คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ต้นตำรับอาหารมุสลิม

ต้นตำรับอาหารมุสลิมอินเดียใต้ย่านบางรัก

จักรพันธุ์ กังวาฬ : เรื่อง / ภาพ

อาหารนั้นเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมแต่ละชาติพันธุ์ ดังนั้นจึงมีทั้งกลิ่น รส วิธีการปรุง และการเลือกใช้

วัตถุดิบที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ในยามที่กลุ่มชนใดอพยพโยกย้ายถิ่น ก็มีส่วนนำพาวัฒนธรรมและอาหาร

ของพวกเขาให้เดินทางข้ามพื้นที่และเวลามาด้วยกัน

ย่านเก่าแก่ของกรุงเทพฯ อย่างบางรักได้ชื่อเป็นแหล่งชุมชนของคนหลากหลายเชื้อชาติและภาษามา

ตั้งแต่ในอดีต ทั้ง ไทย จีน แขก ฝรั่ง รวมทั้งกลุ่มคนจากอินเดียใต้ที่เข้ามาทำการค้าขาย จนกระทั่งตั้งหลัก

แหล่งอยู่ที่นี่ ดังเช่นชุมชนมัสยิดฮารูน ซึ่งตั้งอยู่บริเวณตรอกโรงภาษีเก่า ก็เป็นชุมชนมุสลิมที่สืบเชื้อสายมา

จากพ่อค้าชาวอินเดียใต้ จึงไม่แปลกที่ย่านบางรักจะมีร้านอาหารมุสลิมอยู่หลายเจ้า ทว่าร้านที่มีความเก่าแก่ กระทั่งมีผู้กล่าว ว่าเป็นต้นตำรับร้านอาหารมุสลิมเจ้าแรกๆ ในเมืองไทย ก็คือ “ร้านอาหารมุสลิม” ตั้งอยู่ที่บริเวณแยกบางรัก ใกล้โรงเรียนอัสสัมชัญฯ ซึ่งเปิดขายมานานกว่า 70 ปีแล้ว

ตัวร้านเป็นตึกเก่าขนาดสองคูหาตั้งอยู่ริมถนน ใกล้ปากซอยเจริญกรุง 42 หน้าร้านตั้งตู้กระจกวางถาด

อาหารนานาชนิดเรียงราย เชิญชวนให้ก้าวขาเข้าไปในร้าน เพื่อจะได้กลิ่นเครื่องเทศจากอาหารอวลหอมกรุ่น

และสัมผัสกับบรรยากาศของร้านอาหารยุคเก่าก่อน ผนังสองข้างกรุกระเบื้องด้านล่าง ด้านบนทาสีฟ้าสด

ประดับภาพเกี่ยวกับศาสนาอิสลาม เก้าอี้พนักไม้สีน้ำตาลตั้งชิดผนัง และพัดลมเพดานที่หมุนวนอย่างช้าๆ

เจ้าของร้านคนปัจจุบัน คือ คุณป้ามณี ภาคยวงค์ วัย 78 ปี เล่าให้ฟังว่าปู่ของเธอเป็นคนอินเดียใต้ ย้ายมาอยู่ที่นี่และพบรักกับย่าที่เป็นผู้หญิงไทย พ่อของเธอจึงเกิดในเมืองไทย ทำอาชีพขายวัวและแพะที่ตลาด

บางรัก ก่อนตัดสินใจเปิดร้านอาหารแห่งนี้และสืบทอดมาจนปัจจุบัน

ร้านนี้ขายอาหารมุสลิมตำรับอินเดียใต้ โดยพ่อครัวซึ่งอยู่ที่นี่มาตั้งแต่เด็กจนทุกวันนี้อายุได้ 70 ปี

ประกอบด้วยจานหลักอย่างข้าวหมกแพะ ที่หุงข้าวเหลืองโดยใช้หญ้าฝรั่นเป็นเครื่องเทศปรุงแต่งสีและกลิ่น

รวมทั้งข้าวหมกไก่ ส่วนแกงในถาดมีทั้งกุรหม่าไก่ กุรหม่าแพะ แกงกะหรี่ไก่ แกงกะหรี่แพะ แกงกะหรี่ปลา

แกงแห้งอย่างแกงมัสล่า แกงรสเปรี้ยวอย่างแกงดาลจา แกงถั่ว สมองวัวผัดเครื่องแกง อีกทั้งซุปเนื้อ ซุปหางวัว

ซุปไก่ มะตะบะเนื้อ มะตะบะไก่ ส่วนขนมหวานมีอาทิ กุหลาบจามุน ขนมบดิน กะหรี่ปั๊บ ฯลฯ

อาหารมุสลิมตำรับอินเดียใต้มีกลิ่นรสเฉพาะตัวจากเครื่องเทศหลากหลายที่เป็นเครื่องปรุง ไม่ว่า

หญ้าฝรั่น อบเชย กานพลู ยี่หร่า ลูกซัด พริกไทยดำ ลูกกระวาน ฯลฯ โดยทางร้านใช้เครื่องเทศจากร้านขาย

ที่อยู่ติดกันมาตั้งแต่รุ่นพ่อของคุณป้า คือ ร้านสุวรรณเครื่องเทศ ซึ่งเป็นร้านเก่าแก่ของคนไทยเชื้อสายอินเดียที่

เปิดกิจการมาตั้งแต่สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

คุณป้ามณีบอกว่าทางร้านได้ปรับสูตรอาหารมาตั้งแต่รุ่นพ่อแล้ว โดยลดความเข้มข้นของเครื่องเทศให้

อ่อนลง เพื่อให้เข้ากับลิ้นของลูกค้าที่เป็นคนไทย จีน ฝรั่ง นักท่องเที่ยวต่างชาติที่แวะเวียนเข้ามาอยู่เสมอ

กล่าวอีกนัยหนึ่ง เท่ากับคนเหล่านี้ได้เปิดประตูเข้ามาทำความรู้จักวัฒนธรรมมุสลิมผ่านรสชาติอาหารนั่นเอง

ขณะเดียวกัน ร้านนี้ก็มีลูกค้าประจำเป็นคนมุสลิมย่านบางรัก และคนมุสลิมจากต่างชาติ ไม่ว่ามุสลิม

จากอินเดีย ตะวันออกกลาง หรือจากประเทศแถบแอฟริกา ในยามที่พวกเขารอนแรมจากบ้านมาไกล การได้

ลิ้มรสชาติอาหารที่คุ้นเคยย่อมทำให้ความทรงจำย้อนระลึกไปถึงรากเหง้าได้แจ่มชัด

น่าเสียดายที่บทสนทนาทางวัฒนธรรมผ่านรสชาติอาหารเหล่านี้อาจต้องสะดุดหยุดลง เมื่อคุณป้ามณี

เผยว่าหากหมดรุ่นเธอแล้วคงไม่มีคนสานต่อกิจการ

อย่างไรก็ตามเวลานั้นยังไม่มาถึง ขณะนี้ภายในร้านอาหารมุสลิมบางรักจึงยังเต็มไปด้วยลูกค้าต่าง

ชาติต่างภาษาและต่างศาสนา ก้มหน้าละเลียดอาหารบนโต๊ะตรงหน้าอย่างโอชะ บ้างกำลังสนทนากัน

อย่างออกรส

 

เรียบเรียงโดย : Kanok

5,175 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในกรุงเทพมหานคร