คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ปราสาทนางผมหอม

เรื่องราวคู่ขนาน ชื่อบ้านนามเมือง อ.ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี

เพราะเครือข่ายโยงใยของระบบอินเตอร์เน็ตที่เชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารของทั้งโลก รวมทั้งการเดินทางที่รวดเร็ว จึงทำให้เกิดคำเปรียบเปรยว่า “ยุคนี้โลกแคบลง” กระนั้น ถึงแม้อดีตโลกจะกว้างไกล แต่ใช่ว่าจะไม่มีการสร้างเครือข่าย หรือเชื่อมโยงกันเลย เช่น ตำนานนางผมหอม ของ ต.พิเทน อ.ทุ่งยางแดง จ.ปัตตานี นี้

            ปราสาทนางผมหอม เป็นโบราณสถาน ก่อนเกิดเหตุการณ์ไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ บริเวณปราสาทนางผมหอมเป็นอุทยาน ที่ร่มรื่น สวยงาม เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของผู้คนในละแวก มีเรื่องเล่าเกี่ยวข้องกับชื่อบ้านนามเมืองดังนี้

           

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา สยามได้ยกทัพมารวมพลกับทัพนครศรีธรรมราช เพื่อตีอาณาจักรปัตตานี ระหว่างรอทำศึก ปรากฏว่า ช้างศึกสำคัญ (ว่ากันว่าเป็นช้างเผือก) ได้หายเข้าป่าไป ซึ่งช้างนั้นอยู่ภายใต้การดูแลของ 7 พี่น้อง ประกอบด้วย เณร พี่ชายคนโต น้องชายอีก 5 คือ แก้ว อ่อน มอน เภา จันทอน และน้องสาวอีก 1 ไม่ทราบชื่อ

            7 พี่น้องนี้เป็นคนจามอพยพจากกัมพูชามาอยู่ที่บ้านลุมพลี อยุธยา ทุกคนมีความชำนาญในการเลี้ยงช้าง จับช้างป่ามาฝึกให้เชื่อง เมื่อเกิดสงคราม ก็รับหน้าที่เป็นควาญช้าง ในกรมอาสาจาม กองทัพสยาม

            เมื่อช้างในการดูแลหลุดเข้าป่า ทั้ง 7 พี่น้องจึงออกตามหา แต่ก็ไม่เจอ กระทั่งมาถึงป่าบริเวณเชิงเขาโต๊ะชุด (อ.ทุ่งยางแดง) พี่เณรจึงบอกน้องๆ ว่า ไม่ตามต่อแล้ว ครั้นจะกลับไปยังกองทัพก็ไม่ได้ เพราะอาญาโทษถึงประหาร จึงตัดสินใจตั้งหลักปักฐานอยู่ ณ ที่แห่งนี้ โดย ต.พิเทน เชื่อกันว่า น่าจะเพี้ยนมาจาก พี่เณร นี่เอง

            ตำนานชื่อหมู่บ้านของ อ.ทุ่งยางแดงที่เกี่ยวกับ 7 พี่น้องตามหาช้างยังมีอีกมากมาย อาทิ มีช่วงหนึ่งพวกเขาเดินตามช้างและพบว่าในรอยเท้าช้างนั้นมีน้ำใสๆ อยู่ พี่เณรจึงบอกว่า ช้างน่าจะผ่านไปนานแล้ว ณ จุดเท้าช้างนั้นจึงเป็นชื่อ บ้านน้ำใส, เมื่อเห็นว่าน้ำในรอยเท้าช้างใส เท่ากับว่าช้างผ่านไปนานแล้ว พี่เณรจึงบอกน้องๆ ว่า ให้ย้อนกลับไปที่เดิมก่อน ณ จุดที่ย้อนไปนี่เองเป็นที่มาของ บ้านยอน ซึ่งน่าจะเพี้ยนมาจกคำว่า ย้อน, กระทั่ง 7 พี่น้องเดินตามช้างต่อ คราวนี้พบว่าน้ำในรอยเท้ายังเป็นสีดำอยู่จึงใจชื้นขึ้น และจุดนี้เองที่เป็นที่มาของ บ้านน้ำดำ

            อีกหนึ่งความพิเศษของ ต. พิเทน คือ เนื่องจากบรรพบุรุษมาจากอยุธยา ชาวพิเทนจึงมีภาษาที่เป็นเอกลักษณ์ คือ เป็นภาษาไทยโบราณผนวกกับภาษามลายูที่มีสำเนียงใต้ บางศัพท์ยังใช้คำโบราณอยู่ เช่น ใช้คำว่า สนับเพลา แทน กางเกง ใช้ แถลง แทนคำว่า พูด เป็นต้น

            ส่วนความเกี่ยวข้องของปราสาทนางผมหอมนั้น  ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 2 ต.พิเทน นายดาโอะ หวัง เล่าว่า “พี่เณรมีพี่น้อง 7 คน น้องสาวคนสุดท้องชื่อ ผมหอม วันที่ช้างหายนั้น พี่เณรนำช้างไปอาบน้ำ โดยมีนางผมหอมขี่คออยู่” ตามคำบอกนี้จึงหมายความว่า นางผมหอม คือ น้องสาวคนสุดท้องของพี่เณร ซึ่งเมื่อพี่ชายตัดสินใจลงหลักปักฐานแล้ว ตัวเองก็เลยสร้างที่อยู่บนเขาโต๊ะชุดด้วย ซึ่งก็คือปราสาทนางผมหอมนั่นเอง           

เมื่อ พ.ศ. 2556 ข้าพเจ้าร่วมกับคณะหัวใจเดียวกัน ได้ลงพื้นที่ไปสำรวจปราสาทนางผมหอม เพื่อนำมาเขียนเป็นสารคดี ลงนิตยสารสายสานใยวัฒนธรรมหัวใจเดียวกัน ปรากฏว่า อุทยานที่เคยร่มรื่น สวยงาม ถูกปล่อยร้างให้ไร้การดูแล ป่าปกคลุม ต้องแหวกสุมทุมพุ่มไม้เข้าไป แม้จะถูกปล่อยรกร้าง แต่ก็ยังสามารถมองเห็นสภาพความเป็นอุทยานได้อยู่ มีต้นชบา (เพราะถูกปล่อยร้าง จึงสูงชะลูด) ซุ้มกอเข็ม และลำธารสวย ปัจจุบันแม้จะผ่านมาแล้วหลายปี แต่อุทยานก็ยังคงถูกทิ้งร้าง และเชื่อว่าหากนานวัน ก็จะถูกลืม เพราะไม่มีใครกล้าเข้าไป เนื่องจากรก และความไม่สงบในพื้นที่ แต่ข้าพเจ้าก็หวังว่าหากนำเรื่องนี้มาเล่าในวงกว้างอีก อาจจะได้รับการการเหลียวดูจากภาคส่วนต่างๆ เข้าไปอนุรักษ์ให้อุทยานปราสาทนางผมหอมกลับมาสวยงามขึ้นอีก

 

 

********

4,543 views

2

แบ่งปัน