คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน

พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน ศาสนา ความเชื่อ และวิถีชีวิตชาวไทลื้อ

        ศูนย์วัฒนธรรมเฉลิมราช พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน วัดแสนเมืองมา เป็นพื้นที่จัดแสดงโบราณวัตถุทางพระพุทธศาสนา เครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของชาวไทลื้อและชาวล้านนาในอดีต เป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมชาติพันธุ์ และวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น รวมทั้งอนุรักษ์สืบสาน ต่อยอด และสร้างสรรค์ ภายในจัดแสดงเนื้อหาเป็น ๓ ส่วน ประกอบด้วย

๑. จัดแสดงภาพพระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิน ในพื้นที่จังหวัดพะเยา

๒. จัดนิทรรศการแสดงองค์ความรู้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมท้องถิ่น

๓. เผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศ สืบสาน ถ่ายทอดมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม

        นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศ์ศานุวงศ์ ที่เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรทหาร ตำรวจในเขตปฏิบัติการปราบปรามผู้ก่อการร้ายในเขตพื้นที่อำเภอเชียงคำ ในการเสด็จพระราชดำเนินในแต่ละครั้งนั้น ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานเครื่องอุปโภคบริโภคแก่ประชาชน พระราชทานสิ่งของเครื่องอุปกรณ์การเรียนแก่นักเรียน พระราชทานสัตว์เลี้ยงและเมล้ดพืชเพื่อใช้ในการแพร่พันธุ์ อีกทั้งยังพระกรุณาโปรกเกล้าดปรดกระหม่อมพระราชทานหน่วยแพทย์หลวงไปทำการตรวจรักษาและจ่ายยารักษาโรคแก่ผู้เจ็บป่วย ทรงมีพระปฎิสันถารถึงความทุกข์สุขและปัญหาเดือดร้อนของราษฎรที่มาเข้าเฝ้า พระราชกรณียกิจดังกล่าวถือว่าเป็นประวัติการณ์ของแผ่นดิน จึงได้เผยแพร่ภาพพระราชกรณียกิจการเสด็จพระราชดำเนิน และการปฏิบัติพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศ์ศานุวงศ์ในพื้นที่อำเภอเชียงคำ ในระหว่างปีพ.ศ.๒๕๑๑-๒๕๕๔ เพื่อเป็นการเผยแพร่พระมหากรุณาธิคุณที่มีต่อพสกนิกรชาวเชียงคำให้ปรากฏยั่งยืนอยู่ตราบกาลนาน

นิทรรศการวิถีชีวิตไทลื้อเชียงคำ ลื้อเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ตระกูลไทย มีวิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณีที่เป็น อัตลักษณ์ของตนเอง ถิ่นฐานดั้งเดิมตั้งอยู่ในเขตสิบสองปันนาทางใต้ของมณฑลยูนนานในสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนจีน ตั้งรกรากอยู่ในเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำและหุบเขาชาวไทลื้อถูกอพยพกวาดต้อนเข้ามาในยุค “เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง” จึงทำให้การอพยพเคลื่อนย้ายไทลื้อมาอยู่เชียงคำ เป็นการกระจายตัวของไทลื้อที่มาจากเชียงม่วน ทำให้เชียงคำกลายเป็นศูนย์กลางใหม่ของของชาวไทลื้อ ที่อพยพมาจากชุมชนต่างๆในเชียงม่วนและการอพยพเคลื่อนย้ายนั้น ไม่ได้อพยพมาเพียงครั้งเดียว หากแต่อพยพเข้ามาหลายครั้งและหลายกลุ่ม ด้วยเหตุและปัจจัยที่ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการถูกกวาดต้อนเทครัว การค้าขายและการเสาะแสวงหาที่ทำกิน และหลบหลีกภัยสงคราม ดังนั้นจึงทำให้ชาวไทลื้อในเชียงคำ จึงมีหลากหลาย เช่น ลื้อเมืองหย่วน ลือเมืองมาง ลื้อเมืองพง ลือเมืองยั้ง ลื้อเมืองเชียงแขง ลื้อเมืองเชียงคาน ลื้อเมืองล้า ลื้อเมืองบาน ซึ่งอพยพเข้ามาอยู่ในเขตเมืองเชียงคำด้วยกัน มาสู่การกำเนิดของชุมชนไทลื้อเชียงคำ นิทรรศการได้จำลองชีวิตความเป็นอยู่ และการทอผ้าซึ่งมีลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ มีความโดดเด่นงดงาม

นิทรรศการศาสนาและความเชื่อ ชาวไทยลื้อเชียงคำนับถือศาสนาพุทธ นิกายเถรวาทค่อนข้างเคร่งครัด และยังคงนับถือเทวดา ควบคู่ไปกับพุทธศาสนา แม้ว่าความเชื่อทางด้านพุทธศาสนาของชาวไทลื้อจะเข้ามาในภายหลัง แต่ชาวไทลื้อก็มีการผสมผสานเอาวัฒนธรรมความเชื่อดั้งเดิม และความเชื่อทางพุทธศาสนาผนวกรวมไว้ด้วยกัน อีกทั้งความเชื่อในเรื่องของเทวดา ซึ่งเป็นความเชื่อดั้งเดิมของไทลื้อนั้น ก็ไม่ได้มีความแตกต่างจากความเชื่อเรื่องผี ของชาวล้านนามากนัก ในยุครัฐจารีตความเชื่อเรื่องเทวดาเป็นความเชื่อที่เคร่งครัดและมีอิทธิพลต่อชุมชนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะ พิธีกรรมเมือง ซึ่งพิธีดังกล่าวเป็นเครื่องสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของเมือง ที่ยังคงมีความหมายต่อชาวไทยลื้อ ทั้งนี้ยังถือเป็นการรวมกลุ่มทางชาติพันธุ์ที่จะกำหนดความเป็นไปของชุมชน ตลอดจนยังเป็นการแสดงความเคารพ และความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ

หอผ้า เป็นชื่อเรียกเรือนสมมุติพิเศษที่สร้างด้วยไม้ไผ่ ห่อหุ้มด้วยผ้าขาว มีลักษณะคล้ายกับปราสาทของชาวล้านนา ชาวไทลื้อในอำเภอเชียงคำ ยังคงรักษาความเชื่อนี้ตั้งแต่โบราณจากสิบสองปันนาจนถึงในประเทศไทยยุคปัจจุบัน นิยมสร้างหอผ้า ๒ เหตุการณ์เท่านั้นคือ

๑. การตั้งธรรมประเพณีแบบไทลื้อ

๒. ในประเพณีงานศพ

การเลี้ยงเทวดา ความเชื่อของชาวไทลื้อบ้านมาง เทวดาหลวง หรือเจ้าหลวงเมืองมางนั้น คือเจ้าเมืองที่ปกครองเมืองในอดีต ซึ่งชาวเมืองให้ความเคารพยกย่อง และนับถือดวงวิญญาณ ของเจ้าเมืองเหล่านั้นให้เป็นเทวดาผู้ดูแลความสงบร่มเย็นให้ตน และถือเป็นต้นตระกูลของชาวเมืองมางทั้งหมด การเลี้ยงเทวดาหลวงเมืองมางเป็นพิธีกรรมประจำปีของลื้อบ้านมาง อันถือเป็นธรรมเนียมประเพณีสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน

และยังมีเรือนไทลื้อที่สร้างขึ้นมาเท่าขนาดจริงให้ได้ชมวิถีความเป็นอยู่ของชาวไทลื้อดั่งเดิมอีกด้วย

4,969 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดพะเยา