คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

เยื้องย่าง ณ น่านนคร

นครแห่งความเรียบหรู ที่ควรให้ 1 วันมีมากกว่า 24 ชั่วโมง

จะว่าไปมีน้อยเมืองเหลือเกินในประเทศไทยที่เหมาะแก่การเดินเหินหรือปั่นจักรยานเพื่อสัญจรหรือท่องเที่ยวเข้านอกออกในไปตามตรอกแล้วแต่ห้วงอารมณ์จะถวิลหาหรือพาไป หลายเมืองต้องใช้รถยนตร์หรือรถโดยสารสาธารณะเป็นหลักในการเดินทางเพื่อสัญจรหรือท่องเที่ยว ซึ่งวิธีการดังกล่าวชวนให้ขาดไร้ซึ่งมนต์เสน่ห์และรสนิยมในกับสัมผัสกับความดั้งเดิมอันเป็นรสวิถีของชุมชน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเมืองที่สามารถเดินหรือใช้จักรยานในการรับรสดื่มด่ำกับบรรยากาศของเมืองได้อย่างเป็นเรื่องปกติและปลอดภัยเรามักจะคุ้นชินหรือพบเห็นแต่ในต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ เช่น เมืองบรู๊จ (Brugge) ในประเทศเบลเยี่ยม หรือนครเกียวโต ของประเทศญี่ปุ่น ต่างก็เป็นเมืองที่สามารถเดินไปได้เรื่อย ๆ และก็มีสถานที่ท่องเที่ยวให้เราได้พบเห็นเป็นระยะ ๆ ให้เราได้แวะถ่ายภาพ หรือพักเหนื่อยเพื่อชื่นชมความงามของบริเวณโดยรอบ ซึ่งเมืองในลักษณะดังกล่าวมีเพียงไม่กี่เมืองที่เราจะพบเห็นได้ในประเทศไทย ซึ่งจากการที่ผมได้ไปสัมผัสเมืองมาในหลาย ๆ จังหวัดของประเทศไทย พบว่าเมืองที่เหมาะแก่การเดินทอดน่องหรือปั่นจักรยานเพื่อเยี่ยมเยือนสถานที่ต่าง ๆ ในเมืองที่ดีที่สุดของประเทศไทยเสมือนเดินอยู่ในเมืองบรู๊จ หรือเกียวโต คือ "อำเภอเมืองน่าน" จังหวัดน่าน 

ฉันเริ่มเดินทางออกจากท่าอากาศยานน่านนคร สนามบินเล็ก ๆ ของจังหวัด ที่มีไม่กี่เที่ยวบินในแต่ละวัน สัมผัสแรกที่ทาบทาเข้ามาเมื่อเข้าถึงตัวเมืองน่าน คือความตลบอบอวนไปด้วยกลิ่นอายของงานศิลปะและวัฒนธรรมที่ได้แสดงออกผ่านโบราณสถาน วัดวาอารามงามเรียงราย งานสถาปัตยกรรมของบ้านเรือน และงานงานศิลปะในทุกแขนง ฉันเริ่มต้นเข้ากราบถวายบังคมอนุสาวรีย์พระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดช อดีตเจ้าผู้ครองนครน่าน ณ ลานหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน ก่อนเข้าไปต่อที่อาคารพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติน่าน ซึ่งอาคารแห่งนี้ฉันสัมผัสได้ถึงเรื่องราวที่บ่งบอกรากเหง้าและความเป็นมาของนครที่เรียบหรูแห่งนี้ ด้วยเคยใช้เป็นที่ประทับของเจ้าผู้ครองนคร หรือที่เรียกว่า "หอคำ" ซึ่งความโดดเด่นของงานสถาปัตยกรรมของอาคารแห่งนี้คือการตกแต่งด้วยลายปูนปั้นที่อ่อนช้อยเป็นงานศิลปะที่ผสมผสานความเป็นล้านนาออกมาอย่างสวยงาม ซึ่งภายในนอกจากจะเต็มไปด้วยโบราณวัตถุที่บอกเล่าความเป็นมาด้านชาติพันธุ์แล้ว สถานที่แห่งนี้ยังเป็นที่เก็บ "งาช้างดำ" ซึ่งพาดวางอยู่บนตัวครุฑสีน้ำเงินปีกทองแบกรับไว้ อันเป็นวัตถุโบราณที่ทรงคุณค่าคู่บ้านคู่เมืองชาวน่านมาอย่างยาวนาน

เดินออกมาจากด้านหน้าอาคารพิพิธภัณฑ์เพียงไม่กี่ก้าวก็จะพบกับอุโมงค์ดอกลีลาวดีหรือจำปาลาว ซึ่งตอนนี้ดอกดวงได้ร่วงโรยไปแล้วและรอการผลิบานในฤดูกาลถัดไป หันกลังจากตรงนี้ก้าวเดินไปยังเบื้องหน้าราว 5 นาที สิ่งที่ปรากฏอยู่เบื้องหน้า คือ สถานที่สำคัญอันเปรียบเสมือนสัญลักษณ์อันน่าพิศชมของน่าน นั่นก็คือวิหาร "วัดภูมินทร์" สถานที่เก็บงานศิลปะอันเลื่องชื่อภาพกระซิบรักบรรลือโลก "ปู่ม่าน ย่าม่าน" ภาพวาดโบราณในยุคหลายร้อยปีล่วงมาแล้วที่ได้รับการยอมรับว่าประณีต มีมิติ งดงาม และลงตัว โดยเป็นภาพชายหญิงคู่หนึ่งกำลังกระซิบสนทนากันด้วยท่าทางที่ชวนเป็นปริศนาว่าอะไรคือสารแห่งการกระซิบกระซาบนั้น 
 

เมื่อถึงคราวโพล้เพล้พลบค่ำ ถึงเวลาที่การเนรมิตลานหน้าวัดภูมินทร์ตลอดจนรอบ ๆ อาณาบริเวณให้กลายเป็น walking street หรือถนนคนเดิน ซึ่งความแตกต่างจากถนนคนเดินโดยทั่วไปที่พบเห็นกันดาษดื่นตามเมืองต่าง ๆ ของไทย คือ ถนนคนเดินของเมืองน่านจะคราค่ำไปด้วยเวทีงานแสดงศิลปวัฒนธรรม ผลิตภัณฑ์ของชุมชนที่เป็นสัญลักษณ์และต้องมีเฉพาะที่น่านจริง ๆ ตลอดจนถึงอาหารพื้นเมืองที่สามารถนำมารับประทานแบบขันโตกของล้านนายังบริเวณ "ข่วง" หรือลานกว้างหน้าวัดภูมินทร์ที่ปูเสื่อรอต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองทุกหมู่เหล่าด้วยไมตรีจิตไว้แล้ว พร้อมกับการแสดงอันสะท้อนถึงอารยะและรากเหง้าอันยาวนานของชาวน่านผ่านการฟ้อนรำ และการบรรเลงดนตรีสะล้อ ซอ ซึง อันเป็นเสมือนวงซิมโฟนีออเครสต้าแห่งล้านนา ที่เมื่อได้สดับรับฟังแล้วชวนลุ่มหลงให้อ่อนไหวหรือล่องลอยไปตามท่วงทำนอง

รุ่งเช้าวันถัดมาฉันพบว่ายัังมีหลายวัดเหลือเกินที่ยังไม่มีโอกาสได้ก้าวเดินไปเพื่อกราบไหว้และเชยชมงานศิลปะ สถานที่ทางประวัติศาสตร์และสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญอีกหนึ่งแห่งของน่านคือ "วัดพระบรมธาตุแช่แห้ง" วัดที่สะท้อนให้เห็นถึงศิลปะเฉพาะของช่างฝีมือชาวน่านอย่างแท้จริง ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบองค์พระธาตุ โดยการบุรอบองค์พระธาตุด้วยทองจังโก ในส่วนของทางเดินเพื่อเยื้องย่างขึ้นสู่องค์พระธาตุนั้นประกอบไปเป็นตัวพญานาคทอดตัวเหยียดยาวตั้งหน้าบันเหนือประตูทางเข้าไปถึงยังบริเวณพระธาตุซึ่งลักษณะของการปั้นจะเป็นลายนาคเกี้ยว โดยชาวเมืองน่านมีความเชื่อกันว่าการได้เดินทางไปสักการบูชากราบไหว้นมัสการองค์พระธาตุแช่แห้งนั้นจะทำได้รับอานิสงค์อย่างแรงกล้า ทำให้ชีวิตอยู่ดีมีสุข แต่ทว่าคือกุศโลบายอันแยบคายของคนโบราณที่มุ่งหมายให้ผู้คนตั้งมั่นในความดีอยู่ในกรอบศีลธรรม และลดทอนการไม่เบียดเบียนกัน ฉันรู้สึกว่าการใช้ชีวิตในน่านนั้นผ่านไปอย่างรวดเร็วเกินไป ชีิวิตวิถีแบบ Slow life นั้นดูจะเป็นเรื่องจริงที่น่าน แต่การใช้ชีวิตอย่างเชื่องช้าของที่นี่นั้นไม่ใช่การทำทุกสิ่งให้เชื่องช้าเพื่อประชดกาลเวลา แต่เป็นความเชื่องช้าเพื่อพินิจพิเคราะห์ในรายละเอียดของการใช้ชีวิตให้มีความประณีตบรรจง เพราะสิ่งรอบตัวนั้นเต็มไปด้วยคุณค่าที่อาจสร้างสรรค์ให้เกิดมูลค่า ซึ่งการใช้ชีวิตด้วยอากัปกิริยาของการเร่งรีบตามยุคกระแสนั้นไม่อาจเข้าถึงได้ สำหรับฉันการใช้ชีวิตในน่านนครจะดีกว่านี้ หาก 1 วันมีมากกว่า 24 ชั่วโมง

3,291 views

0

แบ่งปัน