมืองทำเป็นทั้งที่อยู่อาศัยและสถานที่ราชการ มีการทำลายกำแพงเมือง มีการรื้ออิฐกำแพงเมืองเปลี่ยนแนวกำแพงเมืองเป็นถนน เหลือเพียงร่องรอยก้อนอิฐขนาดใหญ่ที่ยังมีอยู่บนกำแพงเมือง จุดที่ตั้งโรงเรียนป่าไม้แพร่เป็นจุดที่ตั้งอยู่บนกำแพงเมืองในจุดที่สูงที่สุดแห่งหนึ่งของกำแพงเมืองเก่า จึงใช้เกณฑ์การประมาณความสูงเดิมของกำแพงเมืองในอดีต แนวกำแพงเมืองฝั่งประตูชัยถูกบุกรุกดัดแปลงเป็นตลาดทำให้กำแพงเมืองหายไปเกือบทั้งหมด กำแพงเมืองเริ่มสูญหายไปมากเมื่อปี พ.ศ. 2445 หลังจากเกิดการจลาจลเงี้ยวปล้นเมืองแพร่ กำแพงเมืองถูกทำลายและผุพังเสียหายไปมาก ไม่มีใครดูแลใส่ใจ  ประวัติศาสตร์จึงค่อยๆเลือนหายไปตามกาลเวลา เพราะไม่มีการอนุรักษ์และปลูกฝั่งจิตใต้สำนึก คุณวรพร บำบัด จึงได้เขียนบทประพัทธ์ปลูกจิตใต้สำนึกให้ช่วยกันอนุรักษ์สมบัติไว้อย่างรู้คุณค่า

กำแพงเมืองแพร่สร้าง      ปางบรรพ์

                                    เป็นขอบเขตคูคัน                  โอบล้อม

                                    พูนดินก่อเป็นสัน                   เสริมอิฐ

                                    บรรพบุรุษเตรียมการพร้อม     ปิดกั้นอันตราย

                                    นอกเมืองทิศเหนือตก            ยามอุทกภัยไหลล้นฝั่ง

                                    น้ำยมเซาะตลิ่งพัง                ถาโถมถั่งหลั่งเนืองนอง

                                    บ่อาจท่วมเมืองได้                น้ำไหลคืนสู่คูคลอง

                                    กำแพงเป็นเขตป้องกัน           น้ำหลากเวียงพ้นภัย

                                    แม้มีไพรีรุก                         มิอาจบุกเข้าเมืองได้

                                    คงยากจะชิงชัย                    สมัยโบราณประโยชน์มี

                                    หลักฐานประวัติศาสตร์          สมบัติชาติอย่าย่ำยี

                                    กำแพงเมืองเป็นศักดิ์ศรี          คูเมืองชี้แหล่งอารยธรรม

 

วรพร บำบัด ผู้ประพันธ์

6,948 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดแพร่