คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

อุทยานนกน้ำทะเลน้อย

บรรยากาศดี วิวสวย ของกินอร่อย

  ตำบลทะเลน้อยเป็นตำบลหนึ่งที่ติดต่อกับทะเลน้อย เดิมบ้านทะเลน้อยตั้งอยู่ที่บ้านกล้วยและบ้านกลางทางทิศใต้ของทะเลน้อย แต่เนื่องจากเป็นที่ราบลุ่ม น้ำท่วมทุกปี ทำให้ต้องอพยพมาทางทิศเหนือ(เป็นที่ปัจจุบัน) เมื่อแรกตั้งหมู่บ้านประสบกับปัญหาเรื่องโจรผู้ร้ายและสืบจับยากด้วย เนื่องจากมีแนวเขตติดต่อกับเมืองนครศรีธรรมราชซึ่งมีการกล่าวโทษกันว่า เขตทะเลน้อยในแขวงเมืองนครมีคนตั้งบ้านเรือนมากมาย แต่เกือบไม่มีคนดีเลยในหมู่บ้าน ต่อมาทางราชการได้ย้ายอำเภอปากประ(อำเภอควนขนุน)มาตั้งที่บ้านทะเลน้อย เพื่อสะดวกในการจับผู้ร้าย เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2450 เปลี่ยนชื่อเป็น "อำเภอทะเลน้อย" แต่เนื่องจากเป็นที่ลุ่มไม่เหมาะที่จะตั้งที่ทำการอำเภอ จึงย้ายมาตั้งที่ควนพนางตุงเปลี่ยนชื่อว่า "อำเภอพนางตุง" บ้านทะเลน้อยจึงเป็นเพียงหมู่บ้านและตำบลมาจนถึงทุกวันนี้ ปัจจุบันตำบลทะเลน้อย แบ่งการปกครองเป็น 9 หมู่บ้าน 


ทะเลน้อย
             ในปี พ.ศ.2517 ราษฎรกลุ่มหนึ่งใน หมู่บ้านทะเลน้อย ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ได้ร่วมกันเสนอต่อ นายผ่อง เล่งอี้ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าฝ่ายจัดการสัตว์ป่า กองบำรุง กรมป่าไม้ ขอให้มีการจัดตั้ง "อุทยานนกน้ำทะเลน้อย" เนื่องจากมีการล่านกที่อาศัยอยู่อย่างชุกชุมในพื้นที่ทะเลน้อย ทำให้จำนวนนกที่มีขนาดใหญ่ เช่น นกกาบบัว ลดลงเรื่อยๆ จนเกรงว่าถ้าไม่อนุรักษ์ไว้ นกเหล่านี้จะต้องสูญพันธุ์ในไม่ช้า กรมป่าไม้จึงส่งเจ้าหน้าที่มาสำรวจสถาพพื้นที่และสัตว์ป่าในทะเลน้อย และได้ประกาศให้ทะเลน้อย ซึ่งมีพื้นที่ 17,500 ไร่ และพื้นที่ป่าในบริเวณใกล้เคียงคิดเป็นเนื้อที่รวมกันราว 285,625 ไร่ เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย ตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2518 เป็นต้นมา แต่ชาวบ้านมักเรียกกันติดปากว่า " อุทยานนกน้ำทะเลน้อย " 


ภูมิศาสตร์

       ทะเลน้อย คือ แหล่งน้ำอันต่อเนื่องกับทะเลสาบสงขลา ตั้งอยู่เหนือสุด โดยมีทะเลหลวงในเขตจังหวัดพัทลุงกั้นกลาง และ ทะเลสาบคูขุด อยู่ทางใต้ในเขตจังหวัดสงขลา มีอาณาเขตดังนี้ คือ ทิศเหนือ จดคลองชะอวด อำเภอชะอวด และอำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช ทิศตะวันออก จดทะเลหลวง ทางหลวงหมายเลข 4083 อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช และอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ทิศใต้ จดคลองปากประ อำเภอควนขนุนจังหวัดพัทลุง ทิศตะวันตก จดฝั่งทะเลน้อยด้านตะวันตก อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง และ อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช

        

พืชพรรณ

       พื้นที่ป่าในทะเลน้อยแบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ ป่าพรุ ซึ่งมีพรรณไม้เด่นคือต้นเสม็ด อันเป็นแหล่งทำรังของนกน้ำขนาดใหญ่ เช่น นกกระสาแดงและนกกาบบัว ทุ่งหญ้า ประกอบด้วยต้นกกหรือลาโพ และหญ้าชนิดต่างๆ ป่าดิบชื้น จะพบบนที่ดอน เช่น ควนขี้เสียน ควนเคร็ง เป็นต้น พื้นที่นาข้าว จะเป็นแหล่งหากินของนกน้ำต่างๆ บริเวณพื้นน้ำ จะเป็นแหล่งรวมพืชพรรณไม้น้ำที่น่าสนใจหลายชนิด เช่น กง สาหร่าย กระจูด ผักตบ และบัวชนิดต่างๆ โดยเฉพาะบัวสายจะขึ้นเต็มพื้นน้ำเป็นทะเลบัวที่สวยงามที่สุดในประเทศไทย 



สัตว์ป่า

สัตว์ป่าที่มีรายงานในเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยมีไม่ต่ำกว่า 250 ชนิด โดยเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 13 ชนิด เช่น ลิงแสม เสือปลา และลิงลม เป็นต้น สัตว์เลื้อยคลานอย่างน้อย 25 ชนิด เช่น เต่า ตะพาบน้ำ จิ้งแหลน และงูชนิดต่างๆ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก กุ้ง ปู หอย และสัตว์น้ำอื่นอีกเป็นจำนวนมาก ส่วนพวกปลาน้ำจืดพบไม่ต่ำกว่า 45 ชนิด ปลาที่น่าสนใจและพบได้ไม่ยาก เช่น ปลาช่อน ปลากระดี่ ปลาซิว ส่วนปลาที่น่าสนใจแต่พบตัวได้ยากกว่า เช่น ปลาปักเป้าน้ำจืด และ ปลาเสือพ่นน้ำ เป็นต้น 

ท่องธรรมชาติทะเลน้อย

นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาถึงทะเลน้อยจะมองเห็นตัวทะเลน้อยได้ส่วนหนึ่ง หลังจากเดินเข้าไปภายในเขตฯ แนะนำว่านักท่องเที่ยวที่เพิ่งเดินทางมาทะเลน้อยเป็นครั้งแรกควรจะเข้าไปหาข้อมูลของพื้นที่ใน ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ที่อยู่ริมตลิ่งใกล้ๆ กับประตูทางเข้าเขตฯ จากนั้นจึงเริ่มไปพักผ่อนที่ศาลาท่าเรือ หรือ ลงเรือชมธรรมชาติ เส้นทางศึกษาธรรมชาติของทะเลน้อยแบ่งออกเป็นหลายจุด จากที่ทำการเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางเที่ยวชมได้ดังนี้

1.สะพานไม้รอบที่ทำการฯ สิ่งที่น่าสนใจตามทางเดินเท้าในบริเวณที่ทำการฯ มีดังนี้ นกอีโก้ง นกพริก นกอีล้ำ นกยางควาย จอกหูหนู บัวสาย ปลากระดี่ ปลาช่อน สำหรับต้นกระจูดที่ใช้สำหรับทำหัตถกรรม ทางเขตฯ ได้นำมาปลูกแสดงไว้ใกล้ๆ ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เพื่อให้นักท่องเที่ยวมีโอกาสได้ชมลักษณะดั้งเดิมของต้นกระจูด ก่อนนำไปผ่านขบวนการผลิต ขณะที่ท่านเดินผ่านไปตามเสาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเสาไม้หรือเสาปูน ลองสังเกตดูว่าท่านเห็นวัตถุก้อนสีขาวหรือก้อนสีชมพูบ้างไหม ท่านทราบไหมว่ามันคืออะไร และแตกต่างกันอย่างไร ระหว่างทางเดินท่านจะพบผักตบชวาที่ถูกกั้นอยู่ในกรอบและอาจพบนกอีโก้งหาอาหารกินอยู่ใกล้ๆ กอผักตบชวาเหล่านั้นคือ แหล่งสร้างรังวางไข่ของนกน้ำที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น คือ นกอีโก้ง และ นกพริก และยังเป็นที่หลบภัยของสัตว์น้ำอื่นๆ ด้วย

ศาลากลางน้ำ เป็นจูดที่น่าสนใจและเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวที่นำอาหารกลางวันมารับประทาน ด้วยบรรยากาศที่แวดล้อมไปด้วยความชุ่มฉ่ำของสายลมเย็นท่ามกลางกลุ่มบัวสายและจอกหูหนู มีเสียงกบ เขียด ขับ กล่อมพร้อมกับได้เห็นนกนานาพันธุ์ต่างสีต่างท่าทาง ต่างก็หากินอย่างอิสระ นับเป็นบรรยากาศที่หาได้ยากขึ้นๆ ทุกวัน หากท่านมีเวลามาก ขอแนะนำให้ท่านลงเรือไปชมความงามของทะเลน้อยในจุดอื่นๆ บ้าง

2.หมู่บ้านทะเลน้อย เดิมชาวบ้านมีอาชีพทำนาและทำประมงเป็นหลัก ปัจจุบันชาวบ้านส่วนหนึ่ง (อาจจะถึง 1 ใน 3 ) เดินทางออกไปหางานทำในต่างถิ่น ชาวบ้านที่เหลือก็ยังทำนา ทำประมง ทำหัตถกรรม (เสื่อกระจูด) ค้าขาย และรับจ้างทั่วไป แต่ที่น่าประทับใจก็คือท่านจะพบกับรอยยิ้มและอัธยาศัยไมตรีของชาวบ้านที่มีต่อนักนักท่องเที่ยว

ของฝากจากทะเลน้อย คงหนีไม่พ้นผลิตภัณฑ์จากต้นกระจูดที่เกิดจากฝีมือและความวิริยะอุตสาหะของแม่บ้านชาวทะเลน้อย ไม่ว่าจะเป็น เสื่อ หมวก แผ่นรองจาน แผ่นรองแก้ว กระเป๋า ฯลฯ และ ของฝากที่ขึ้นชื่ออีกอย่างหนึ่งของทะเลน้อยก็คือปลาดุกร้าที่อร่อยแบบสุดจะบรรยาย ต้นตำรับของปลาดุกร้าของแท้ต้องที่ทะเลน้อยเท่านั้น

3.ดงนกนางนวล ในช่วงเดือนตุลาคม-เดือนเมษายน เมื่อเรือออกจากท่าได้ราว 150 เมตร ท่านจะพบฝูงนกนางนวลเกาะอยู่ตามหลักไม้ที่ปักไว้ตามทางเข้าออกของเรือ นกนางนวลที่พบบ่อยในทะเลน้อยมี 2 ชนิด คือ นกนางนวลแกลบดำปีกขาว (Whitewinged Tern) และ นกนางนวลแกลบเคราขาว (Whiskered Tern) ท่านจะพบนกนางนวลแกลบเหล่านี้เกาะพักรวมกันตามไม้ที่ปักไว้ดังกล่าว นกทั้ง 2 ชนิดจะย้ายไปหาอาหารกินที่อื่นนอกช่วงเวลาที่กล่าวไว้ข้างต้น

4.ดงบัวสาย ผ่านจากนกนางนวลเรือจะพาท่านวนไปตามเข็มนาฬิกา จะผ่านไปในดงบัวสาย ดงบัวที่มีสีชมพู บ้านสะพรั่งในช่วงเวลา 8 โมงเช้า เมื่อแดดร้อนแรงขึ้น บัวสายจะเริ่มหุบ และจะบานเต็มที่อีกครั้งหนึ่งในวันรุ่งขึ้น บัวสายเป็นบัวพันธุ์พื้นเมืองที่แพร่กระจายทั่วไปในประเทศไทย ก้านใบสามารถนำมาประกอบอาหารได้ เช่น แกงส้ม ต้มกระทิ ผัดน้ำมัน หรือ ต้มจิ้มน้ำพริกได้ ในบริเวณดงบัวสายท่านอาจพบ นกยางกรอก นกอัญชันคิ้วขาว นกพริก หรือ นกอีแจว เดินหากินอยู่บนใบบัว ท่านสงสัยไหมว่าทำไมนกเหล่านั้นจึงเดินบนใบบัว หรือพืชน้ำ เช่น จอก แหนได้ ลองสังเกตดูความยาวของนิ้วเท้าของนกเหล่านั้นให้ดี

5.ดงนกเป็ดน้ำ นกเป็ดน้ำเป็นนกมีปีก มันบินได้และเคลื่อนย้ายที่อยู่เสมอ ส่วนมากจะพบได้ตามดงกระจูดหนูที่ไม่หนาแน่น ตามดงบัวสาย หรือ บัวหลวง นกเป็ดน้ำที่พบได้ตลอดปี คือ นกเป็ดแดง และ เป็ดคับแค (ยกเว้นเดือนสิงหาคม-ต้นเดือนตุลาคม จะเป็นช่วงที่นกเป็ดน้ำผลัดเปลี่ยนขนจะพบได้ยาก) ส่วนเป็ดลาย และเป็ดชนิดอื่นๆ จะเป็นเป็ดที่อพยพมาจากทางตอนเหนือของทวีปเอเชียพบได้เฉพาะในช่วงเดือนธันวาคม-ต้นเดือนมีนาคม ส่วนมากเราจะเข้าใกล้ฝูงนกเป็ดน้ำได้ไม่มากนัก นกจะบินหนีขึ้นพร้อมๆกันครั้งละเป็นพันๆตัว พร้อมกับเสียงกระพือปีกพรึบพรับเป็นที่น่าตื่นตาตื่นใจมาก ส่วนใหญ่คนขับเรือจะรู้ว่าจะพบนกเป็ดน้ำได้ที่ไหน

6.ดงกระจูดหนู เป็นพืชน้ำที่พบได้มาก มักขึ้นอยู่หนาแน่นเป็นกลุ่มใหญ่ๆ เป็นที่หลบภัยของนกและสัตว์น้ำ กระจูดหนูเป็นพืชที่มีลำต้นเปราะบาง ไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้เป็นวัสดุในการทำเครื่องใช้ การจังต้องต้นกระจูดหนูควรระมัดระวัง ต้นเปราะและคมอาจบาดมือท่านได้ ต้นอ่อนของกระจูดหนูเป็นอาหารของนกอีโก้งและปลาบางชนิด ที่ว่างๆในดงกระจูดหนูท่านอาจพบเป็ดคับแค หรือ สาหร่ายข้าวเหนียว พืชมีดอกไม่ใช่สาหร่ายแต่เราไปเรียกมันว่าสาหร่าย สาหร่ายข้าวเหนียวมีดอกเล็กๆสีเหลือง เป็นพืชพิเศษชนิดหนึ่งที่สามารถจับสัตว์น้ำขนาดเล็กกินเป็นอาหารได้ โดยใช้กระเปาะเล็กๆที่มีอยู่มากมายใต้น้ำเป็นกับดักจับ ลองหยุดเรือแล้วพิจารณาดูลักษณะของกระเปาะดังกล่าว

7.ศาลานางเรียม ตั้งอยู่ในบริเวณปากคลองนางเรียม เป็นศาลาที่ปลูกสร้างขึ้นกลางน้ำขนาดกลาง รับน้ำหนักได้ราว 30 คน ศาลาน้ำเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวนิยมมารับประทานอาหารกลางวัน ด้วยว่ามีบรรยากาศร่มรื่น ลมเย็นสบาย (ที่สำคัญมีห้องสุขาไว้บริการ) รอบๆบริเวณศาลามีพันธุ์ไม้ที่น่าสนใจหลายชนิด เช่น บัวหลวงที่อยู่ทางด้านทิศเหนือจะมีสีขาว ส่วนทางทิศใต้จะมีสีชมพู ทางทิศตะวันตกจะพบต้นเตยน้ำหลายต้นขึ้นรวมกลุ่มกันเป็นดงใหญ่ ในตอนใกล้ค่ำนกกระยางควายจะมาอาศัยนอนและถ่ายมูลทิ้งไว้เป็นหลักฐาน

8.คลองนางเรียม เป็นคลองดั้งเดิม 1 ใน 3 คลองสำคัญ และเป็นคลองสุดท้ายที่ยังมีน้ำไหลสะดวกไม่ตื้นเขินเช่นคลองดั้งเดิมอื่นๆ แต่เดิมทะเลน้อยเคยมีจระเข้อาศัยอยู่ค่อนข้างชุกชุม และคลองนางเรียมก็เป็นคลองที่มีจระเข้ชุกชุมเช่นกัน เป็นที่น่าสนใจว่าปัจจุบันจระเข้เหลือเป็นเพียงตำนานให้เล่าขานกับเท่านั้น คลองนางเรียมมีความยาวประมาณ 2 กิโลเมตรเศษ ไหลไปออกทะเลสาบสงขลา ชาวบ้านใช้คลองนี้เป็นทางสัญจรระหว่างทะเลน้อยกับหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ริมทะเล สองฝั่งคลองนางเรียมยังมีพันธุ์ไม้หลายชนิดปรากฏให้เห็น เช่น ต้นลำพู ต้นกุ่มน้ำ จิกพรุ เสม็ดขาว บัวสาย บัวลินจง

9.แหลมดิน เมื่อจะพ้นคลองนางเรียมทางขวามือเป็นทุ่งโล่งมีหญ้าสั้นๆขึ้นเขียวขจี โดยเฉพาะในฤดูฝนก่อนที่น้ำจะหลากท่วมราว 1-2 เดือน เมื่อพ้นคลองนางเรียมมาแล้วจะออกสู่ทะเลสาบ เราสามารถหาที่จอดเรือแล้วขึ้นฝั่งไปเดินบนดินได้ แหลมดินเป็นจุดดูนกน้ำและนกชายเลนได้เป็นอย่างดี มีนกเด่นๆ เช่น นกตีนเทียน นกช้อนหอยขาว นกหัวโตหลังจุดสีทอง และ นกแอ่นทุ่งใหญ่ เป็นต้น ถ้าโชคดีอาจได้พบนกกาบบัว หรือ นกตะกรุม เดินหากินอยู่บ้างก็ได้

10.ดงบัวบา จากแหลมดินคนขับเรือจะนำท่านเข้าสู่คลองบ้านกลางและกลับเข้าสู่ตัวทะเลน้อยอีกครั้งหนึ่ง ถ้าท่านสังเกตสักนิด ขณะที่เรือแล่นผ่านดงกระจูดหนูหรือที่ว่างๆท่านอาจจะเห็นบัวชนิดหนึ่งที่มีดอกสีขาวเล็กๆมีเกสรสีเหลือง นั่นแหละ บัวบา หรือ ชบาน้ำ บัวที่แปลกไปจากบัวชนิดอื่นที่ท่านเคยรู้จักมา ลองบอกให้คนขับเรือหยุดเรือ แล้วพิจารณาดูการเกิดดอก การแตกใบว่าแตกต่างจากบัวสายหรือบัวหลวงที่ท่านรู้จักมาก่อนหรือไม่

11.ผืนน้ำกว้าง หลังจากหาคำตอบจากบัวบาได้แล้วก็ถึงเวลาที่จะกลับที่ทำการฯ (ท่าเรือ) ทะเลน้อยช่วงนี้จะเป็นผืนน้ำกว้างและค่อนข้างลึก (1-2 เมตร) ไม่ค่อยมีพืชน้ำ ถ้าดูให้ดีจะเห็นเป็ดผีว่ายน้ำดำผุดดำว่าย หาอาหารกินอยู่ไม่ไกลนัก ตามหลักไม้ที่มีผู้ปักทิ้งไว้มักจะพบนกกาน้ำเล็ก (ตัวสีดำ) เกาะกางปีกผึ่งแดดหลังจากดำน้ำหาปลากินจนอิ่มแล้ว ถ้าท่านเหนื่อยแล้วก็ลองนั่งหลับตานึกดูซิว่าการนั่งเรือเที่ยวในครั้งนี้ท่านได้ความรู้อะไรบ้าง หรือถ้าเหนื่อยนักก็นั่งหลับได้เลย หลับสักงีบเล็กๆแต่ระวังอย่าลืมตัวตกน้ำไปก็แล้วกันน่ะค่ะ

 

6,297 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดสงขลา