คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

เว็บบอร์ด

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   เว็บบอร์ด
  4.    >   ผ้าอาบน้ำฝน และ ผ้าจำนำพรรษาต่างกันอย่างไร

ผ้าอาบน้ำฝน และ ผ้าจำนำพรรษาต่างกันอย่างไร

10 กรกฎาคม 2560

ชื่นชอบ 8

24,137 ผู้เข้าชม

15

แบ่งปัน
ในวันเข้าพรรษา ซึ่งพุทธศาสนิกชนไทยทุกคนต่างรู้ว่า เป็นวันที่พระสงฆ์จะต้องปวารณาตน อธิฐานอยู่ประจำที่ไม่เที่ยวจาริกไปยังสถานที่ต่างๆ เว้นแต่มีกิจจำเป็นจริง ๆช่วงจำพรรษาจะอยู่ในช่วงฤดูฝนคือแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ถึง 15 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ดังนั้น วันเข้าพรรษา หมายถึง วันที่พระภิกษุในพระพุทธศาสนาอธิษฐานอยู่ประจำในวัด หรือเสนาสนะที่คุ้มแดดคุ้มฝนได้แห่งหนึ่งไม่ไปค้างแรมในที่อื่น ตลอด 3 เดือนในฤดูฝน 

นอกจากการทำบุญเข้าพรรษาแล้ว ยังมีการทำบุญอีกอย่างหนึ่งที่ทำในช่วงเข้าพรรษา คือ การถวายผ้าอาบน้ำฝน ประเพณีถวายผ้าอาบน้ำฝนเป็นประเพณีที่มีมาตั้งแต่สมัยอดีตกาล ในครั้งสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสให้พระภิกษุสงฆ์ทั้งหลายแสวงหาผ้าอาบน้ำฝน ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 7 ไปจนถึงเดือน 8 ขึ้น 15 ค่ำ และทรงอนุญาตนุ่งหุ่มได้ตั้งแต่ แรม 1 ค่ำเดือน 8 ไป และห้ามมิให้พระภิกษุสงฆ์แสวงหาผ้านุ่งห่มเลยไปจากทรงอนุญาตไว้ ผ้าอาบน้ำฝน ถึงแม้ว่าไม่ได้จัดอยู่ในชุดไตรจีวร แต่ก็หมายถึงเครื่องนุ่งห่มอันจำเป็นสำหรับพระภิกษุสงฆ์เช่นกัน การถวายผ้าอาบน้ำฝนให้พระภิกษุนั้น ก็เพื่อให้ท่านได้ใช้สำหรับอาบน้ำในช่วงฤดูฝน และได้ทรงกำหนดไว้ในพระวินัยปิฎกว่า ขนาดผ้าอาบน้ำฝนไว้ จะต้องมีความยาวของผ้า 4 ศอก กับ 3 กระเบียด กว้างศอกคืบ 4 นิ้ว 1 กระเบียด กับ 2 อนุกระเบียด คิดตามประมาณของช่างไม้ จะยาวหรือกว้างกว่านั้นไม่ได้ จะถือว่าเป็นโทษแก่พระภิกษุสงฆ์

ตามพุทธประวัติ พุทธศาสนิกชนคนแรกที่ถวายผ้าอาบน้ำฝนคือ นางวิสาขามหาอุบาสิกา เนื่องจากสมัยก่อนพระภิกษุมีผ้าจีวรเพียงชุดเดียวเท่านั้น เมื่อต้องสรงน้ำจึงต้องเปลือยกาย ทำให้ดูไม่งามและเหมือนนักบวชนอกศาสนา นางวิสาขามหาอุบาสิกาจึงคิดถวาย "ผ้าวัสสิกสาฏก" หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า ผ้าอาบน้ำฝน เพื่อให้พระสงฆ์ได้ผลัดเปลี่ยนกับผ้าสบงปกติ จนเป็นประเพณีทำบุญสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

แต่คนทั่วไปยังเข้าใจผิดว่า ผ้าอาบน้ำฝนและผ้าจำนำพรรษา เป็นผ้าชนิดเดียวกันเพราะถวายในช่วงเข้าพรรษาเหมือนกันทั้งที่จริงแล้ว ผ้าจำนำพรรษา เรียกตามคำวัดว่า ผ้าวัสสาวาสิกสาฎก จะเป็นผ้าไตรจีวรทั้งหมดหรือผืนใดผืนหนึ่งก็ได้ โดยทายกมีเหตุรีบด่วนเช่นต้องไปทัพหรือเดินทางไกลไม่อาจรอถึงช่วงออกพรรษาได้จึงขอถวายไว้ก่อนภายในพรรษา จึงเรียกผ้านี้อีกอย่างหนึ่งว่า อัจเจกจีวร คือจีวรรีบด่วนหรือผ้าด่วนพระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสงฆ์รับไว้ได้ก่อนวันออกพรรษาปวารณาไม่เกิน ๑๐ วัน ผ้าจำนำพรรษา ที่เรียกดังนี้เพราะเมื่อรับถวายแล้วต้องเก็บไว้จนกว่าจะออกพรรษาจึงนำออกแจกกันเหมือนกับจำนำหรือฝากพรรษาไว้ก่อน ส่วนผ้าอาบน้ำฝน คือผ้าที่พระสงฆ์ใช้ผลัดเปลี่ยนเวลาสรงน้ำ เหมือนผ้าขาวม้า ผ้าอาบน้ำฝน เป็นผ้าที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้พระสงฆ์ใช้ได้เป็นผืนที่ ๔ นอกเหนือจากไตรจีวร 

อานิสงส์ ของการถวายผ้าอาบน้ำฝน
การถวายผ้าอาบน้ำฝนมีความเชื่อที่ถือกันมานานว่า ผู้ใดที่ถวายผ้าอาบน้ำฝนให้กับพระภิกษุสงฆ์ จะถือว่าเป็นการทำบุญที่ช่วยทำนุบำรุงและสนับสนุนพระศาสนาให้คงอยู่สืบไป และเพื่อมิให้พระภิกษุสงฆ์ต้องลำบากในการแสวงหาผ้าอาบน้ำฝน จะได้ตั้งหน้าตั้งตาปฏิบัตธรรมตามหลักคำสอนของพุทธศาสนาและช่วยเผยแผ่ให้พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองสืบไป และผู้ทืได้บริจาคผ้าอาบน้ำฝน ก็จะได้พบแต่ความสุขความเจริญ จะมั่งมีด้วยทรัพย์สินเงินทองและบริวารมากมาย เมื่อสิ้นบุญไปแล้วก็จะไปเกิดเป็นเทพบตรเทพธดาบนสรวงสวรรค์เสวยทิพยสมบัติสืบไป


อ้างอิง:พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดราชโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ.๒๕๔๘

วันที่สร้าง : 16 กันยายน 2560

15

แบ่งปัน
สร้างโดย