คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

แม่ฟ้าหลวงของแผ่นดิน

แนะนำส่วนหนึ่งจังหวัดเชียงรายผ่านโครงการในพระราชดำริของสมเด็จย่า

                คงไม่มีใครไม่รู้จักบุคคลในภาพนี้ นี่คือภาพของสมเด็จย่า ผู้ที่เป็นเสมือน “แม่” ของประชาชนชาวไทยทุกคน จากภาพ เราจะสัมผัสได้ถึงความเมตตาของพระองค์ท่านผ่านทางสายพระเนตรที่ทอดมองไปยังประชากรของพระองค์ พระองค์มิได้ทรงเป็นแต่เพียง “สมเด็จแม่” ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 เท่านั้น หากยังทรงเป็น “แม่ฟ้าหลวง” ของประชาชนชาวไทยทุกคนด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งของพี่น้องชาวเชียงราย จังหวัดซึ่งเป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ซึ่งตั้งชื่อตามพระองค์ท่าน และเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์ในภาพนี้ จังหวัดที่มีความผูกผันอย่างมากกับสมเด็จย่า และเป็นจังหวัดที่สมเด็จย่าทรงพระราชทานความช่วยเหลือนานัปการ  จนทำให้กลายเป็นจังหวัดเชียงรายที่ประชาชนหลากหลายชาติพันธุ์สามารถอาศัยอยู่รวมกันได้อย่างมีความสุขในทุกวันนี้

                จังหวัดเชียงรายเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่เหนือที่สุดของประเทศไทย มีชายแดนติดกับประเทศพม่า และลาว ที่เรียกว่า “สามเหลี่ยมทองคำ” ซึ่งเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากของจังหวัด สภาพภูมิประเทศของจังหวัดนี้โดยส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงและสลับซับซ้อน และมีกลุ่มชาติพันธุ์อาศัยอยู่มากถึง 30 ชนเผ่า ในอดีต ด้วยสภาพภูมิประเทศที่ไม่อุดมสมบูรณ์ ประกอบกับการมีกลุ่มชาติพันธุ์จำนวนมาก ทำให้ประชากรเหล่านี้มีฐานะยากจน ในบรรดาเทือกเขาสูงเหล่านั้น  “ดอยตุง” เป็นดอยหนึ่งซึ่งมีกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ อาศัยอยู่ ถึง 6 ชนเผ่า แต่เดิมชาวบ้านบนดอยตุงไร้ซึ่งสัญชาติ ไม่มีสาธารณูปโภคพื้นฐานและขาดการช่วยเหลือจากรัฐบาล ทำให้ชาวบ้านต้องใช้ชีวิตอย่างยากลำบาก ปลูกพืชเสพติดคือฝิ่นและทำไร่เลื่อนลอยเพื่อหาเลี้ยงชีพ ซึ่งการปลูกฝิ่นนั้นเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย และการถางป่าเพื่อทำไร่เลื่อนลอยก็เป็นการทำลายสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ซึ่งการกระทำทั้งสองอย่างนี้ อาจจะให้ผลตอบแทนในระยะสั้น แต่ส่งผลเสียในระยะยาวแก่ชาวบ้านและประเทศในภาพรวม

                ในปี พ.ศ.2530 สมเด็จย่าได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนดอยตุงเป็นครั้งแรก และทรงเห็นถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับชาวบ้านดอยตุง จึงทรงมีพระราชดำริให้จัดตั้งโครงการที่จะนำผืนป่ากลับคืนสู่ดอยตุง เพื่อฟื้นฟูสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และช่วยให้ชาวบ้านที่ยากจนและขาดโอกาสในการดำรงชีวิตได้หลุดพ้นจากปัญหานี้ และถึงแม้ว่าชาวบ้านบนดอยตุงนั้นจะไม่ใช่คนไทย หากเป็นคนชาติพันธุ์อื่น แต่สมเด็จย่าก็มิได้ทรงกีดกันหรือขับไล่ ในทางกลับกัน ทรงพระราชทานความหวังและโอกาสในการที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแก่ชาวบ้านโดยถ้วนหน้า

                โครงการที่ได้ทรงพระราชดำริขึ้นนั้นมีชื่อว่าโครงการพัฒนาดอยตุง เป็นโครงการที่มุ่งเน้นเพื่อที่จะให้ชาวบ้านดอยตุงสามารถเลี้ยงตนเองได้ โดยไม่ต้องรอพึงพางบประมาณหรือความช่วยเหลือจากรัฐบาล กิจกรรมของโครงการประกอบด้วยการอบรมให้ความรู้ด้านสาธารณสุขแก่ชาวบ้าน การอบรมด้านการประกอบอาชีพที่สุจริต และการหาตลาดสำหรับผลผลิตของพวกเขาโดยการจัดตั้งแบรนด์ดอยตุงขึ้นเพื่อเป็นช่องทางในการสร้างรายได้แทนการปลูกฝิ่น  รวมถึงสนับสนุนการปลูกป่าเพื่อนำป่ากลับมาสู่หมู่บ้าน เป็นการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของชาวบ้านในระยะยาว ผลจากโครงการดอยตุงนี้ทำให้ชาวบ้านบนดอยตุงมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และสามารถยิ้มได้อย่างมีความสุข

                  จากโครงการพัฒนาดอยตุงที่สมเด็จย่าทรงริเริ่มและดำเนินการนี้ สะท้อนให้เห็นถึงพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ที่มีต่อชาวบ้านทุกคนโดยไม่แบ่งแยกชาติพันธุ์ และฉันมั่นใจว่า พระมหากรุณาธิคุณนี้จะจารึกอยู่ในจิตใจ มิใช่เฉพาะของชาวบ้านดอยตุง และพี่น้องชาวเชียงรายเท่านั้น หากจะประทับอยู่ในความทรงจำของประชาชนชาวไทยทุกคนตลอดไป ในฐานะที่ทรงเป็น “แม่ฟ้าหลวง” ของแผ่นดิน

2,380 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดเชียงราย