คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ตั้งศาลเจ้าหนองขาว

การตั้งศาลเจ้าของชุมชน ตำบลหนองขาว อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี

การตั้งศาลของชุมชน ตำบลหนองขาว อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี

        ชุมชนชาวหนองขาวเป็นชุมชนที่ยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของบรรพบุรุษไว้อย่างเหนียวแน่นในวัฒนธรรมหลายๆด้าน อย่างเช่น วัฒนธรรมการแต่งกาย (ผ้าขาวม้าร้อยสี) ,วัฒนธรรมการพูด(ยังคงมีเอกลักษณ์เสียงเหน่อ), วัฒนธรรมการดำรงชีวิต (การทำนา ปลูกตาลโตนด) รวมไปถึงวัฒนธรรมความเชื่อ (ประเพณีงานบวช การโกนจุก) เป็นต้น ซึ่งในบทความชิ้นนี้จะขยายความในเรื่องของวัฒนธรรมความเชื่อในเรื่อง “การตั้งศาลของชุมชน”(การบูชาศาลเจ้า) ซึ่งเป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันต่อมาเป็นทอดๆ จากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งถึงแม้ในปัจจุบันโลกจะเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆมากมาย แต่ประเพณีการตั้งศาลนี้ยังคงสืบทอดปฏิบัติจนถึงปัจจุบัน รวมถึงครอบครัวตัวผู้เขียนบทความชิ้นนี้ด้วย

        ศาลเจ้าในชุมชนหนองขาว เป็นความสัมพันธ์ระหว่างคนในชุมชนหนองขาวกับเทวดาที่ปกป้องรักษาหมู่บ้านหนองขาว ซึ่งเปรียบเสมือนพ่อและแม่ ดังชื่อศาลที่สำคัญที่สุดในหนองขาว คือ “ศาลพ่อแม่” ที่คนในหมู่บ้านหนองขาวนี้จะทำกิจการอันใดที่สำคัญจะต้องมาบอกกล่าวกับศาลพ่อแม่ เช่น งานบวช งานแต่ง งานประจำปีทำบุญของศาลพ่อแม่ เป็นต้น เพื่อความเป็นศิริมงคล และทำการใดๆก็จะไม่ติดขัดเพราะมีเชื่อว่ามีเทวดาจากศาลเจ้าคอยช่วยคุ้มครองตนเองเเละหมู่บ้าน หากเราพิจารณาข้างต้นแล้วเราจะพบว่าประเพณีการตั้งศาลของชาวหนองขาวนี้คงสืบทอดกันมาอย่างยาวนานแล้วเพราะการนับถือผี(เทวดา) ซึ่งเป็นคติความเชื่อสำคัญของคนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งก็รวมประเทศไทยในปัจจุบันเข้าไปด้วยนั้นยิ่งแสดงถึงความเข้มข้นในการรักษาประเพณีการตั้งศาลของชาวหนองขาวไว้อย่างเข้มข้น เพราะในปัจจุบันขอใช้คำว่าเกือบทุกบ้าน จะต้องมาตั้งศาลในงานประจำปีแต่ละศาลกันอย่างเนื่องแน่น เสียดายบทความชิ้นนี้เขียนขึ้นไม่ตรงกับช่วงงานประจำปี รูปภาพจึงไม่อาจทำให้ผู้อ่านเห็นภาพได้ชัดเจนนัก แต่ผู้เขียนก็แนะนำให้ท่านมาสัมผัสหมู่บ้านวัฒนธรรมหนองขาวด้วยตัวของท่านเอง

(รูปภาพ ศาลพ่อแม่ ศาลประจำหมู่บ้าน)

 

        พิธีการตั้งศาลเป็นการสืบทอดมาเป็นรุ่นๆ เริ่มจากครอบครัวใหญ่ที่มีการนับถือ “หม้อยาย” (มีลักษณะเป็นเหมือนหม้อดินเผา) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ถึงบรรพบุรุษของชาวหนองขาวที่ล่วงลับไปแล้ว และได้บอกต่อๆกันมาว่าลูกหลานจะต้องไปตั้ง “สำรับ” (อุปกรณ์ที่ใช้ในการตั้งศาลของชุมชนหนองขาว) ซึ่งประกอบไปด้วย บายศรีปากชาม ขนมต้มแดงต้มขาวหรือขนมเปียกปูน น้ำเปล่า ถาด โดยแต่ละบ้านก็จะตั้ง “สำรับ” ไม่เท่ากันแล้วแต่บรรพบุรุษของแต่ละบ้านบอกกล่าวกันต่อๆมา ซึ่งเมื่อมีคนในบ้านแต่งงานหรือย้ายบ้านก็ต้องรับ “หมอย้าย” ไปอยู่ด้วย นั่นหมายความว่าจะมี “สำรับ” เพิ่มมากยิ่งขึ้นเพราะมีครอบครัวเกิดขึ้นมาใหม่ ส่งผลให้การรักษาวัฒนธรรมประเพณีการตั้งศาลยังคงมีการสืบถอดและเข้มข้นจนถึงในปัจจุบัน

(ภาพ สำรับ ที่ใช้ในพิธีการตั้งศาล)

 

        งานประจำปีในการตั้งศาลชุมชนหนองขาวนั้น ไม่ใช่ทุกศาลที่จะสามารถตั้งได้ ขึ้นอยู่กับสิ่งที่บรรพบุรุษได้บอกกล่าวมาว่าครอบครัวเราจะต้องไปตั้ง “สำรับ”ที่ศาลไหนบ้าง และบางศาลก็มีแค่งานประจำปีไม่ต้องตั้ง “สำรับ” โดยศาลเจ้าที่จะต้องตั้ง “สำรับ” สำคัญๆ ดังที่จะกล่าวในต่อไปนี้ อย่างเช่น “ศาลเจ้าพอแม่” จะจัดงานประจําปใน เดือน 6 ขึ้น 1 ค่ำ , “ ศาลเจาพอลมบนและศาลปูเขียว” จะจัดงานประจําปใน เดือน 6 แรม 4 ค่ำ, ศาล “เจาพอโรงหนัง” จะจัดงานประจําปใน เดือน 6 แรม 3 ค่ำ, “ศาลเจาพอทานผูใหญ เทวดา สะปูยา แมองคชี” จะจัดงานประจำปใน เดือน 7 ขึ้น 7 ค่ำ เป็นต้น

       โดยบทความชิ้นนี้เป็นการถ่ายทอดจากเรื่องเล่าที่เล่าต่อๆกันมาเป็นทอดๆของชาวหนองขาว โดยคุณช่อ กระต่าย ซึ่งเป็นญาติตัวผู้เขียนบทความได้มีส่วนสำคัญในการถ่ายทอดให้ผู้เขียนทราบถึงเรื่องราว โดยบทความนี้อยากจะเชิญชวนผู้อ่านให้มาดูหรือสัมผัสถึงวัฒนธรรมความเชื่อของชาวหนองขาวที่ยังคงรักษากันมาอย่างเข้มข้นและต่อเนื่องกันมาทุกปี ซึ่งหากลองนึกภาพตาม “การตั้งสำรับ” จากความเชื่อของคนในหมู่บ้านเกือบทั้งหมู่บ้านที่ศาลเจ้าพร้อมๆกัน ย่อมเป็นภาพที่มีพลังและความขลังของเสน่ห์วัฒนธรรมท้องถิ่นที่สืบต่อกันมา โดยใครที่สนใจจะมาสัมผัสวัฒนธรรมการตั้งศาลก็เปิดปฏิทินดูเดือนแบบไทย และข้างขึ้นข้างแรม ดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น แล้วพบกันครับ

 

 

 

อ้างอิ้งจาก : ช่อ กระต่าย. (2560, 1 สิงหาคม). สัมภาษณ์

ผู้เขียนบทความ :นาย ธนพล หยิบจันทร์

4,966 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดกาญจนบุรี