คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

พิพิธภัณฑ์เตาถ่าน

พิพิธภัณฑ์…อนุรักษ์และเรียนรู้วิถีชีวิตคนเผาถ่าน

               พิพิธภัณฑ์เตาถ่าน อยู่ในท้องที่บ้านในทอน หมู่ที่ 11 ตำบลสุโสะ อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง ก่อสร้างขึ้นตามนโยบายของนายกิจ หลีกภัย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดตรัง มุ่งเน้นให้เป็นศูนย์เรียนรู้ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น ด้านการใช้ประโยชน์จากป่าชายเลนในอดีต ซึ่งเป็นรากฐานเศรษฐกิจท้องถิ่นแถบลุ่มแม่น้ำปะเหลียน อีกทั้งสร้างมูลค่าการค้าระหว่างประเทศ มาเป็นระยะเวลายาวนาน แม้สิ้นยุคความเฟื่องฟูไปแล้ว แต่ยังเป็นร่องรอยทางประวัติศาสตร์ ภูมิปัญญาและบทเรียนสำคัญ จึงเห็นว่าเตาถ่านนั้น คู่ควรแก่การอนุรักษ์ไว้ให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับกรรมวิธีผลิตถ่าน พิพิธภัณฑ์เตาถ่าน  ตำบลสุโสะ เป็นแหล่งอนุรักษ์และเรียนรู้วิถีชีวิตคนเผาถ่าน เพื่อไม่ให้หายไปจากความทรงจำ บริเวณพิพิธภัณฑ์ประกอบด้วยตัวอาคารและเตาเผาถ่านโบราณ ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงถึงร่องรอยทางประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาของชาวบ้านในอดีต พิพิธภัณฑ์นี้ได้เปิดให้เข้าชมตั้งแต่ปี พ.ศ.2554 โดยมีองค์การบริหารส่วนจังหวัดตรังเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแล

               จากการบอกเล่าของชาวบ้านในบริเวณนั้น เคยมีการประกอบอาชีพผลิตถ่านไม้โกงกางซึ่งเชื่อกันว่าเป็นถ่านไม้ที่มีคุณภาพที่สุด ต่อมาเมื่อสัมปทานทำไม้ป่าชายเลนได้ถูกยกเลิกโดยมติคณะรัฐมนตรี ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน 2539 (เรื่อง การยกเลิกการให้สัมปทานทำไม้ในเขตป่าไม้ชายเลน) เตาถ่านต่างๆ จึงหยุดใช้งานและอยู่ในสภาพทรุดโทรม ต่อมานายก อบจ.ตรังได้ทราบว่าเตาถ่านและที่ดินแปลงดังกล่าวเป็นของนางห้อง เทพวารินทร์ (ป้าห้อง) นายก อบจ.ตรังจึงได้เดินทางไปพบกับป้าห้องที่บ้านโดยมีนายโรจน์ เก้าเอี้ยน ผู้อาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวเป็นผู้นำทางไป

               ป้าห้องได้เล่าว่าในอดีตพื้นที่ดังกล่าวเคยเป็นสถานที่ที่ป้าห้องประกอบกิจการผลิตถ่านไม้โกงกางและเคยมีเตาถ่านอยู่ถึง 8 ลูก แต่เตาถ่านลูกอื่นๆ ได้ถูกรื้อไปเพื่อนำอิฐไปขายให้แก่ผู้ก่อสร้างรีสอร์ท จนในปัจจุบันเหลือเตาถ่านอยู่เพียงลูกเดียว นอกจากนี้ ป้าห้องยังได้เล่าให้นายก อบจ.ตรังทราบด้วยว่าป้าห้องเองก็มีเจตจำนงที่จะอนุรักษ์เตาถ่านไว้เช่นกันและเมื่อได้ทราบว่านายก อบจ.ตรังมีความประสงค์เดียวกันจึงมีความยินดีที่จะบริจาคที่ดินพร้อมเตาถ่านให้ อบจ.ตรังไปดำเนินโครงการ

             "..ลุงทำงานที่หลุมถ่านนี้มาตั้งแต่อายุสิบกว่าปี ตอนนี้เจ็ดสิบสองแล้ว เรียกว่าอยู่ที่นี่มาทั้งชีวิต เริ่มแรกก็แบกไม้โกงกางเข้าเตาถ่าน ทำงานจนเถ้าแก่ไว้ใจ ให้ไปคุมขายถ่านที่เบตง ก่อนที่จะเลิกไปเพราะกฎหมายยกเลิกสัมปทานป่าชายเลน...

..ตอนที่เขาคิดสร้างพิพิธภัณฑ์ เขามาชวนลุงเป็นผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับวิถีชาวเตาถ่าน ลุงไม่คิดเลยว่าเขาจะปั้นรูปลุงไว้ด้วย ลุงดีใจมาก..."

เรื่องเล่าจาก "ลุง สหัส  เสียมไหม"  คนเผ่าถ่านแห่งสุโสะ

               การเดินทางไปพิพิธภัณฑ์เตาถ่าน จากตัวเมืองจังหวัดตรัง ไปตามทางหลวงหมายเลข 404 (ตรัง - ปะเหลียน) เลี้ยวขวาจะมีป้ายบอกทางพิพิธภัณฑ์เตาถ่าน ไปอีกประมาณ 5 กิโลเมตร จะถึงจุดพิพิธภัณฑ์เตาถ่าน

อ้างอิงข้อมูล : http://info.dla.go.th/public/travel.do (สถ.ชวนเที่ยว)

10,238 views

4

แบ่งปัน