คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

เจ้าจอมคำแว่น

เจ้าจอมคำแว่น เจ้าจอมพระองค์แรกแห่งต้นราชวงค์จักรี

ร้อยเรื่องเมืองหนองคาย ตอนเจ้าจอมคำแว่น

เจ้าจอมคำแว่น เดิมชื่อ นางคำแว่นเป็นธิดาของเพี้ยเมืองแพน ชาวเมืองพานพร้าว (ปัจจุบันคือ ต.พานพร้าว อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย) นางเกิดเมื่อปี ๒๓๑๒ เมื่อเจริญวัยขึ้นบิดาได้นำเข้าถวายตัวเป็นนางพระกำนันในมเหสีของพระเจ้าศิริบุญสารของเมืองเวียงจันทน์ ครั้งปี ๒๓๒๑ เกิดสงครามระหว่างกรุงธนบุรีและนครหลวงเวียงจันทน์ สมเด็จพระเจ้าตากสิน ได้มีพระราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ ศึกและเจ้าพระยาสุรสีหนาถ นำกองทัพจากกรุงธนบุรีขึ้นมาตีเมืองจันทน์ เมื่อกองทัพมาถึงเมืองพานพร้าว อยู่ทางขวาของลำน้ำโขงตรงข้ามเมืองเวียงจันทน์ ท่านจึงได้หยุดและตั้งทัพหลวง ณ เมืองพานพร้าว บริเวณนี้จึงเรียกว่า ค่ายพานพร้าว ระหว่างศึกนั้นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้พบรักกับนางคำแว่นธิดาของเพี้ยเมืองแพน จึงได้ขอนางจากเพี้ยเมืองแพนเพื่อเป็นอนุภรรยา เพี้ยเมืองแพนจึงยอมยกนางคำแว่นให้เพื่อยอมเป็นไมตรีกับสยาม เมื่อเสร็จศึกเวียงจันทน์ กองทัพสยามได้กวาดต้อนพระบรมวงศานุวงศ์จากเวียงจันทน์และไพร่พลจากเวียงจันทน์พานพร้าว พร้อมทั้งพระแก้วมรกต พระแทรกคำ ลงไปยังกรุงธนบุรี นางคำแว่นได้ตามสามีลงไปกับกองทัพในครานั้นด้วย เมื่อถึงกรุงธนบุรีด้วยความของนางจึงทำให้มีเรื่องทะเลาะเบาะแว้งคำคุณหญิงอยู่บ่อยครั้ง

ครั้งเมื่อสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกปราบดาภิเษกขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชแล้ว ได้แต่งตั้งนางคำแว่นให้เป็นเจ้าจอมคำแว่น เจ้าจอมคนแรกในราชวงศ์จักรี นางเป็นที่เคารพยำเกรงของชาววังและสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเป็นอันมาก จนขนานนามของนาง ว่า “คุณเสือ” เนื่องด้วยความกล้าหาญของนาง ด้วยครั้งที่รัชกาลที่๑ ทรงอยากที่จะเสวยไข่เหี้ยย่างไฟ กับมังคุด แต่ในช่วงนั้นตัวเหี้ยไม่ได้วางไข่ทหารจึงหาไม่ได้ เจ้าจอมคำแว่นจึงเข้าครัว นำเอาแป้งข้าวเหนียวมาใส่ไส้ถั่วเขียวปั้นให้เป็นรูปร่างเหมือนไข่เหี้ย นำไปทอดในน้ำมันแล้วคลุกเกลือกับน้ำตาล นำขึ้นทูลเกล้าให้เสวยกับมังคุดแทนไข่เหี้ย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพอพระทัย จึงเรียกขนมที่เจ้าจอมคำแว่น ทำขึ้นถวายว่า “ขนมไข่เหี้ย” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา ฝีมือการเรือนด้านการทำอาหารของเจ้าจอมจากเมืองพานพร้าวเป็นที่เลื่องลือยิ่งนัก ครั้งสร้างวัดพระแก้วเสร็จใหม่ เจ้าจอมคำแว่นก็เป็นผู้ปรุงน้ำยาขนมจีนเลี้ยงพระตลอดทั้งงานพิธีเฉลิมฉลองในครั้งนั้น

แต่เจ้าจอมคำแว่นเป็นหญิงที่อาภัพนัก เพราะทรงไม่สามารถมีพระราชโอรส หรือพระราชธิดากับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเลยสักพระองค์เดียว ครั้งปี พ.ศ.๒๓๕๐ นางก็สิ้นพระชนม์ลง อัฐิของนางได้ถูกนำมาบรรจุไว้ ณ เมืองพานพร้าว เรียกว่า ธาตุนางเขียวค่อม (เขียวค่อม คือ คำเรียกขานสตรีในอุดมคติของล้านช้าง) และศึกระหว่าง สยามและเวียงจันทน์ในครั้งนั้นจึงเรียกกันว่า “ ศึกนางเขียวค่อม” เพื่อเป็นเกียรติยศให้แก่เจ้าจอมคำแว่น เจ้าจอมชาวเมืองพานพร้าว ที่ได้สร้างคุณงามความดี เชื่อมสัมพันธไมตรีระหว่างสยามกับล้านช้างในครั้งนั้น หนึ่งนารีผู้มีคุณของชาวหนองคายที่อยากให้ชาวโลกได้ได้จดจำวีรกรรมของนาง เจ้าจอมคำแว่น

5,068 views

1

แบ่งปัน