คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

เว็บบอร์ด

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   เว็บบอร์ด
  4.    >   CSR และ SI ในมิวเซียม

CSR และ SI ในมิวเซียม

15 มิถุนายน 2560

ชื่นชอบ 10

1,433 ผู้เข้าชม

2

แบ่งปัน
CSR หรือ corporate social responsibility เรียกสั้นๆ เข้าใจยากเป็นภาษาไทยว่า “บรรษัทบริบาล” และอธิบายยาวๆ แต่คนส่วนมากเข้าใจง่ายว่า คือการดำเนินกิจกรรมขององค์กรที่รับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

คำว่า CSR เริ่มฮิตกันทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย โดยเฉพาะในองค์กรเอกชนเมื่อประมาณทศวรรษที่ผ่านมา และปัจจุบันยังฮิตอยู่ กล่าวได้ว่าทุกองค์กรที่ต้องการภาพลักษณ์ดีงามและทันสมัยต้องมีกิจกรรม CSR ไม่ว่าจะนำพนักงานเก็บขยะหรือปลูกต้นไม้หรือแม้กระทั่งช่วยจับแมวไร้บ้านไปทำหมัน ฯลฯ

ฮิตจนกระทั่งปีนี้ บริษัทต่างๆ ในระดับโลกเริ่มพูดกันมากขึ้นถึงการขยับ CSR ให้ขึ้นถึงระดับ SI (social impact) หรือ ผลกระทบต่อสังคม นั่นคือ ทำกิจกรรมอะไรไปต้องมีความหมายและมีพลังที่จะเปลี่ยนแปลงสังคมในระดับที่วัดผลได้ 

เขียนถึงตรงนี้ หลายท่านอาจงงว่าแล้ว CSR กับ SI มาเกี่ยวอะไรกับมิวเซียมละนี่? 

คำตอบคือเกี่ยว เพราะตอนนี้มันกลายเป็นเทร็นด์ที่ลามเข้ามาถึงมิวเซียมหลายแห่งในโลกตะวันตกแล้ว – ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ

ในเว็บไซต์ museumnext ซึ่งเป็นการรวมตัวของบรรดาผู้ทำงานมิวเซียมจากหลายๆ ประเทศเพื่อพัฒนาวงการมิวเซียมโลก เริ่มมีบทสนทนาและบทความที่ว่าด้วยเรื่องการใช้ CSR และ SI ในมิวเซียม
 
จิม ริชาร์ดสัน ผู้ก่อตั้งชุมชน museumnext โดยทวิตเตอร์ของเขามีผู้ติดตามกว่าแสนคน เขียนไว้ในบทความว่า มิวเซียมควรเป็นได้มากกว่าที่จัดแสดงงานหรือโบราณวัตถุซึ่งผู้ชมเดินเข้ามาชมแล้วก็กลับออกไป  คนทำงานมิวเซียมไม่คิดบ้างหรือว่างานที่พวกเขากำลังทำอยู่มีความหมายต่อชุมชนและสังคมมากกว่านั้น 

ริชาร์ดสันยกตัวอย่างแคมเปญของไนกี้เมื่อต้นปีที่ผ่านมาเรื่องความไม่เสมอภาคทางเชื้อชาติ ซึ่งไนกี้ทำเสื้อยืดมีคำว่า “Ineqality” ออกขายในราคา 35 เหรียญสหรัฐ และแคมเปญของสตาร์บัคส์ ที่โฮเวิร์ด ชูลซ์ ประธานกรรมการบริหารเพิ่งประกาศเมื่อไม่นานว่าภายใน 5 ปีนี้ สตาร์บัคส์จะจ้างผู้อพยพทำงาน 10,000 คนกันเลยทีเดียวเพื่อตอบโต้นโยบายกีดกันผู้อพยพของประธานาธิบดีทรัมป์
 
แม้แต่บริษัทกาแฟเคนโกของอังกฤษ ก็ยังทำ CSR ด้วยการช่วยเหลือหนุ่มๆ แก๊งสเตอร์ชาวฮอนดูรัส (เมื่อหลายปีที่ผ่านมา สาธารณรัฐฮอนดูรัสในภูมิภาคอเมริกากลาง โด่งดังมากในเรื่องอาชญากรรมรุนแรงโดยกลุ่มแก๊งต่างๆ) ให้มีอาชีพด้วยการเป็นคนงานอิสระในไร่กาแฟ
 
ริชาร์ดสันบอกว่าบริษัทดังๆเหล่านี้ทำ CSR อย่างนี้ ก็เพราะทุกบริษัทมีงานวิจัยชี้ชัดว่าคนยุคปัจจุบันรู้สึกผูกพันและมีส่วนร่วมกับแบรนด์ที่ใส่ใจประเด็นทางสังคมมากกว่าแบรนด์ที่ขายแต่สินค้าตรงๆ 

เมื่อ museumnext ทำวิจัยบ้าง ก็ได้คำตอบทำนองเดียวกันว่าคนหนุ่มสาวที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปีลงไป คิดว่ามิวเซียมที่ให้ความสำคัญและมีกิจกรรมเกี่ยวกับประเด็นสังคมที่ให้ผลในระดับ SI น่าสนใจกว่ามิวเซียมแบบเดิมๆ 
 
ดังนั้น จะรออะไร? ชายหนุ่มผู้ก่อตั้ง museumnext จึงเสนอว่ามิวเซียมแต่ละแห่งควรคิดกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างจริงจังได้แล้ว โดยทำให้เป็นกิจกรรมประจำทุกเดือนกันเลยทีเดียว แล้วชักชวนผู้คนในชุมชนกับผู้มาเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ให้เข้าร่วมกิจกรรมด้วย 

ทำอย่างไรก็ได้ ให้เกิดบรรยากาศของความรู้สึกว่า “มิวเซียมคือพื้นที่ของฉัน มีเรื่องราวของฉัน ครอบครัวของฉัน และชุมชนของฉัน”  

กิจกรรมที่ว่า อาจเป็นกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือเยาวชนกลุ่มเสี่ยงในด้านต่างๆ ของชุมชน หรือกิจกรรมเพื่อผู้ป่วยสมองเสื่อมซึ่งสังคมยังขาดความรู้ในการดูแล แล้วจัดนิทรรศการที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมไปพร้อมกันในคราวเดียว

ริชาร์ดสันเชื่อว่าถ้ามิวเซียมทำได้อย่างนี้จะมีรายได้เพิ่มขึ้นแน่นอน เพราะผู้คนที่รู้สึกว่ามิวเซียมเกี่ยวข้องกับชีวิตของพวกเขา ย่อมยินดีช่วยเหลือมิวเซียมทั้งแรงกายแรงใจและกำลังทรัพย์ แม้สปอนเซอร์ทั่วไปก็อาจยินดีจ่ายเงินสนับสนุนเมื่อพวกเขาเห็นว่าใครๆ ก็สนใจมิวเซียม

นับว่าแนวคิดของริชาร์ดสันน่าสนใจทีเดียว แต่จะมีใครในแวดวงมิวเซียมเมืองไทยสนใจหรือเปล่านั้น บอกไม่ได้และไม่กล้าฝัน

เครดิตภาพ: museumnext.com

วันที่สร้าง : 30 เมษายน 2561

2

แบ่งปัน
สร้างโดย