คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

บางปะกงที่รัก

             แม่น้ำบางปะกงเป็นแม่น้ำสายหลักของภาคตะวันออก มีต้นกำเนิดจากแม่น้ำบางปะกงและแม่น้ำปราจีนบุรีไหลมาบรรจบกัน เมื่อไหลผ่านจังหวัดปราจีนบุรีเรียกว่าแม่น้ำปราจีนบุรี เมื่อไหลผ่านจังหวัดฉะเชิงเทราเรียกว่าแม่น้ำบางปะกง ไหลออกสู่ทะเลบริเวณอ่าวไทยที่ตำบลท่าข้าม อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา แม่น้ำบางปะกงเป็นแม่น้ำที่มีความพิเศษกว่าแม่น้ำสายอื่นคือมีทั้งน้ำจืดและน้ำกร่อย ขึ้นอยู่กับในแต่ละเดือนที่มีน้ำทะเลหนุน เช่น เดือนกรกฎาคมถึงมกราคมจะเป็นน้ำจืด เดือนกุมภาพันธ์ถึงมิถุนายนจะเป็นน้ำกร่อย เนื่องจากได้รับอิทธิพลของน้ำทะเลหนุนเข้ามาบริเวณแม่น้ำ แม่น้ำบางปะกงจึงเป็นแม่น้ำที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คนริมฝั่งแม่น้ำบางปะกงมาอย่างยาวนานนับเป็นแหล่งน้ำสำคัญที่ผู้คนใช้เป็นแหล่งอุปโภคบริโภค ทำการเกษตรกรรม การทำประมงแล้วยังเกิดประเพณีสำคัญของชาวจังหวัดฉะเชิงเทรา นั่นคือ "ประเพณีแห่หลวงพ่อโสธรทางน้ำ" ซึ่งทางวัดจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ริมน้ำได้นมัสการหลวงพ่อพุทธโสธร นอกจากนี้ในอดีตแม่น้ำบางปะกงยังใช้เป็นเส้นทางการคมนาคมสายหลักก่อนที่จะมีการสร้างถนนและสาธารณูปโภคอื่นๆ ในช่วงปี 2504-2514  ซึ่งมี "อำเภอบางคล้า" เป็นจุดแวะพักเรือสายต่างๆ ก่อนจะเดินทางเข้าสู่อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทราและประชาชนสามารถเดินทางด้วยรถไฟมายังจังหวัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีเรือต่างๆ ตามเส้นทางเดินเรือ ดังนี้ 1. เรือแดง ชาวบ้านเล่าว่าลักษณะของเรือจะมีสีแดงทั้งลำ เป็นเรือขนาดใหญ่ มีปล่องระบายควันถึง 2 ปล่อง วิ่งรับผู้โดยสารจากจังหวัดปราจีนบุรี แล้วมาหยุดพักเรือที่อำเภอบางคล้าประมาณ 1-2 ชั่วโมงแล้วจึงเดินทางไปยังอำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อไปส่งผู้โดยสารที่จะเดินทางต่อไปยังจังหวัดกรุงเทพมหานคร 2. เรือเขียว จะมีลักษณะเป็นสีเขียวทั้งลำ วิ่งรับผู้โดยสารจากอำเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทราแล้วมาหยุดพักที่อำเภอบางคล้าประมาณ 1 ชั่วโมงแล้วจึงเดินทางไปส่งผู้โดยสารที่อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทราเช่นเดียวกับเรือแดง 3. เรือขาว จะมีความแตกต่างจากเรือแดงและเรือเขียวคือเป็นเรือกระแชงขนาดกลางที่ชาวบ้านทำขึ้นเพื่อรับส่งผู้โดยสารระยะใกล้ๆ ที่จะเดินทางข้ามฝั่งแม่น้ำบางปะกงเท่านั้น ปัจจุบันเส้นทางการคมนาคมทางน้ำได้ยกเลิกไป เหลือเพียงชาวบ้านที่อาศัยอยู่ริมแม่น้ำใช้เรือในการเดินทางระยะใกล้ๆ เมื่อมีถนนตัดผ่านเส้นทางต่างๆ ทำให้ผู้คนนิยมใช้เส้นทางการคมนาคมทางบกมากขึ้น ร่องรอยของท่าเรือในอดีตก็ไม่หลงเหลืออยู่อีก เช่น ท่าเรือแดงในอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ในปี 2556 ทางกรมโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดฉะเชิงเทรา ได้มีโครงการปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณชายฝั่งแม่น้ำบางปะกงไปจนถึงบริเวณหน้าตลาดน้ำบางคล้า ทำให้ท่าเรือในอดีตถูกรื้อทิ้งและปรับเปลี่ยนภูมิทัศน์ใหม่เป็นการสร้างศาลาริมน้ำเล็กๆบริเวณริมแม่น้ำบางปะกงแทน จากจุดแวะพักเรือที่เคยคึกคักในอดีต เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงเส้นทางคมนาคมจากทางน้ำมาเป็นทางบก ทำให้บางอำเภอที่เรือโดยสารเคยวิ่งผ่านกลายเป็นเมืองปิด ไม่ใช่เป็นเมืองที่เรือโดยสารเคยวิ่งผ่านดังเช่นในอดีตอีกต่อไป

13,588 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดฉะเชิงเทรา