คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ประวัติศาสตร์พะเยา

ศิลาจารึกประวัติศาสตร์อาณาจักรพะเยา

          “พะเยา” หรือ “พยาว” เป็นเมืองเก่าแก่ที่มีประวัติศาสตร์ความเป็นมายาวนาน เป็นอาณาจักรร่วมสมัยเดียวกับยุคปลายของหิรัญนครเงินยางเชียงแสน ซึ่งชื่อเมืองพะเยาได้ปรากฏเป็นครั้งแรก ในหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด คือศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๒ จารึกขึ้นเมื่อประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐ แต่เล่าเหตุการณ์ย้อนหลังกลับไปช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ กล่าวถึง เมืองพะเยา ว่า “พยาว” ในสมัยของพ่อขุนศรีนาวนำถุม กษัตริย์แห่งเมืองสุโขทัย ก่อนพ่อขุนศรีอินทราทิตย์จะขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์เมืองสุโขทัย ในปี พ.ศ. ๑๘๐๐ ต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เมืองพะเยาได้มีวีรบุรุษที่สำคัญเกิดขึ้นอีกพระองค์หนึ่งคือ พระยางำเมือง ซึ่งเป็นพระสหายกับพระยามังราย แห่งเมืองเชียงราย และพ่อขุนรามคำแหง แห่งเมืองสุโขทัยในปี พ.ศ.๑๘๓๙ พระยางำเมืองและพ่อขุนรามคำแหง ได้ทรงไปช่วยพระยามังรายสร้างเมืองเชียงใหม่ เมืองพะเยาในสมัยของพระยางำเมืองมีอำนาจเข้มแข็งมากสามารถขยายอาณาเขตเข้าไปยึดครองเมืองน่านได้   และเป็นสมัยที่พะเยารุ่งเรืองที่สุด เมื่อสิ้นสุดพระยางำเมือง เมืองพะเยาก็ถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนาในปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ นับแต่นั้นเป็นต้นมาเมืองพะเยาก็ถูกลดฐานะเป็นเมืองเล็กๆ ที่ขึ้นอยู่กับเชียงราย

              ต่อมาเมืองพะเยากลับมามีบทบาทอีกครั้งในประวัติศาสตร์เมื่อพระเจ้าสามฝั่งแกน กษัตริย์ล้านนาเมือง

เชียงใหม่  ทรงแต่งตั้งอาว์เลี้ยงไปเป็นเจ้าสี่หมื่นครองเมืองพะเยา ในปี พ.ศ.๑๙๕๔ เพื่อเป็นการตอบแทนบุญคุณที่ช่วยเหลือพระองค์ขึ้นครองราชย์ได้สำเร็จ ในสมัยเจ้าสี่หมื่น เมืองพะเยาได้รับการยกยองให้มีความสำคัญแทนเมืองเชียงราย ต่อมาในปี พ.ศ. ๑๙๘๔-๒๐๓๐ เมื่อถึงสมัยพระเจ้าติโลกราช ขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระเจ้าสามฝั่งแกน พระเจ้าติโลกราชได้ใช้เมืองพะเยาเป็นฐานกำลังขยายอำนาจเข้ายึดเมืองแพร่และน่าน รวมทั้งทำสงครามกับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถแห่งกรุงศรีอยุธยาเพื่อชิงดินแดนสุโขทัย พระยายุทธิษฐิระ เจ้าเมืองสองแคว ผู้มีเชื้อสายราชวงศ์สุโขทัยได้บาดหมางกับสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ จึงเข้ามาสวามิภักดิ์กับพระเจ้าติโลกราชและช่วยทำสงครามรบกับกรุงศรีอยุธยา พระยายุทธิษฐิระได้รับการปูนบำเหน็จความดีความชอบ ให้มาเป็นเจ้าสี่หมื่นครองเมืองพะเยา ในปี พ.ศ.๒๐๑๗ เป็นช่วงที่บ้านเมืองเป็นปึกแผ่นมั่นคง ศิลปวัฒนธรรมและพุทธศาสนาได้รับการส่งเสริมจนเจริญรุ่งเรืองมาก และถือเป็นอีกยุคทองของเมืองพะเยาอีกยุคหนึ่ง ดังปรากฏหลักฐานจากโบราณสถาน โบราณวัตถุหลายแห่งที่พบในเมืองพะเยา

          เมื่อปี พ.ศ. ๒๐๑๐ ล้านนาถูกพม่าบุกเข้ามายึดครอง เมืองพะเยาได้ร่วงโรยไปพร้อมกับเมืองอื่นๆในล้านนา และหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์ จนเมื่อถึงปี พ.ศ. ๒๓๑๐ พม่ายกกองทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา ชื่อเมืองพะเยากลับมาปรากฏในประวัติศาสตร์อีกครั้ง เมื่อเนเมียวสีหบดี แม่ทัพพม่าได้มาเกณฑ์ชาวพะเยาไปรบกับกรุงศรีอยุธยา หลังจากนั้นเมืองพะเยาก็กลายเป็นเมืองร้างไปเป็นเวลาถึง  ๕๖ ปี

          ในช่วงปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เมืองพะเยาถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของแคว้นล้านนา แล้วถูกลดฐานะเป็นเมืองเล็ก ๆ ขึ้นอยู่กับเมืองเชียงราย ต่อมากลายเป็นอำเภอพะเยา และในปี พ.ศ. ๒๕๒๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ฯ มีพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งอำเภอพะเยาขึ้นเป็นจังหวัด จังหวัดพะเยาจึงได้รับการยกฐานะจากอำเภอพะเยา ขึ้นเป็นจังหวัดพะเยาดังเช่นปัจจุบัน

         

20,009 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดพะเยา