คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

หมู่บ้านตำนานหงส์

หมู่บ้านวังหงส์ จังหวัดแพร่

 

            “ ตระกูลหงส์เป็นตำนาน สองวิหารงามสง่า  พระธาตุดอยโดนคนศรัทธา  ชาวประชาสามัคคี ”เป็นคำขวัญของหมู่บ้านของฉันเอง วังหงส์เป็นหมู่บ้านเล็กๆ มีประชากรประมาณ 3,000  กว่าคน ซึ่งมีทั้งหมด  7  อยู่ห่างจากตัวเมืองแพร่ 17  กิโลเมตร หมู่บ้าน บ้านวังหงส์ตั้งขึ้นมาก่อนปี 2440 มีอายุกว่า 200  ปี บรรพบุรุษของชาววังหงส์ตามประวัติการเล่าขาน อพยพมาจากตำบลในเวียง อำเภอเมือง  คือบ้านน้ำคือ บ้านเชตวัน บ้านประตูมาร   หมู่บ้านของฉันมีโรงเรียน ซึ่งเป็นโรงเรียนเล็กๆ มีนักเรียนไม่มากมายนักเนื่องจากนักเรียนส่วนใหญ่เดินทางเข้าไปเรียนหนังสือในตัวจังหวัดกัน ดังนั้นจึงมีนักเรียนจากหมู่บ้านใกล้เคียงมาร่วมเรียนด้วยกัน ซึ่งนับว่าเป็นผลดีเลยทีเดียว เนื่องจากทำให้มีจำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้น   การเรียนการสอนก็คล่องขึ้น ตำบลวังหงส์มีวัดอยู่  2  วัด ซึ่งเรียกกันว่า วัดวังหงส์ใต้ และวัดวังหงส์เหนือ ซึ่งจะแบ่งกันตามศรัทธาของประชาการในหมู่บ้าน แต่ตามหลักความจริงแล้วนั้น ทั้งวัดวังหงส์เหนือ และ วัดวังหงส์ใต้  เวลามีงานต่างๆ ทุกคนในตำบลวังหงส์ก็ช่วยงานกันได้ทั้ง 2 วัด  ตำบลวังหงส์ยังมีศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรแพร่ หรือเรียกง่ายๆติดปากว่า  พืชสวนแพร่ อยู่ห่างจากหมู่บ้านเพียง  5  กิโลเมตร บริเวณป่าสงวนแห่งชาติห้วยขี้เบี้ย ซึ่งเป็นศูนย์แปลงทดลองและผลิตพันธ์ไม้ผล  และเป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีการทำสวนผลไม้ ไม้ยืนต้น พันธ์ไม้ดอกไม้ประดับ ให้กับประชาชนทั่วไป และจังหวัดใกล้เคียงอีกด้วย เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาวที่พืชสวนของเราจะมีดอกไม้บานสะพรั่ง พร้อมต้อนรับผู้คนที่เข้าไปเยี่ยมชมพืชสวนอีกด้วย  และยังมีพระธาตุศักดิ์สิทธิ์คือ พระธาตุดอยโตน ซึ่งอู่ในเขตของหมู่ที่  5  ตำบล   วังหงส์ พระธาตุดอยโตนนี้ได้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2522  เป็นการสร้างขึ้นมาด้วยแรงศรัทธาและแรงสามัคคีของชาวบ้านในตำบลวังหงส์อย่างแท้จริง พระธาตุดอยโตนล้อมรอบไปด้วยป่าไม้อันอุดมสมบูรณ์ ทำให้มีอากาศที่ดี เย็นสบาย และยังมีพระเจ้าทันใจซึ่งชาวบ้านมีความเชื่อ ถ้ามาตั้งจิตอธิฐานขอพรก็จะสมปรารถนา ทุกๆปีจะมีประเพณีขึ้นธาตุ สืบชะตา กินสลากภัตต์  ทำบุญให้ผู้ล่วงลับไปแล้วและงานที่จัดนั้น  ก็   แสดงถึงความสามัคคีของคนในหมู่บ้านที่ร่วมแรงร่วมใจกันจัดงานขึ้น

และที่สำคัญที่สุดที่ฉันอยากจะเล่าถึงคือ   “ อนุสรณ์สถานตำนานหงส์ ” ซึ่งจะเป็นการเกี่ยวพันถึงชื่อหมู่บ้านของฉัน  บ้านวังหงส์ดั้งเดิมมีพื้นที่ใกล้หนองน้ำขนาดใหญ่ใสสะอาดและลึกมาก มีป่าไม้ล้อมรอบเขียวชอุ่มตลอดปี ทำให้มีสัตว์นานาชนิดอาศัยอยู่ ตามตำนานเล่าว่า มีหงส์สีขาวบริสุทธิ์ รูปร่างสวย สง่างาม อยู่  2  ตัว เป็นหงส์ตัวผู้และหงส์ตัวเมีย มาเล่นน้ำในหนองน้ำแห่งนี้และมียายแก่มาเก็บผักใกล้หนองน้ำได้เห็นหงส์คู่นี้ ลอยเคียงคู่เล่นน้ำอย่างมีความสุข เหมือนเป็นคู่รักที่ไม่มีวันพรากจากกัน เป็นภาพที่ประทับใจมาก ยายจึงรีบกลับบ้านและเล่าให้ชาวบ้านฟัง เมื่อชาวบ้านได้ยินก็อยากเห็นหงส์คู่นั้นมาก รุ่งขึ้นจึงพากันออกไปแอบดูหงส์คู่นั้น ทุกคนต่างก็ได้ชื่นชมกับหงส์ขาวคู่นั้น เมื่อชาวบ้านพากันมองดูหงส์ด้วยความชื่นชม หงส์ขาวคู่นั้นกลับตกใจกลัว จึงพากันบินออกไปจากหนองน้ำแห่งนั้นไปทันที  ภาพของหงส์ขาวคู่นั้นยังติดตา ติดใจชาวบ้านที่ได้พบเห็น จึงชวนกันตั้งชื่อหนองน้ำแห่งนั้นว่า  หนองหงส์

และตั้งชื่อหมู่บ้านว่า บ้านหนองหงส์   ต่อมาในปี พ.ศ.2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่  5  ได้โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติปกครองท้องถิ่นที่ออกเป็นหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และจังหวัด จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น บ้านวังหงส์ จึงเรียกมาจนถึงทุกวันนี้ เมื่อตั้งชื่อว่าบ้านวังหงส์แล้ว ชาวบ้านก็ร่วมใจกันปั้นรูปหงส์  2  ตัว ให้อยู่คู่กันไว้  บนฝั่งใกล้ๆ กับหนองหงส์เพื่อเป็นอนุสรณ์และเป็นที่สักการบูชาของชาวตำบลวังหงส์ เมื่อถึงวัน พญาวัน ในเทศกาลปีใหม่เมือง หรือสงกรานต์ ของทุกๆ ปี ชาวบ้านต่างก็พากันไปดำหัวหงส์  ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2525  ชาวบ้านต่างร่วมแรงร่วมใจสร้างศาลาเพื่อเป็นที่ตั้งของหงส์ขาวคู่ โดยฝีมือการปั้นของพ่อสล่านนท์ และพ่อสล่ากี เพื่อทดแทนรูปปั้นหงส์เดิมที่ชำรุด มีการเล่าสืบต่อกันมาว่าก่อนที่จะมีการปั้นรูปหงส์คู่นั้น มักจะมีเหตุเภทภัยเกิดขึ้นในหมู่บ้าน เมื่อสร้างหงส์คู่ขึ้นมาใหม่และได้จัดพิธีบวงสรวงชาวบ้านก็อยู่ด้วยความสงบสุขตลอดมา ซึ่งจะมีการจัดงานขึ้นทุกวันที่  16  เมษายน ของทุกๆปี  ชาวตำบลวังหงส์ได้จัดให้มีพิธีกรรม ป๋าเวณีดำหัวหงส์ ซึ่งเป็นประเพณีที่งดงามและทรงคุณค่าต่อจิตใจของพวกเราชาววังหงส์ จะมีขบวนแห่ของแต่ละหมู่บ้าน มีการประกวดธิดาหงส์  การละเล่นของแต่ละหมู่บ้าน ทำให้ชาวบ้านมีความสุข และภูมิใจในนประเพณีอันมีคุณค่าทางจิตใจของพวกเรา

            และมีอีกอย่างคือที่หมู่บ้านของฉันล้วนแต่มีนามสกุลที่ขึ้นต้นด้วยหงส์กันทั้งนั้น อาจไม่ใช่เรื่องแปลกของคนในพื้นที่ แต่ถ้าคนจากที่อื่นได้มาฟังนามสกุลของพวกเราอาจคิดว่า แปลกจริงหนอ  ฉันจึงอยากตัวอย่างนามสกุลของคนในหมู่บ้านฉันให้ฟัง เริ่มจาก  หงส์หนึ่ง , หงส์สอง, หงส์สาม,หงษ์สี่, หงส์ห้า หงส์เจ็ด , หงส์แปด ,หงส์สิบเอ็ด, หงส์สิบสอง ,หงษ์สิบสาม, หงส์สิบสี่ , หงส์สิบเจ็ด, หงส์สิบแปด,           หงส์ยี่สิบเอ็ด ….จนถึง หงส์สามสิบเก้า และสิ้นสุดที่ ปราบหงส์  บางคนเคยบอกว่า ถ้าไม่มี  ปราบหงส์ ก็คงจะต่อไปอีกเรื่อยๆ นอกจากขึ้นต้นด้วยหงส์แล้ว ยังมี หงส์ทอง หงส์บินโบก หงส์สินสี    หงส์แก้ว หงษ์แสง   หงส์ร่อน หงส์เหิน และยังมีอีกมากมายหลายหงส์กันเลยทีเดียว  ดั่งเพลงวังหงส์ที่คุณถนอมวงสามโทนได้แต่งไว้ ( คุณวิทยา  เจตะภัย หรือ คุณถนอม สามโทน เป็นคนตำบลวังหงส์  )  ซึ่งทางหมู่บ้านของฉันจะเปิดก่อนประกาศเสียงตามสายทุกวันเช้า และเย็น จนทุกคนร้องได้กัน ซึ่งได้กลายเป็นบทเพลงประจำหมู่บ้านของพวกเราไปแล้วและเป็นบทเพลงที่ไพเราะมาก

“  วังหงส์แผ่นดินนี้ช่างสุขสม มีสายน้ำยมข้าลงเล่นมาแต่น้อย ขอบฟ้าโอบชิดจุมพิตยอดยอด

พระธาตุองค์น้อย ดอยโตนผู้คนศรัทธา วังหงส์ ค่ำลงเหมือนดั่งสวรรค์ ใต้ฟ้าแสงจันทร์ผูกพัน

รักกันนานมา พ่อเอย แม่เอยให้ลูกเกิดมา เป็นวาสนาเกิดมาในบ้านวังหงส์  วังหงส์คือตำนาน

เรื่องราวกล่าวขานโบราณว่าไว้ ว่ามีหงส์คู่ อยู่ร่วมรักจนตาย สร้างรักสร้างรักเอาไว้ สอนใจ

ให้ลูกวังหงส์  วังหงส์แผ่นดินบ้านเกิดเมืองนอน แม้จำจากจร อาวรณ์เหลือเกินวังหงส์

ชาตินี้หากชีวิตข้าสิ้นลง ชาติหน้าขอเกิดวังหงส์ ตราบจนฟ้าดินมลาย....

36,566 views

16

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดแพร่