คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

จักสานย่านลิเภา

เครื่องจักสานย่านลิเภา ภูมิปัญญาท้องถิ่นระดับแบรนด์เนม

  "ย่านลิเภานี้เป็นศิลปะเก่าแก่ของบรรพบุรุษเรา แล้วก็วัตถุดิบก็เกิดขึ้นเองภายในประเทศคือ ทางภาคใต้ที่ฝนตกมากตัวย่านลิเภานั่นก็คือเป็นวัชพืชชนิดหนึ่งที่ขึ้นเอง รกโดยธรรมชาติ ใต้ต้นยาง ใต้สวนยางปิดดินให้ชุ่มชื้น และที่ภาคใต้ใช้ได้ดีเพราะว่าฝนตกมาก ทำให้เกิดความเหนียว ทำให้เส้นเหนียว และอยู่ได้เป็นร้อยปี อันนี้ที่คนญี่ปุ่นบอกว่าเป็นลักษณะพิเศษของย่านลิเภา ถ้าแม้นว่าทิ้งให้แก่กับต้นแล้ว ใยของเขาจะเหนียวอยู่ได้เป็นร้อยปี โดยที่ไม่มีตัวแมลงมากัดกินเลย เพราะฉะนั้นพูดได้ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจ ที่ยอดเยี่ยมที่สุดของเมืองไทย "
       
       พระราชเสาวนีย์ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ

เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2524

 

        จากพระราชเสาวนีย์ข้างต้นนั้นจัดได้ว่า เป็นจุดริเริ่มที่ทำให้ประชาชนในท้องถิ่นภาคใต้รู้จักและหันมาสนใจแปรรูป “ย่านลิเภา”หรือ “หญ้าลิเภา”ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่นกันมากขึ้น 

เครื่องจักสานย่านลิเภา เป็นเครื่องจักสานประเภทหนึ่ง ที่สานด้วยย่านลิเภา ซึ่งเป็นพืชตระกูลเฟิร์น หรือ เถาวัลย์ชนิดหนึ่ง (ภาษาท้องถิ่นภาคใต้เรียกเถาวัลย์ว่า “ย่าน”) มีคุณสมบัติที่ดี คือ ลำต้นเหนียว ชาวบ้านจึงนำมา จักสานเป็นภาชนะเครื่องใช้ต่างๆ แหล่งผลิตที่สำคัญ ของเครื่องจักสานย่านลิเภาอยู่ที่บ้านหมน ตำบลท่าเรือ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช และกลายเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ สามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น รวมถึงทำให้เศรษฐกิจของภูมิภาค

"สานต่อทีละเส้นด้วยความปราณีต"

       กว่าที่เราจะได้ผลิตภัณฑ์จากย่านลิเภาสักชิ้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายดายนัก เพราะมีกรรมวิธีและขั้นตอนที่ยุ่งยากซับซ้อนไม่แพ้ง่ายหัตถกรรมชนิดอื่น กระบวนการผลิตเครื่องจักสานย่านลิเภา เริ่มจาก การนำย่านลิเภามาจักผิวเป็นเส้นๆ แล้วชักเรียดให้เส้นเรียบ เสมอกัน จากนั้นนำมาสานขัดกับตัวโครงที่ทำจากหวาย และไม้ไผ่ให้เป็นภาชนะเครื่องใช้ต่างๆ เช่น กระเชอ เชี่ยนหมาก กล่องใส่ยาเส้น พาน ปั้นชา ขันดอกไม้ธูปเทียน กรงนก กระเป๋าถือ เป็นต้น งานจักสานย่านลิเภา นอกจาก จะงดงามด้วยลวดลายของการจักสานแล้ว ยังงดงามด้วย สีผิวธรรมชาติของย่านลิเภา และสีผิวของตอกเส้นยืนที่ทำ จากไม้ไผ่ หรือไม้ลิงโร ทำให้เกิดสีสลับกันงดงาม บางครั้ง ยังเสริมส่วนประกอบด้วยเครื่องถมเงินและถมทอง เพื่อเพิ่ม มูลค่า ความงาม และคุณค่าของเครื่องจักสานย่านลิเภา ให้สูงขึ้น

"ลวดลายท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์"

         เครื่องจักสานย่านลิเภา จัดว่าเป็นงานฝีมือชั้นเยี่ยมของชาวภาคใต้ โดยเฉพาะที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ถือเป็นแหล่งที่มีชื่อเสียง ในงานหัตถกรรมชนิดนี้มากที่สุด มีกำเนิดจากการจักสานย่านลิเภา เป็นข้าวของเครื่องใช้พื้นบ้าน ที่มีเอกลักษณ์สืบทอดจากบรรพบุรุษหลายร้อยปี จนกระทั่งเป็นที่รู้จักของคนเมืองเหลวง เมื่อเจ้านายจากหัวเมืองใต้ นำขึ้นมาถวายในราชสำนักและเผยแพร่ในหมู่เจ้านาย มาตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จนในปี พ.ศ.2513 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถทรงมีพระราชดำริ ให้สอนการสานย่านลิเภาในโครงการศิลปาชีพ มีการพัฒนารูปแบบได้อย่างสวยงามประณีต เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางทั้งระดับท้องถิ่น ภูมิภาค และทั่วประเทศ นอกจากนี้ งานจักสานย่านลิเภา แสดงให้เห็นถึงฝีมืออันประณีต ความอุตสาหะของช่างผู้ผลิต ซึ่งสร้างความภาคภูมิใจให้แก่ ผู้ครอบครอง หรือผู้เป็นเจ้าของอีกด้วย

56,740 views

2

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดนครศรีธรรมราช