คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

สืบฮีตฮอยวัดน่าน

สืบฮีตวรนคร จากวัดล้านนา ศรีสัชนา พม่า รวมเป็นนครน่านเมืองงาม

ในสมัยโบราณการที่จะดูว่าบ้านไหนเมืองไหนมีความเจริญหรือไม่ให้ดูจากการสร้างวัด การทำนุบำรุงศาสนา แม้ว่าบันทึกของเมืองจะหายไปเพราะถูกบันทึกในสมุดใบข่อยที่เสื่อมไปตามวันเวลา แต่สิ่งปลูกสร้างจะยังคงเหลือให้คนรุ่นต่อมาได้ศึกษาและจดจำ เช่นเดียวกับจังหวัดน่าน จังหวัดล้านนาตะวันออกที่มีวัดวามากมายจนนักท่องเที่ยวบอกว่าเที่ยวเมืองน่านวันเดียวก็ครบ 9 วัด

แต่จะมีใครทราบบ้างว่าวัดต่างๆในจังหวัดน่านล้วนมีประวัติการสร้างที่แตกต่างกันในด้านศิลปะ วัดในจังหวัดน่านมีทั้งศิลปะแบบล้านนาแท้ ศิลปะแบบสุโขทัยหรือศรีสัชนาลัยที่เป็นเช่นนั้นเพราะเมืองน่านมีความใกล้ชิดกับสุโขทัยถึงขนาดส่งช่างศิลป์ไปช่วยสร้างวัด และศิลปะแบบพม่าที่ครั้งหนึ่งเมืองน่านเคยเป็นเมืองขึ้นของพม่าจนได้รับอิทธิพลทางศิลปะมา

                ตำนานการสร้างเมืองน่านในครั้งแรกเริ่มขึ้นที่เมืองปัว ในตอนนั้นชื่อวรนคร ซึ่งเป็นพื้นที่ๆอยู่ไกลจากตัวเมืองน่านในปัจจุบันถึง 60 กิโลมเมตร ก่อนจะย้ายมา “ตั้งบ้านแป๋งเมืองใหม่”  ซึ่งนั่นคือการกำเนิดวัดพระธาตุแช่แห้งวัดประจำนักษัตรปีเถาะ สันนิษฐานกันว่าพระธาตุแช่แห้งสร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ.1891-1901 เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวเมืองน่านในตอนนั้น

หลังจากตั้งบ้านเมืองบริเวณพระธาตุแช่แห้งสักพักก็ประสบภาวะน้ำท่วมจนต้องย้ายที่ตั้งเมืองใหม่เพื่อหลีกเลี่ยงจากน้ำท่วม และวัดที่สร้างตามมาคือวัดพระธาตุช้างค้ำ วัดนี้สร้างในปี พ.ศ. 1939 สร้างตามแบบสถาปัตยกรรมภาคเหนือ สมัยสุโขทัย รอบฐานก่ออิฐปูนเป็นรูปช้างครึ่งตัวด้านละ 5 เชือก และที่มุมอีก 4 เชือก ดูคล้ายเอาหลังหนุนหรือค้ำองค์เจดีย์ไว้ ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย อายุราวพุทธศตวรรษที่ 19 ตรงกับสมัยสุโขทัยตอนปลาย มีพระประธานปูนปั้นขนาดใหญ่ศิลปะเชียงแสน ความน่าสนใจอีกอย่างของพระธาตุช้างค้ำ คือเจดีย์ทรงลังกา หรือทรงระฆังคว่ำ เป็นศิลปะสมัยสุโขทัย

                วัดเก่าแก่อันดับต่อมาที่สร้างในบริเวณอำเภอเมืองน่านคือวัดพระธาตุเขาน้อย ตั้งอยู่บนเขาน้อย ด้านตะวันตกของเมืองน่าน สร้างใน พ.ศ. 2030 องค์พระธาตุเป็นเจดีย์ก่ออิฐถือปูนทั้งองค์ เป็นศิลปะพม่าผสมล้านนา วัดแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหาอุดมมงคลนันทบุรีศรีน่าน โดยพระพักตร์หันไปทางเมืองน่าน คือทางด้านทิศตะวันออก พระพุทธรูปนี้สร้างขึ้นเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวโรกาสครบ 72 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 พ.ศ.2542 เป็นพระพุทธรูปที่นักท่องเที่ยวต้องมาถ่ายรูปเก็บภาพสวยงาม

วัดหลวงของจังหวัดน่านที่ใครมาเยือนต้องไปนสัมการนั่นคือวัดภูมินทร์ วัดนี้สร้างขึ้นใน พ.ศ. 2139 สำหรับสิ่งที่น่าสนใจในวัดนี้คือ “พระอุโบสถจัตุรมุข” หรือรูปกากบาท เป็นอุโบสถแห่งเดียวในประเทศไทยที่รวมเอาโบสถ์ วิหาร และเจดีย์ ไว้ในอาคารเดียวกัน กรมศิลปากรสันนิษฐานว่าพระอุโบสถนี้อาจได้รับอิทธิพลจากอานันทเจดีย์ที่เมืองพุกาม ประเทศพม่า ภายในมีการจำลองลักษณะแผนภูมิจักรวาลตามความเชื่อในพระพุทธศาสนา โดยมีพระประธานจตุรทิศปางมารวิชัย 4 องค์ หันหน้าออกสู่ประตูจตุรทิศทั้ง 4 ทิศ มีนาคสะดุ้งสองตัวขนาดใหญ่ที่วางตัวตามแนวทิศเหนือและทิศใต้ โดยส่วนหัวอยู่ทางทิศเหนือทางเข้าประตูวิหารทอดลำตัวผ่านพระอุโบสถ พระอุโบสถอยู่กลางลำตัว และส่วนหางอยู่ทางทิศใต้ของวิหาร

และอีกวัดที่สำคัญมากเพราะเป็นที่ประดิษฐานเสาหลักเมืองน่านนั่นคือวัดมิ่งเมืองซึ่งอยู่ใกล้ๆกับวัดภูมินทร์เดิม ในปี 2400 เป็นวัดร้าง มีคนค้นพบเสาหลักเมืองที่เป็นท่อนซุงไม้สักทองขนาดใหญ่สองคนโอบแต่กาลเวลาทำให้เสาผุกร่อนไปมีการบูรณะหลายครั้ง จนปัจจุบันได้มีการสร้างเสาหลักเมืองจำลองที่ก่อด้วยอิฐปูนไว้ยังสถานที่เดิมโดยได้นำเสาหลักเมืองน่านต้นเดิมที่โค่นล้มมาเกลาแต่งใหม่และสลักหัวเสาเป็นพรหมสี่หน้า และสร้างศาลไทยจัตุรมุขครอบเสาหลักเมืองไว้อีกชั้น

จากวัดทั้งสี่ในจังหวัดน่านที่เป็นตัวแทนศิลปกรรมจากล้านนา ศรีสัชนาลัย พม่า รวมทั้งสถาปัตยกรรมสมัยใหม่เช่นวัดมิ่งเมืองแล้ว จริงๆจังหวัดน่านยังมีวัดเก่าแก่อีกมาก อีกวัดที่จะไม่กล่าวถึงไม่ได้เลยคือวัดเก่าที่สร้างขึ้นราว พ.ศ. 1955 เป็นวัดที่ตั้งอยู่นอกกำแพงเมืองน่านด้านทิศเหนือ ในบริเวณที่เป็นสวนตาลหลวงซึ่งเป็นที่มาของชื่อวัด นั่นคือวัดสวนตาล ตัวเจดีย์หลังวิหารเดิมเป็นพุ่มข้าวบิณฑ์แบบสุโขทัย วัดนี้มีความสำคัญคือเป็นด่านหน้าเมื่อครั้งทัพศึกจากเชียงใหม่บุกเข้าตีเมืองน่าน

ความงดงามที่แตกต่างของสถาปัตยกรรมแต่ละแห่งมีเรื่องราวเป็นของตัวเอง โดยเฉพาะวัดเมืองน่านที่แม้แต่ละวัดอยู่ไม่ห่างไกลกันแต่ทุกวัดล้วนมีประวัติศาสตร์ที่เป็นหนึ่งและโดดเด่นรอผู้มาชมและศึกษาเรื่องราวที่ผ่านมาเมื่อครั้งอดีตกาล......

แก้ว การะบุหนิง

4,043 views

1

แบ่งปัน