คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ตุ๊กตาเสียกะบาน

ตุ๊กตาเสียกะบาน ที่ไม่เสียกบาล บ้านหน้าพระธาตุ พนัสนิคม จ.ชลบุรี

“สมัยนี้เหลือคนทำไม่เยอะแล้ว”  

ระหว่างที่พูด มือสองข้างของคุณยายยังคงเย็บกระทงกาบกล้วย รวมทั้งปั้นหุ่นดินน้ำมันตามจำนวนสมาชิกในครอบครัว

กระทงกาบกล้วยที่ว่านี้ เรียกอีกอย่างว่า “กะบาน” เป็นคำเขมร ดังนั้นตุ๊กตาสะเดาะเคราะห์แทนคนที่เรียงรายอยู่เหล่านั้น จึงเรียกว่า ตุ๊กตาเสียกะบาน โดยที่มันไม่ได้เกี่ยวกับ “กบาล” ที่แปลว่าหัวแต่อย่างใด

ประกอบกับธรรมชาติของตุ๊กตาดินเผา คอเป็นส่วนที่เปราะบาง เมื่อถูกกาลเวลากัดกิน ส่วนหัวและตัวจึงแยกจากกัน ทำให้คนเข้าใจว่าจงใจทำให้หัวขาด พระพุทธรูปตามโบราณสถานที่เศียรกองระเนระนาด ก็มีลักษณะเดียวกัน
 

ถ้าสังเกตอีกนิด นอกจากเครื่องเซ่น และตุ๊กตารูปคน ยังมีหุ่นสัตว์เลี้ยงอยู่ด้วย ในอดีตนิยมปั้นวัวควายที่ใช้ประกอบอาชีพ แต่ทุกวันนี้อาชีพที่ว่าแทบไม่เหลือคนทำ หมา แมว จึงกลายเป็นสมาชิกร่วมชะตากรรมรายใหม่ในกระทง

ในวันนี้ ลูกมือของเธอคือเพื่อนบ้านและหลานสาว และหลานคนนี้เองที่สืบทอดวิชาความรู้ต่างๆ ต่อจากเธอ น้ำเสียงแสดงความภูมิใจเป็นหลักประกันเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี

นอกจากครอบครัวคุณยาย ในวันนี้ชาวบ้านละแวกวัดหน้าพระธาตุ เขตเมืองพระรถ อ.พนัสนิคม จ.ชลบุรี อีกหลายครอบครัว ต่างแยกย้ายกันทำกระทงของครอบครัวตนเอง เป้าหมายคือ งานบุญกลางบ้านของชุมชน ในปีนี้ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 22 พฤษภาคม 2559 ซึ่งจะถึงในเช้าวันถัดไป 

 

รุ่งขึ้น ชาวบ้านมุ่งหน้าไปโรงเรียนวัดหน้าพระธาตุ บริเวณนี้เป็นละแวกเขตเมืองพระรถ เมืองโบราณที่มีหลักฐานยุคทวารวดี ซึ่งชาวบ้านเล่าว่าก่อนสร้างโรงเรียนลานของโรงเรียนนี้เป็นเนินสูงกลางหมู่บ้าน

งานบุญกลางบ้านนิยมทำกันในเดือน 6 ต่อเนื่องเดือน 7 ประมาณเดือนพฤษภาคม บางชุมชนก็นัดหมายวันตามแต่สะดวก ประเพณีนี้มีรากฐานจากพิธีกรรมเลี้ยงผีในสังคมบรรพกาล
 

ไม่นานลานกลางโรงเรียนก็เต็มไปด้วยกระทง ทุกคนต่างพนมมือขอพร พระสงฆ์รดน้ำมนต์ตามกระทงพร้อมทั้งบริกรรมคาถา หลังจบพิธีเหล่ากระทงที่อมเคราะห์จะถูกนำไปไว้ตามทางสามแพร่งของชุมชน แต่เพื่อความสะดวก จุดทิ้งขยะหลังโรงเรียนเป็นที่ทางใหม่ เพื่อความสะดวกและง่ายในการจัดการ

 

สิ้นเสียงสวดมนต์ ผู้ใหญ่บ้านตีฆ้องบอกสัญญาณ บนเสื่อขนาดยาวสีแดงเบื้องหน้าผม ประกอบไปด้วยรอยยิ้มและสรรพอาหารคาวหวาน ภาพนี้เป็นภาพของงานบุญต่างจังหวัดที่ผมคุ้นเคยตั้งแต่เด็ก ชีวิตในเมืองดูจะไม่มีที่ทางของสิ่งเหล่านี้เท่าไรนัก

“ไอ้หนุ่มๆ มากินข้าวด้วยกันมา”

เสียงของลุงป้าน้าอาบ้านหน้าพระธาตุดังขึ้น

ระหว่างกดชัตเตอร์ บางช่วงผมเผลอคิดถึงบรรยากาศบ้านที่สุพรรณบุรี

 

อ้างอิง
https://www.matichon.co.th/news/145923

ผู้เขียนบทความ : นราธิป ทองถนอม

12,368 views

1

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดชลบุรี