คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ท้องทุ่งแห่งศรัทธา

ณ ทุ่งบางพลับ มีวัดงดงามท่ามกลางแรงศรัทธาของพุทธศาสนิกชน คือวัดขุนอินทประมูล อ.โพธิ์ทอง จ.อ่างทอง

พระพุทธไสยาสน์เลอไทนฤมิตร

                                                      อ่างทองเสกสิ่งสร้าง    สวรรค์

                                          เมืองดังแสงอำพัน                   ทั่วเหล่า

                                          เหนือคุณค่าชีวัน                      โลกยิ่ง  เปรียบฤา

                                          ระบือชื่อก้องฟ้า                       น่าแผ้วยินยล

“พระมหากษัตริย์ผู้ปกครองแผ่นดิน ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก” คำกล่าวนี้ได้กล่าวขึ้นตั้งแต่ครั้งอดีตจนถึงปัจจุบัน ครั้งสมัยพระยาเลอไทกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยมานมัสการพระฤาษีสุกกะทันตะ

 ในเขตกรุงละโว้ ได้สร้างพลับพลา ณ โคกบางพลับ ปัจจุบันคืออำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทอง พระองค์ได้ทรงพระสุบินทอดพระเนตรเห็นลูกไฟลอยขึ้นในอากาศทางทิศตะวันออก พระองค์ทรงพระโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง จึงพระราชดำริสร้างพระพุทธไสยาสน์ขึ้นเป็นพุทธบูชา ทรงพระขนานนามว่า“พระพุทธไสยาสน์เลอไทนฤมิตร”

              จวบจนสมัยกรุงศรีอยุธยาด้วยความศรัทธา เลื่อมใสในพระพุทธศาสนาได้มีนายอากรตำแหน่งขุนอินทประมูล เป็นผู้มีจิตใจใฝ่ในพระพุทธศาสนา ได้บูรณะปฏิสังขรพระพุทธไสยาสน์ จากน้ำพักน้ำแรงของตนเองแต่ก็ยังไม่เสร็จลุล่วง จึงยักยอกพระราชทรัพย์นำมาสร้างจนสำเร็จ ความนี้ได้ล่วงรู้ไปถึงพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศให้ไต่สวนขุนอินทประมูลให้การปฏิเสธจึงถูกสั่งให้ลงทัณฑ์ ภายหลังขุนอินทประมูลรับการลงทัณฑ์ไม่ไหวถึงแก่ชีวิต พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินมาทอดพระเนตรพระพุทธไสยาสน์ ทรงเห็นความศรัทธาที่ขุนอินทประมูลมีต่อพระพุทธศาสนาเพื่อให้เกิดสมมโนรส ทรงได้โปรดให้ฝังร่างขุนอินทประมูลด้านหลังองค์พระพุทธไสยาสน์ หลังจากนั้นได้พระราชทานนามวัดขุนอินทประมูลและถวายนามพระพุทธไสยาสน์ว่า  “พระพุทธไสยาสน์ขุนอินทประมูลจนเวลาลุล่วงมาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในปีพุทธศักราช ๒๕๑๖ ,๒๕๑๘  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ และในพุทธศักราช ๒๕๑๙  สมเด็จพระบรมโอสราธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินนมัสการพระพุทธไสยาสน์วัดขุนอินทประมูล พระมหากษัตริย์ทรงมีความศรัทธา เลื่อมใสในบวรพระพุทธศาสนา ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก ประชาชนชาวไทยได้เกิดความศรัทธาและเห็นคุณค่าของพระพุทธศาสนา จึงทำให้เกิดวัฒนธรรมประเพณี ที่เชื่อว่าพระพุทธศาสนาเป็นที่พึ่งทางจิตใน อีกทั้งยังช่วยบ่มเพาะ ขัดเกลาจิตใจของมนุษย์ เป็นที่ยึดหนี่ยวเพื่อให้คนตระหนักถึงความดี  โดยวัดขุนอินทประมูล อำเภอโพธิ์ทอง จังหวัดอ่างทองเป็นวัดที่ประชาชนมากราบไหว้นมัสการพระพุทธไสยาสน์เพื่อความสิริมงคล  แฝงความเชื่อที่ว่านมัสการพระพุทธไสยาสน์จะมีอายุยืน  ซึ่งความงดงามขององค์พระที่เด่นตระหง่านกลางท้องทุ่งที่เขียวขจีด้วยต้นข้าวจึงเป็นภาพที่สง่างามเมื่อได้เห็น อีกทั้งมีสินค้าผลิตภัณฑ์จากชุมชนท้องถิ่น อาทิ เครื่องสาน ขนมแปรรูปจากลูกตาล  ราคาย่อมเยา เมื่อมามนัสการพระพุทธไสยาสน์สิ่งที่จะได้รับนอกเหนือจากของฝากคือน้ำใจไมตรี และรอยยิ้มของชาวอ่างทอง

 

                                      ดำเนินเดินเรื่องอ้าง        ขับขานอ่างทอง

                             เมืองโด่งดังจักรสาน                ทั่วหน้า

                             ยังเป็นถิ่นลูกหลาน                  หลวงพ่อ  เลอไท

                             เลื่องชื่อคนใจกล้า                  ว่าไว้ขุนอิน       

                                                                                                                                                           นายสุเมธ  เงินนุช ครูโรงเรียนประตูชัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา   

2,491 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในกรุงเทพมหานคร