คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

หอวัฒนธรรมนิทัศน์

ศูนย์รวบรวมประวัติศาสตร์เมืองพะเยา

หอวัฒนธรรมนิทัศน์

ศูนย์รวบรวมประวัติศาสตร์เมืองพะเยา

          หอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมคำ ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดพะเยา หอวัฒนธรรมนิทัศน์ เป็นสถานที่จัดแสดงวัตถุโบราณ เอกสารข้อมูลสำคัญทางประวัติศาสตร์ ทั้งทางด้านวรรณกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมประเพณี และวิถีความเป็นอยู่ของชาวบ้านในจังหวัดพะเยา ผลงานที่ใช้จัดแสดงเป็นซากปรักหักพังและประติมากรรมในยุคหินทรายของเมืองพะเยา มาจากการเก็บรักษาและสืบเสาะหาของหลวงพ่อ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ เจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำ ซึ่งหลวงพ่อสะสมมาเป็นเวลากว่า ๔๓ ปี

          ในการสร้างหอวัฒนธรรมนิทัศน์ ใช้ระยะเวลากว่า ๓๒ ปี และเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ.๒๕๓๙ มีพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๑๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๓๙ โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จมาเป็นองค์ประธานทำพิธีเปิด หอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมคำ

          หอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมคำได้รับการออกแบบด้วยศิลปะล้านนาประยุกต์ เป็นอาคาร ๒ ชั้น ภายในอาคาร ประกอบด้วยห้องจัดแสดงทั้งหมด ๕ ห้อง แต่ละห้องแบ่งเป็นส่วนๆ รวมทั้งหมด ๑๓ ส่วน ได้แก่

ส่วนที่ ๑ กว๊านพะเยา

          เป็นห้องจัดแสดงประวัติ ความเป็นมาของกว๊านพะเยาในอดีต รวมถึงวิถีชีวิตการประมงในเมืองพะเยา มีการจัดแสดงอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำประมง การจำลองโครงกระดูกมนุษย์อายุราว ๘๐๐ กว่าปี ซึ่งขุดค้นพบเมื่อปี ๒๕๔๗ ณ เมืองโบราณเวียงลอ และห้องนี้เป็นห้องกระจกใสที่สามารถมองออกไปเห็นวิวทิวทัศน์ของกว๊านพะเยาได้

ส่วนที่ ๒ ลานศิลาจารึก

          ลานศิลาจารึก สิ่งที่โดดเด่นที่สุดในส่วนนี้คือ หลวงพ่อพุทธเศียร เศียรพระพุทธรูปหินทรายขนาดใหญ่ในสมัยพุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑ ถือได้ว่าเป็นพระพุทธรูปหินทรายที่มีพุทธลักษณะสวยงามที่สุด ตามแบบศิลปะหินทรายสกุลช่างพะเยาในยุคต้นที่ได้รับอิทธิพลจากทางสุโขทัย และยังมีหลักศิลาจารึก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหินทรายอยู่ในช่วงศตวรรษที่ ๒๐-๒๒

ส่วนที่ ๓ พะเยาก่อนประวัติศาสตร์

          ส่วนนี้จัดแสดงวัตถุโบราณในยุคหินของคนในพื้นที่จังหวัดพะเยา  ห้องจัดแสดงจำลองบรรยากาศให้คล้ายเมืองโบราณ

ส่วนที่ ๔ พะเยายุคต้น

          ส่วนนี้จะจัดแสดงโดยเน้นการเผยแพร่ประวัติพะเยาในแคว้นล้านนา จัดแสดงพระพุทธรูปปางต่างๆ ศิลปะล้านนา สกุลช่างพะเยา

ส่วนที่ ๕ พะเยายุครุ่งเรือง

          เป็นส่วนที่มีการจัดแสดงศิลปะและวัตถุโบราณในยุครุ่งเรืองของเมืองพะเยา ห้องนี้เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าห้องพระ

ส่วนที่ ๖ เครื่องปั้นดินเผา

          เป็นส่วนจัดแสดงเครื่องปั้นดินเผาที่ขุดค้นพบเป็นจำนวนมากในจังหวัดพะเยา ไม่ว่าจะเป็น จาน ชาม ถ้วย หรือไห สิ่งที่ถูกค้นพบมากที่สุดหนึ่งในจำนวนนั้นคือ “ไหปูรณฆฏะ” ซึ่งชาวบ้านใช้ในการบูชาหน้าพระ ถือเป็นไหที่สวยงามที่สุดในหอวัฒนธรรมนิทัศน์

ส่วนที่ ๗ พะเยายุคหลัง

          ส่วนนี้จัดแสดงสิ่งของหลากหลาย พร้อมทั้งเรื่องราวและวัตถุโบราณของพะเยาหลังถูกพม่ายึดครองและผนวกเข้ากับอาณาจักรล้านนา

ส่วนที่ ๘ กบฏเงี้ยว

          ส่วนนี้จัดแสดงเรื่องราวเงี้ยวบุกปล้นเมืองพะเยาเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๕

ส่วนที่ ๙ ประวัติพระเจ้าตนหลวง

          ส่วนนี้จัดแสดงภาพเก่า ซึ่งเป็นภาพเล่าเรื่องราวพระพุทธเจ้ากับพญานาคในกว๊านพะเยาและการก่อสร้างพระเจ้าตนหลวง พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์อันเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวพะเยาและชาวล้านนา ซึ่งเป็นผลงานฝีมือการวาดของ จ. ขันธกิจ

ส่วนที่ ๑๐-๑๑ วิถีชีวิตและภูมิปัญญาพะเยากับความหวัง

          ส่วนนี้จัดแสดงเรื่องราวบุคคลสำคัญของเมืองพะเยาและจัดแสดงนิทรรศการหมุนเวียนเกี่ยวกับเมืองพะเยา

ส่วนที่ ๑๒ คนกับช้าง

          ส่วนนี้จัดแสดงเรื่องราวของช้างในด้านต่างๆในล้านนา วิถีชีวิตของช้าง ความเชื่อ คติทางพระพุทธศาสนา

ส่วนที่ ๑๓ คลังวัตถุโบราณ

          ส่วนสุดท้ายเป็นห้องเก็บวัตถุโบราณที่ยังไม่ได้จัดเป็นหมวดหมู่ และประดิษฐาน “หลวงพ่อพระเจ้าองค์ดำ” พระพุทธรูปเนื้อสัมฤทธิ์ทองคำ

3,714 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดพะเยา