คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

มนต์ขลังแห่งนครพิงค์

เรื่องราวการเดินทางไปกราบสักการะพระธาตุดอยสุเทพ โดยเล่าผ่านสถานที่ระหว่างทางที่มีความสำคัญก่อนขึ้นไปถึงบริเวณวัดพระธาตุดอยสุเทพ

 “เชียงใหม่น่ะหรือ มีอะไรที่น่าสนใจเป็นสิ่งที่ในใจของเรานึกขึ้นมา แต่เมื่อลองมาไตร่ตรองให้ดีสถานที่สำคัญก็มีมิใช่น้อย เมื่อคิดได้ดังนั้นเราจึงมุ่งหน้าสู่จังหวัดเชียงใหม่ เมืองที่เข็มนาฬิกาหมุนตามไม่ทัน เพื่อมาหาความหมายในสิ่งที่อยากรู้ ในสิ่งที่อยากเห็นกับเมืองที่โอบล้อมด้วยขุนเขาและธรรมชาติแห่งวัฒนธรรม

 สิ่งแรกที่เรานึกถึงเมื่อเดินทางมาจังหวัดเชียงใหม่ คือ การมากราบสักการะพระธาตุดอยสุเทพ อันเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวทางจิตใจที่อยู่คู่บ้านคู่เมืองมาตั้งแต่ในอดีตกาลของชาวเชียงใหม่ โดยสองฟากฝั่งก่อนการเดินทางขึ้นไปยังดอยสุเทพ จะผ่านย่านเศรษฐกิจที่สำคัญ ผ่านตัวเมืองเชียงใหม่ที่มีผู้คนเดินกันขวักไขว่ดั่งท้องฟ้ายามราตรีที่ไม่เคยหลับใหล เมื่อพ้นผ่านย่านเศรษฐกิจก็ได้เดินทางตามทางหลวงหมายเลข ๑๐๐๔ มายังถนนห้วยแก้วผ่านสถานศึกษา ที่มีความสำคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดและนับได้ว่าเป็นมหาวิทยาลัยหัวเมืองแห่งแรกของประเทศไทยที่มีการจัดตั้งขึ้นในแผ่นดินล้านนา ชาวเมืองเชียงใหม่และผู้คนทั่วไปต่างเรียกขานกันว่า "มหาวิทยาลัยเชียงใหม่"

จากนั้นจึงเดินทางต่อไป ระหว่างทางที่ขึ้นไปบริเวณตีนเขาก็จะพบเจอกับต้นไม้น้อยใหญ่ที่คอยให้ความเย็นสบาย ความสดชื่น ให้ร่มเงาเมื่อยามที่แสงแดดสาดแสงส่องลงมา พร้อมทั้งเสียงคลอเคล้าของนกนานาชนิดที่บินโอบล้อมรอบ ทำให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย เมื่อเดินทางไปได้ในระยะหนึ่งจะเห็นทางที่มีความคดเคี้ยวเพิ่มมากขึ้น จากถนนด้านล่างที่แบ่ง อาณาเขต ๔ เลนพร้อมเกาะกลางถนน เมื่อขึ้นมาด้านบนเรื่อยๆจะกลายเป็นถนน ๔ เลนที่มีเพียงเส้นทึบสีเหลืองแบ่งอาณาเขตเท่านั้น ทำให้เราต้องระมัดระวังการเดินทางมากยิ่งขึ้น

ถึงแม้ว่าจุดหมายปลายทางของเราจะอยู่ที่พระธาตุดอยสุเทพแต่ระหว่างทางก็มีความน่าสนใจเสมอเฉกเช่นเดียวกับการที่เราเห็นอนุสาวรีย์พระครูบาศรีวิชัยที่อยู่บริเวณทางด้านซ้ายมือขณะที่เรากำลังเดินทางจะขึ้นไปสักการะพระธาตุ

ดอยสุเทพ จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะไม่ลงไปกราบไหว้รูปปั้นเหมือนของนักบุญแห่งล้านนาไทยท่านนี้ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการอำนวยความสะดวกเรื่องการเดินทางเพื่อขึ้นไปสักการะพระธาตุดอยสุเทพ เนื่องจากในอดีตมีความยากลำบากในการเดินทางเพื่อขึ้นไปสักการะพระธาตุ พระครูบาศรีวิชัยจึงได้เป็นผู้ริเริ่มดำเนินการสร้างถนนขึ้นสู่พระธาตุดอยสุเทพ โดยมีเจ้าแก้วนวรัฐ ผู้ครองนครเชียงใหม่ในสมัยนั้นเป็นผู้เริ่มขุดดินด้วยจอบปฐมฤกษ์ในการสร้างถนนเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2477 ต่อมาได้มีชาวบ้านที่มีพลังศรัทธาและเลื่อมใสในตัวของครูบาศรีวิชัยจากทั่วสารทิศมาร่วมมือกันสร้างถนนจนแล้วเสร็จเมื่อวันที่30 เมษายน 2478 ถนนเส้นนี้จึงได้ตั้งชื่อว่าถนนศรีวิชัย หรือถนนทางขึ้นดอยสุเทพและได้เปิดใช้เป็นครั้งแรกตั้งแต่นั้น เป็นต้นมา

หลังจากที่เราได้ไปกราบสักการะรูปปั้นเหมือนของพระครูบาศรีวิชัยเรียบร้อยแล้ว ก็มุ่งหน้าสู่พระธาตุดอยสุเทพ อันเป็นจุดหมายของเราในครั้งนี้ โดยระหว่างทางที่ไปจะพบกับจุดชมวิวเป็นระยะๆทั้งทางด้านซ้ายและด้านขวา รวมถึงต้นไม้ ที่ยืนต้นเรียงรายราวกับยืนเคารพขุนเขาที่โอบล้อมไปด้วยความสุขแห่งแสงสุริยาทิตย์ และจะพบกับโค้งของขุนเขาเป็นระยะๆ เมื่อถึงโค้งสุดท้ายก่อนจะถึงวัดที่ประดิษฐานพระธาตุดอยสุเทพจะพบโค้งที่มีความชันและหักศอกมากที่สุดกว่าทุกโค้งที่พบเจอมาระหว่างทาง ชาวเชียงใหม่ขนานนามให้ว่า โค้งขุณกัณ เมื่อพ้นโค้งนี้ไปแล้วก็จะเข้าสู่วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร โดยบริเวณตรงข้ามด้านหน้าวัดจะมีการขายอาหารและสิ่งของที่ระลึกต่างๆ ตรงบริเวณทางเดินเข้าทั้งสองฝั่งจะมีศาลา พระครูบาศรีวิชัยภายในจะเป็นการนำภาพพร้อมทั้งคำบรรยายเกี่ยวกับประวัติของพระครูมาจัดแสดง เพื่อให้นักท่องเที่ยว ที่ขึ้นมานมัสการได้มาอ่านประวัติของนักบุญแห่งล้านนาไทยที่มีความสำคัญต่อพระธาตุดอยสุเทพแห่งนี้และเหนือขึ้นไปบนศาลาจะมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ทั้งสองฟากฝั่งให้ได้กราบสักการะ

บริเวณทางขึ้นไปบนองค์พระธาตุจะเห็นพญานาคทั้ง ๒ ฟากฝั่งของบันไดที่มีความยาวกว่า ๓๐๖ ขั้น และเมื่อขึ้นไปถึงด้านบนก็จะพบกับสถานที่ปฏิบัติธรรมของพระสงฆ์และองค์พระธาตุตั้งตระหง่านอยู่บริเวณใจกลางสถานที่ของวัด

โดยวัดพระธาตุดอยสุเทพมีตำนานกล่าวไว้ว่า พระเจ้ากือนาธรรมิกราชทรงแยกพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น ๒ ส่วน โดยองค์หนึ่งอัญเชิญบรรจุไว้ที่พระธาตุวัดสวนดอก ส่วนอีกองค์หนึ่งได้เชิญขึ้นบนหลังช้างมงคล โดยพระเจ้ากือนาธรรมิกราชได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า ช้างเชือกนั้นหยุดลง ณ ที่ใด จะให้สร้างพระธาตุขึ้น ณ ที่แห่งนั้น ซึ่งช้างเชือกดังกล่าวได้มาหยุดที่ พระธาตุดอยสุเทพแห่งนี้ และได้ทำการทักษิณาวรรต ๓ รอบก่อนที่จะล้มลง ดังนั้นพระเจ้ากือนาจึงทรงรับสั่งให้สร้าง พระบรมธาตุ อันเป็นที่ประดิษฐานองค์พระบรมสารีริกธาตุ ณ ยอดดอยสุเทพอยู่คู่ฟ้าดินเชียงใหม่มานับแต่บัดนั้น

หลังจากที่ได้สักการะพระธาตุดอยสุเทพเรียบร้อยก็ให้นึกถึงความน่าสนใจของสถานที่ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากทั้งต่อคนในพื้นที่รวมถึงนักท่องเที่ยวอย่างเราว่าการท่องเที่ยวมิจำเป็นต้องทันสมัยเพียงอย่างเดียว บางครั้งเรื่องเล่า รากเหง้าและความเป็นประวัติศาสตร์ก็สามารถทำให้เรามีความสุขได้โดยไม่ต้องทะเยอทะยานอีกด้วย

 

   

5,040 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดเชียงใหม่