คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ตำนานอภัยภูเบศร

เล่าขานตำนานแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร

                ตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศร สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2452 โดยท่านเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม อภัยวงศ์) เพื่อใช้รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแต่ทรงสิ้นพระชนม์ก่อน ต่อมาตึกหลังนี้ได้ใช้รับเสด็จพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2455 และเชื้อพระวงศ์อีกหลายพระองค์ ตึกหลังนี้เป็นมรดกตกทอดมาถึง พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี ในรัชกาลที่ 6 และพระองค์ได้มอบตึกหลังนี้ให้แก่ทางราชการ ในปี พ.ศ. 2482 และได้กลายเป็นตึกผู้ป่วยที่สวยงามที่สุดจนถึงปี พ.ศ. 2512 ในสมัยนายแพทย์สุจินต์ พลานุกูล ได้ทำการบูรณะและจะเปิดใช้เฉพาะในโอกาสพิเศษเท่านั้น ต่อมาได้มีการบูรณะตึกครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2537 เพื่อจัดทำเป็น พิพิธภัณฑ์การแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร

 

                การแพทย์แผนไทยเป็นภูมิปัญญาไทยที่มีมาตั้งแต่โบราณภูมิปัญญาที่ได้รับความนิยมจนเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตคนไทยเคยเสื่อมความนิยม เพราะถูกมองว่าเป็นเรื่องไสยศาสตร์ ขาดความน่าเชื่อถือ แต่ปัจจุบันการแพทย์แผนไทยกำลังได้รับการศึกษาค้นคว้าและกลับมาเป็นที่สนใจอีกครั้ง ใช้เป็นยารักษาโรค อาหารบำรุงสุขภาพ เครื่องสำอาง หรือเครื่องดื่มจากสมุนไพร หนึ่งในสถาบันที่ให้ความ สำคัญกับการพัฒนาสมุนไพรไทยนั่นก็คือมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ตึกเจ้าพระยาภัยภูเบศรอยู่ในความดูแลของมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ปัจจุบันมีอายุรวมกว่า 101 ปีโดยทางกรมศิลปากรได้ประกาศเปลี่ยนให้เป็นโบราณสถานแห่งชาติเมื่อมองไปรอบๆจะเห็นรูปปั้นไก่ตั้งอยู่ทั่วบริเวณตึกเพราะเจ้าพระยาอภัยภูเบศรชื่นชอบกีฬาชนไก่เป็นอย่างมากประชาชนจึงนำไปถวาย เพื่อระลึกถึงคุณงามความดีที่ท่านมีต่อชาวปราจีนบุรี

                ส่วนอาคารตึกเจ้าพระยาอภัยภูเบศรเป็นสถาปัตยกรรมยุโรปเป็นตึกสองชั้นส่วนตรงกลางเป็นโดมที่ยอดโดมมี เครื่องบอกทิศทางลมด้วยโลหะรูปไก่ ผนังด้านนอกมีลายปูนปั้น เป็นลายพฤกษาประดับซุ้มประตู และหน้าต่าง หลังคาทรงตั้งหยางมุงกระเบื้องสี่เหลี่ยมเล็ก สถาปัตยกรรมแห่งนี้จึงมีความสวยงามและเป็นที่ประทับใจของผู้ที่มาเยี่ยมชม ส่วนด้านในตึกแบ่งออกเป็น 5 ห้องได้แก่ ห้องแรกเป็นห้องที่แสดงประวัติความเป็นมาของเจ้าพระยาภัยภูเบศร์และตึกหลังนี้ที่สร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2452 โดยท่านเจ้าพระยาไปภูเบศรหรือท่านชุ่ม อภัยวงค์ เพื่อให้เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ และพระบรมมาวงศ์สานุวงค์ได้สร้างเพื่อเป็นที่พักให้กับท่านเอง ต่อมาได้ใช้อาคารหลังนี้เป็นตึกอำนวยการของโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร และในปีพุทธศักราช 2536 ได้เปลี่ยนบทบาทจากสถานที่รักษาคนไข้มาเป็นสถานที่ให้ความรู้ในฐานะพิพิธภัณฑ์แพทย์แผนไทยอภัยภูเบศรส่วนด้านหลังของห้องเป็นที่จัดแสดงหม้อกลั่นน้ำมัน หม้อทองเหลืองโบราณในสมัยก่อนใช้ต้มกลั่นทำน้ำมันกฤษณา ห้องที่สองเป็นห้องที่งดงามที่สุดคือห้องโถงกลางชั้นล่างซึ่งยังคงลักษณะการตกแต่งภายในเป็นแบบเดิมอยู่ครบถ้วนตั้งแต่ลวดลายกระเบื้องปูพื้นภาพเขียนสี ปูนเปียกบนเพดานและลายปูนปั้น ปัจจุบันใช้เป็นห้องโถงที่จัดแสดงรูปปั้นและพระฉายาลักษณ์ของเจ้าพระยาภัยภูเบศร พระนางเจ้าสุวัทนาพระวรราชเทวี และสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ซึ่งทั้งสองพระองค์เป็นหลานของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร และยังมีการจัดแสดงของใช้ประจำตัวของท่านที่น่าสนใจ  เช่น  ตราประทับของท่านที่ทำมาจากงาช้าง กระดุมเสื้อที่สลักเป็นรูปไก่ และตะเกียงโบราณ ชั้นล่างซีกซ้ายของอาคารจัดรวบรวมเครื่องมือเทคโนโลยีในการผลิตยาในอดีต เช่น หินบทยาในสมัยทวารวดี ครกบดยา รางบดยา มีดหั่นสมุนไพรแห้ง และยังมีการจัดแสดงตัวอย่างสมุนไพรและเครื่องดองที่มีใช้ในอดีต เช่น รากของว่านสาวหลง จะมีกินหอมคนไทยสมัยก่อนเชื่อว่าเพียงแต่ใครพกติดตัวไปทิศทางใดผู้ที่ได้กลิ่นก็จะงงงวยและหลงใหลอย่างยิ่ง สมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่เราไม่ค่อยได้ยินบ่อยนักคือสาบแร้งสาบกาทั้งต้นสามารถแก้ไข้ นอกจากพืชสมุนไพรแล้วยังมีเขาสัตว์ชนิดต่างๆกระดูกและแร่ธาตุที่ใช้ในการรักษาอีกด้วยในห้องนี้ยังมีการรวบรวมสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่หมอยาเคารพนับถือ และมีดหมอหลวง ในอดีตซึ่งผู้ที่จะเป็นหมอยาพื้นบ้านได้นั้นต้องมีความอดทนขยันมีคุณธรรมและต้องเป็นผู้ที่มีศิลเพราะการรักษาของหมอยา เป็นการใช้สมุนไพรรักษาควบคู่ไปกับคาถาเวทมนตร์ต้องมีการบูชาครูทุกครั้งที่มีการรักษาผู้ป่วย ชั้นบนของอาคารได้จัดแสดงเกี่ยวกับความรู้ตำรับตำรายาไทยโบราณตำราดั้งเดิมของไทยที่เก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์มีตั้งแต่คัมภีร์ใบลาน หนังสือสมุดไทยสมุดข่อยและหนังสือหายากจำนวนมากกว่า 200 เล่ม ฉบับที่เป็นคัมภีร์ใบลานและหนังสือสมุดไทยมีอายุร่วม 100 ปีเขียนด้วยลายมือภาษาโบราณ เช่น อักษรขอม ไทยน้อย ภาษาบาลีเป็นต้น ถูกจัดไว้ในหมวดหมู่ตามระบบการจัดเอกสารโบราณและได้รับการซ่อมแซมเพื่ออนุรักษ์ให้คงอยู่กับคนไทยตลอดไป ด้านนอกของตัวอาคารมีแปลงสาธิตพืชสมุนไพรมีโต๊ะเก้าอี้ให้สำหรับผู้ที่เข้าชมสามารถพักผ่อนหย่อนใจและสนุกไปกับการเรียนรู้และศึกษาสมุนไพรชนิดต่างๆ เช่น สมุนไพรที่เรารู้จักกันดีอย่างหญ้าหนวดแมวจากการศึกษาวิจัยพบว่าผลของสมุนไพรหญ้าหนวดแมว สามารถลดขนาดริวลมได้โดยให้คนไข้รับประทานยาชงหญ้าหนวดแมว ทุกวัน สวนสมุนไพรที่สามารถยับยั้งมะเร็งได้ก็คือต้นกับแก้ นอกจากจะช่วยลดค่ารักษาพยาบาลได้แล้วประชาชนยังสามารถปลูกใช้เองได้อีกด้วย

                        นอกจากจะได้รู้เกี่ยวกับสมุนไพรกับไปแล้วสิ่งที่สำคัญคือทางโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรได้มีการพัฒนาการผลิตยาเครื่องสำอางและอาหารเสริมจากสมุนไพรผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจอย่างเช่น ยาแก้ไอมะขามป้อมเป็นสินค้าขายดีจากทางโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร กว่า 5 ปีและเครื่องดื่มน้ำสมุนไพรต่างๆที่ให้ประโยชน์กับร่างกายโดยตรง สินค้าเหล่านี้มีการผลิตในรูปแบบที่เหมาะสมมีมาตรฐานจนทำให้สมุนไพรตายเป็นที่ยอมรับในสังคมวงกว้าง โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรแห่งนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่กำลังมองหาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพนอกจากจะได้ความสนุกสนานแล้วยังได้ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรและผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรกลับไปใช้ที่บ้านอีกด้วยจะเห็นได้ว่าการแพทย์แผนไทยนั้นเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวเรามากเป็นภูมิปัญญาที่แสดงถึง อัตลักษณ์ความเป็นชาติไทย เป็นความภาคภูมิใจของคนไทยเราจึงควรร่วมมือร่วมใจกันอนุรักษ์ ภูมิปัญญาของชาติก้าวเดินต่อไปอย่างภาคภูมิใจและยกระดับให้เทียบทันอารยประเทศและก้าวไกลสู่สากลอย่างยั่งยืน

 

ข้อมูล : http://www.abhaiherb.com/about/chaophraya-tower

ภาพ : น.ส.เบญจวรรณ นิสกนิลกุล 

18,320 views

0

แบ่งปัน