คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

พระธาตุจอมแจ้ง

ตำนานพระธาตุจอมแจ้ง

“วัดพระธาตุจอมแจ้ง” แต่เดิมนั้นเรียกว่า “วัดพระธาตุจวนแจ้ง” เนื่องจากสมัยที่พระพุทธองค์เสด็จถึงสถานที่แห่งนี้เป็นเวลาใกล้สว่างพอดี ต่อมาเรียกเพี้ยนเป็น “วัดพระธาตุจอมแจ้ง” ซึ่งตั้งอยู่บริเวณเนินเขาใกล้กับพระธาตุช่อแฮ เป็นพระธาตุที่มีรูปทรงคล้ายกับพระธาตุช่อแฮ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1331 แต่ไม่ปรากฏชื่อผู้สร้าง

          ตามตำนานพระธาตุจอมแจ้งกล่าวไว้ว่า

          ปี พ.ศ. 1900 พญาลิไท กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย ได้เดินทางมาทำการบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุ อุโบสถ กำแพง และบันไดนาคครั้งหนึ่ง

          ปี พ.ศ. 2451 สิ่งก่อสร้างในวัดพระธาตุจอมแจ้งได้ชำรุดทรุดโทรมลง  พระครูพุทธวงศาจารย์ อดีตเจ้าคณะจังหวัดแพร่ พร้อมด้วยพระภิกษุ สามเณร ทุกวัด และ พระยาบุรีรัตน์ และคุณหญิงจันทร์คำ ได้ร่วมกันทำการบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุ  บูรณะกำแพง  บันไดนาค ก่อสร้างศาลา  จนเสร็จเรียบร้อย จึงได้จัดงานบุญฉลองอย่างยิ่งใหญ่ โดยทำดอกไม้เพลิงขนาดใหญ่ เพื่อจุดเป็นพุทธบูชา แต่จุดได้ไม่นานจึงเกิดระเบิดขึ้นเสียงดังสนั่น สร้างความเสียหายให้กับบันไดนาค

          ปี พ.ศ. 2505 เป็นต้นมา พระครูอุดมขันติคุณ อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธาตุจอมแจ้ง พร้อมด้วยพระภิกษุสามเณร ทายก ทายิกา ได้ทำการบูรณะวัดครั้งใหญ่ ทั้งองค์พระธาตุ วิหาร ปิดทององค์พระประธาน  สร้างแท่นพระประธาน บูรณะบันไดนาค สร้างกุฏิ 2 หลัง สร้างศาลา 8 หลัง รื้อกำแพงเก่าแล้วสร้างใหม่ สร้างถนนคอนกรีตในบริเวณวัด สร้างซุ้มประตูวัด ลาดยางถนนทางขึ้น ลาดยางบริเวณวัด ปั้นพระพุทธรูปต่างๆ สร้างห้องปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐาน สร้างหลวงพ่อทันใจ ทำบุษบก สร้างพระยืนสูง 11 เมตร สร้างรูปปั้นจำลองสวรรค์ นรก เปรต อสูรกาย สร้างอุโบสถ ขยายเขต ติดตั้งไฟฟ้า ติดตั้งประปา สร้างพระสังกัจจายน์ วาดภาพพุทธประวัติ สร้างซุ้มประตูวัดเข้าพระธาตุ สร้างรั้วรอบพระธาตุ สร้างพิพิธภัณฑ์ สร้างรั้วบริเวณจัดงานนมัสการพระธาตุ สร้างห้องสมุด และขุดสระเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง

          ปี พ.ศ.2508 พระครูอุดมขันติคุณ เจ้าอาวาสพร้อมด้วยคณะสงฆ์ สามเณร ทายก ทายิกา ทั้งหลายได้พร้อมใจกันทำการปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุอีกครั้งหนึ่ง มีศรัทธานายสิงคาร นางศรีเพรา วัฒนสมบัติ มีจิตศรัทธารับเอาเศวตฉัตร(ยอดพระธาตุ)ไปซ่อมแซม ลงรักปิดทองใหม่ ทำพิธียกฉัตรในวันวิสาขบูชาเดือน 8 เหนือ ขึ้น 15 ค่ำ ปีมะเส็ง

องค์พระธาตุจอมแจ้งสีทองอร่ามตาบุด้วยทองสวยงามทั้งองค์ มีความสูงถึง 29 เมตร ฐานกว้าง 10 เมตร เป็นเจดีย์ทรงพุ่มศิลปะผสมระหว่างสุโขทัยกับศิลปะเวียงโกศัย รอบองค์เจดีย์มีกำแพงปูนล้อมรอบและมีซุ้มประตูทั้งสี่ทิศ องค์พระธาตุยังอยู่ในลักษณะที่ค่อนข้างสมบูรณ์ เชื่อกันว่าสถานที่แห่งนี้เป็นที่บรรจุพระเกศธาตุและพระบรมสารีริกธาตุ พระหัตถ์เบื้องซ้ายของพระพุทธเจ้า นอกจากองค์พระธาตุจอมแจ้งแล้ว ยังมีพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ปางพระนาคปรกประดิษฐานอยู่คู่กับองค์พระธาตุ ภายในวิหารมีหลวงพ่อจอมแจ้งซึ่งมีอายุประมาณ 600 กว่าปี เป็นพระประธาน

          ในทุกๆ ปี ชาวแพร่จะจัดงานประเพณีนมัสการองค์พระธาตุจอมแจ้งขึ้น โดยจะจัดขึ้นในวันขึ้น 11 - 15 ค่ำเดือน 5 หรือประมาณเดือนเมษายนของทุกปี

6,795 views

1

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดแพร่