คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ชุมพลประจิมปราการ

“ชุมพล” ประจิมปราการแห่งราชสีมานคร

“ชุมพล” ประจิมปราการแห่งราชสีมานคร

เมื่อกล่าวถึงเมืองนครราชสีมา จังหวัดใหญ่อันประตูสู่ภาคอีสานแล้วนั้น สิ่งแรก ๆที่เราจะนึกถึงก็คือ ท้าวสุรนารี หรือคุณหญิงโม หรือที่รู้จักกันอย่างทั่วไปว่า “ย่าโม” อันแสดงถึงวัฒนธรรมอันดีของสังคมไทย ที่เราจะนับญาติกับพูดที่เราเคารพรัก แม้จะมิได้เป็นเครือญาติกันโดยตรงทางสายเลือดก็ตาม

ตั้งตระหง่านเด่นเป็นสง่าคู่เมืองนครราชสีมามาเกือบทศวรรษ นับเป็นอนุสาวรีย์สามัญชนวีรสตรีคนแรกที่มีการจัดสร้างขึ้นเป็นที่แรกในประเทศไทย ประดิษฐานไว้ ณ บริเวณด้านหน้าประตูชุมพล รูปหล่อท้าวสุรนารีหล่อด้วยทองแดงรมดำ สูง 1.85 เมตร หนัก 325 กิโลกรัม ตั้งอยู่บนฐานไพที และมีฐานสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองซึ่งบรรจุอัฐิของท่านอีกชั้นหนึ่ง แต่งกายด้วยเครื่องยศพระราชทาน ในท่ายืน มือขวากุมดาบ ปลายดาบจรดพื้น มือซ้ายท้าวสะเอว โดยศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ออกแบบร่วมกับพระเทวาภินิมมิตร (ฉาย เทียมศิลปไชย) และอนุสาวรีย์แห่งนี้หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ซึ่งเป็นทิศที่ตั้งของกรุงเทพมหานคร อันแสดงถึงความจงรักภักดีที่ชาวนครราชสีมามีต่อพระเจ้าแผ่นดินทุกรัชกาลแห่งพระบรมราชจักรีวงศ์

ย้อนกลับไปในช่วงตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระนารายณ์มหาราช มีพระราชปรารภว่า เมืองนครราชสีมา เป็นหัวเมืองใหญ่และมีความสำคัญทางยุทธศาสตร์ เนื่องจากเป็นเมืองหน้าด่านของอยุธยาติดกับพรมแดนลาว (เข้าใจว่าเลยลำสะแทด ซึ่งเป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำมูลเหนือเมืองพิมายเป็นเขตแดนลาว เพราะมีบันทึกไว้ในนิราศหนองคาย สอดคล้องกับวัฒนธรรมและภาษาที่เปลี่ยนไปด้วย) จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ สร้างเมืองใหม่ ณ ที่ตั้งปัจจุบัน โดยมี เดอ ลามาร์ นายช่างชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ออกแบบ ขนาดกว้าง 1,000 เมตร ความยาว 1,700 เมตร มีกำแพงเมืองขนาดใหญ่ มีป้อมค่ายหอรบ และพระราชทานนามนครใหม่แห่งนี้ว่า "นครราชสีมา" จุลศักราช 1036 (พุทธศักราช 2217) และทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ พระยายมราช (สังข์) ดำรงตำแหน่ง เจ้าเมืองนครราชสีมา คนแรก

และในบันทึกของซีมง เดอ ลา ลูแบร์ ชาวฝรั่งเศสที่เข้ามาสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ได้เขียนรายงานและบันทึกไว้ในจดหมายเหตุว่า เมืองโคราชสีมา (Corazema) เป็นหัวเมืองใหญ่ 1 ใน 7 มณฑล ตั้งอยู่ติดชายแดนของราชอาณาจักรสยามกับเมืองลาว มีเมืองบริวาร 5 เมือง

การสร้างเมืองนครราชสีมานั้น มีนายช่างชาวฝรั่งเศสเป็นผู้วางผังเมือง ผังเมืองมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม รูปกลองชัยเภรี มีความกว้างประมาณ 1,000 เมตร (มาตราวัดของไทย : 25 เส้น) ยาวประมาณ 1,700 เมตร (มาตราวัดของไทย : 43 เส้น) มีพื้นที่ภายในประมาณ 1,000 ไร่ ( 1.60 ตร.กม.) ขุดคูกว้าง 20 เมตร (10 วา) และลึก 6 เมตร (3 วา) ยาวล้อมรอบเมือง มีโครงข่ายถนนภายใน ตัดกันมีรูปแบบเป็น ตารางหมากรุก (Grid pattern system) ก่อสร้างกำแพงเมือง โดยก่ออิฐขึ้นจากหินศิลาแลง มีความสูง 6 เมตร (3 วา) ยาวโดยรอบ 5,220 เมตร (2,610 วา) บนกำแพงมีใบเสมาโดยรอบ จำนวน 4,302 ใบ เดิมนั้น ก่อนการก่อสร้างกำแพงเมือง ใบเสมาบนกำแพง ได้ออกแบบไว้ให้มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมตามแบบของฝรั่ง แต่ต่อมาเมื่อมีการก่อสร้าง พระยมราช (สังข์) เจ้าเมืองนครราชสีมา ได้เปลี่ยนแปลงลักษณะใบเสมาให้เป็นแบบของไทยแทน มีป้อมประจำกำแพง และป้อมตามมุมกำแพงรวม 15 ป้อม มีประตูเมืองกว้าง 3 เมตร (1 วา 2 ศอก) จำนวน 4 ประตู โดยประตูเมืองทั้ง 4 เป็นทางเข้าออกเมืองทั้งสี่ทิศ บริเวณซุ้มประตูเมือง จะมีหอยามรักษาการณ์ - เชิงเทิน รูปแบบเป็นทรงไทยโบราณ ศิลปะสมัยอยุธยา หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผา มีช่อฟ้าใบระกาเหมือนกันหมดทุกแห่ง มีชื่อเรียกประตูเมืองทั้ง 4 นี้ว่า ประตูชุมพล ประจำทิศตะวันตก, ประตูพลแสน ประจำทิศเหนือ, ประตูพลล้าน ประจำทิศตะวันออก, และประตูไชยณรงค์ ประจำทิศใต้

กาลเวลาที่ผ่านไป จึงทำให้สิ่งก่อสร้างบางอย่างได้ถูกทำลายลง เมื่อครั้งที่ได้เกิดศึกกับเจ้าอนุวงศ์ แห่งเวียงจันทน์ ราชอาณาจักรลาว ที่ได้เข้ามายึดเมืองนครราชสีมา และส่วนหนึ่งถูกสภาพภูมิอากาศ ทำให้ทรุดโทรมลงตามกาลเวลา ในปัจจุบันเหลือแต่เพียงประตูเดียวที่ค่อนข้างสมบูรณ์มากที่สุด นั่นก็คือ ประตูชุมพล แห่งนี้ ที่ยังคงตั้งตระหง่าน ในฐานะ “ประจิมปราการแห่งราชสีมานคร”

 

โดย นายชินาทร  กายสันเทียะ  ผู้อนุรักษ์มรดกไทยดีเด่น พุทธศักราช 2560 กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม

 

ขอบคุณภาพถ่ายในส่วนถ่ายเก่า ประตูชุมพลในอดีต โดยพิพิธภัณฑ์เมืองนครราชสีมา  สำนักศิลปะและวัฒนธรรม  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

1,506 views

1

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดนครราชสีมา