คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

พระธาตุช่อแฮ

ตำนานพระธาตุช่อแฮ

สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองและปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดของเมืองแพร่คือ พระธาตุช่อแฮ่ อยู่คู่เมืองแพร่มามากกว่าพันปี เป็นหนึ่งในพระธาตุศักดิ์สิทธิ์ของประเทศไทย ซึ่งเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนปีขาล สำหรับชื่อพระธาตุช่อแฮนั้นมีความเชื่อดั้งเดิมว่า ขุนลัวะอ้ายก้อมได้นำผ้าแพรมาถวายพระพุทธเจ้า และต่อมาชาวบ้านได้นำผ้าแพรชั้นดีทอจากสิบสองปันนามาผูกบูชาพระธาตุ คำว่าช่อแฮ จึงหมายถึง “ช่อแพร” นั่นเอง พระธาตุช่อแฮ ซึ่งพบว่าเขียนเป็นอักษรธรรมว่า "ช่อแฮ" และ "ช่อแร" ซึ่งอ่านว่า "ช่อแฮ" ทั้งสองอย่างนั้นมีความหมายว่า “ธงสามเหลี่ยมทำด้วยแพร”

          ภายในพระธาตุบรรจุพระบรมสารีริกธาตุส่วนพระศอกด้านซ้าย และพระเกศาธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์พระธาตุเป็นเจดีย์ศิลปะเชียงแสนแบบแปดเหลี่ยม ย่อมุมไม้สิบสองบุด้วยทองดอกบวบหรือทองจังโก สูง 33 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 11 เมตร องค์พระธาตุตั้งอยู่บนฐานเขียงสี่เหลี่ยม 1 ชั้น ถัดขึ้นไปเป็นฐานหน้ากระดานแปดเหลี่ยม 3 ชั้นรองรับ ถัดไปเป็นฐานบัวคว่ำและชุดท้องไม้แปดเหลี่ยมซ้อนลดชั้นกันขึ้นไป 7 ชั้น จากนั้นเป็นบัวระฆัง 1 ชั้น และหน้ากระดาน 1 ชั้น จนถึงองค์ระฆัง 8 เหลี่ยม ถัดขึ้นไปเป็นบัลลังก์ย่อมุมไม้สิบสองและปล้องไฉนส่วนยอดฉัตรประดับตกแต่งด้วยเครื่องบนแบบล้านนา

          พระธาตุช่อแฮ มีตำนานเล่าสืบต่อมาว่า เมื่อพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้พระสัพพัญญูตัญญาณได้ 25 พรรษาแล้ว ครั้งที่ประทับอยู่ที่เชตวันมหาวิหารนั้น คืนหนึ่งพระองค์ก็รำพึงว่า พระองค์ก็ทรงมีอายุ 60 พรรษาแล้ว เมื่ออายุแปดสิบ พระองค์จะปรินิพพาน จึงคิดว่าควรอธิษฐานธาตุของพระองค์ให้เป็น 3 ส่วน แจกให้เทวดาและมนุษย์เอาไว้กราบไหว้บูชา เพราะสัตว์โลกยังเห็นพระองค์ไม่ทั่วถึง และพระองค์จะอธิษฐานให้ธาตุของพระองค์ ไปสถิตอยู่ยังสถานที่อันสมควร

          เมื่อออกพรรษาแล้ว พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระอรหันต์ 3 องค์ คือ พระโสณะ พระอุตตระ พระรัตนะและพระมหาเถรอีกรูปหนึ่ง ได้เสด็จไปสอนสัตว์โลกตั้งแต่เมืองกุสินานาจนถึงเมืองแพร่ ได้มาประทับที่ใต้ร่มไม้แห่งหนึ่งเรียก "ไม้จ้องแค่" บนดอย "โกสิยธชคบรรพต" ไม้ต้นนั้นมีสาขางดงามและมีผลสะพรั่ง ขุนลัวะผู้หนึ่งชื่อ "อ้ายก๊อม" ทราบข่าวก็ไปกราบไหว้พระพุทธเจ้า และทูลว่าผู้กินผลไม้นั้นจะเป็นบ้า พระพุทธเจ้าก็ได้กิน "หมาก" นั้น พร้อมกับปูนและพลูและแสดงปาฏิหาริย์ให้ขุนลัวะผู้นั้นดู แล้วกล่าวว่าถ้าใครกินหมากนั้นก็จะเป็นบ้าแล่นไป เหตุนั้นเมืองนี้จะได้ชื่อว่า "เมืองแพร่" จากนั้นพระองค์ได้ประทานเกศาเส้นหนึ่ง ให้ลัวะอ้ายก๊อมบรรจุไว้ในถ้ำลึก 2,000 วาซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของดอยลูกนั้น ประชาชนต่างดีใจก็ได้นำข้าวของมาถวายไว้ในถ้ำ พระอินทร์ก็แต่งยนต์จักรมาถวายพร้อมกับปิดปากถ้ำด้วยหิน 3 ก้อน พระพุทธเจ้าได้รับสั่งต่อไปว่า ถ้าพระองค์ปรินิพพานแล้ว ให้เอาพระธาตุศอกข้างซ้ายมาบรรจุไว้ที่นี่ เพื่อว่าสถานที่นั้นจะได้ชื่อว่าเมืองแพร่ เพราะพระองค์เคยประทับนั่งใต้ต้นหมากนั้นแล้ว จากนั้นก็เสด็จไปยังเมืองต่างๆ เพื่อบรรจุพระธาตุแล้วเสด็จกลับเชตวันมหาวิหาร

        

  เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานได้ 218 ปี พระเจ้าธรรมาโศกราช(หรือพระเจ้าอโศก) กับท้าวพญาต่างๆ ในชมพูทวีปก่อพระเจดีย์ 84,000 องค์ แล้วอัญเชิญพระธาตุมาบรรจุ และอธิษฐานอัญเชิญไปสถิตยังสถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงหมายไว้ พระธาตุก็เสด็จลอยไปทางอากาศไปยังที่นั้นๆ พระอรหันต์ทั้งหลายกล่าวว่า เจดีย์องค์หนึ่งจะตั้งอยู่ในพลนคร บนดอยโกสิยธชคบรรพตทิศตะวันออกของแม่น้ำ

ยมุนาคือแม่น้ำยม เมื่อบรรจุพระธาตุศอกซ้ายที่ดอยดังกล่าวแล้ว มีพระอรหันต์ 7 องค์ พญา 5 องค์เป็นผู้อุปถัมภ์ แล้วทำการสักการะบูชาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน และพระธาตุก็มักกระทำปาฏิหาริย์อยู่เสมอ ต่อมาเมื่อ "พญาลิไทเป็นกษัตริย์แห่งล้านนา" พระองค์ได้ยกพลมายังพย่อมุลนครคือเมืองแพร่ เพื่อปฏิสังขรณ์เจดีย์บนดอยโกสิยธชคบรรพต เมื่อกลับไปถึงบ้านกวาง(ในท้องที่อำเภอสูงเม่นปัจจุบัน) ช้างซึ่งบรรทุกของได้ลมเชือกหนึ่ง จึงให้เฉลี่ยของไปบรรทุกช้างเชือกอื่น ในที่นั้นได้ชื่อว่า "บ้านกวานช้างมูบ" แล้วไปพักที่ดอยจวนแจ้ง เมื่อจัดที่พักแก่ข้าราชบริพารสตรีและบุรุษแล้ว ก็ปฏิสังขรณ์เจดีย์ดังกล่าวจนแล้วเสร็จจึงเสด็จกลับ ต่อจากนั้นมาเจ้านายไพร่ฟ้าประชาชนก็ร่วมแรงร่วมใจกันบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุช่อแฮมาตราบเท่าทุกวันนี้

          เพราะธาตุช่อแฮผ่านกาลเวลามากกว่าพันปี ทำให้มีความทรุดโทรม ครูบาศรีวิชัย ซึ่งเป็นนักบุญสำคัญแห่งล้านนา เคยได้ปฏิสังขรณ์พระธาตุองค์นี้แล้วครั้งหนึ่ง องค์พระธาตุเดิมบุด้วยทองจังโก ครูบาศรีวิชัยได้รื้อเอาทองออก แล้วพอกปูนให้โตกว่าเดิมเล็กน้อย ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ และทุกๆ ปีจะมีงานนมัสการพระธาตุช่อแฮในวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 4

7,761 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดแพร่