คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ผ้าปักชาวเมี่ยน

ตำนานกำเนิดชาวเมี่ยน

หมู่บ้านป่างค่าใต้ เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ผู้คนในหมู่บ้านส่วนใหญ่เป็นชาวเมี่ยนหรือที่รู้จักในชื่อของ "เย้า" มีความโดดเด่นทางด้านงานศิลปหัตถกรรม มีฝีมือด้านการปักผ้าที่งดงามจนเลื่องชื่อ ชาวเผ่าเมี่ยนกับศิลปะการปักผ้านั้นมีความผูกพันเชื่อมโยงกับตำนานกำเนิดของชาวเมี่ยนที่บรรพบุรุษได้เล่าสืบทอดต่อกันมา ตำนานกำเนิดชาวเมี่ยน โดยมีเรื่องราวดังนี้

 

เมื่อหลายพันปีก่อน มีเทวดามาจุติในโลกมนุษย์เป็นสุนัขมังกรชื่อว่า 'ผันตาหู' ในเวลานั้นบ้านเมืองเกิดกบฏ ผันตาหู ได้เข้าอาสาช่วยปราบกบฏให้พระราชาจนสำเร็จ และได้แต่งงานกับพระธิดาของพระราชา เมื่อถึงวันแต่งงาน ผันตาหู ได้สั่งให้ทอผ้าขึ้นผืนหนึ่ง ปักลวดลายงดงามด้วยด้ายหลากสีสัน ๗ สี เมื่อผันตาหูใช้ผ้าผืนนี้ห่มคลุมร่างกายก็กลายร่างจากสุนัขมาเป็นมนุษย์และได้ครองคู่กับเจ้าหญิง ช่วยกันสร้างเผ่าพันธุ์เมี่ยนนับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา

 

ตำนานนี้จึงได้ถูกถ่ายทอดมาสู่ลูกหลานชาวเมี่ยนจากรุ่นสู่รุ่น ลักษณะการใช้ลวดลายและสีสันบนเครื่องแต่งกายเสมือนเป็นการสืบตำนานผ้า ที่ใช้ในการปกปิดร่างกายของผันตาหูผู้ให้กำเนิดเผ่าพันธุ์เมี่ยน จึงเป็นที่มาของลักษณะเครื่องแต่งกายประจำเผ่าของชาวเมี่ยน ทั้งผ้าคาดเอว ผ้าโพกศีรษะ และกางเกงที่ปักลวดลายด้วยด้ายหลากสีสันถึง ๗ สี

 

ปัจจุบันผู้หญิงชาวเมี่ยน ยังคงสืบทอดศิลปะการปักผ้าลวดลายแบบโบราณดั้งเดิมที่สืบทอดต่อมาจากบรรพบุรุษ เสื้อผ้าผู้ชายชาวเมี่ยนจะมีการปักลวดลายที่บริเวณชายเสื้อและชายผ้าคาดเอวเพียงเล็กน้อย ต่างกับเสื้อผ้าผู้หญิงที่จะมีการปักลวดลายแพรวพราวงดงาม โดยเฉพาะกางเกงของหญิงชาวเมี่ยน เป็นที่เลื่องลือกันอย่างยิ่งถึงลวดลายที่ปักอย่างประณีตละเอียดงดงาม กล่าวกันว่ากางเกงของหญิงชาวเมี่ยนแต่ละตัวต้องใช้เวลาในการปักนานไม่น้อยกว่า ๖ เดือนถึง ๑ ปีเลยทีเดียว และชาวเมี่ยนทุกคนจะมีชุดประจำเผ่าของตัวเอง ถึงแม้ในปัจจุบันการแต่งชุดประจำเผ่าจะแต่งแค่ในวันสำคัญเท่านั้น เช่น วันขึ้นปีใหม่ เป็นต้น

เอกลักษณ์ลวดลายบนผืนผ้าชนเผ่าเมี่ยน ศิลปะการสร้างสรรค์ลวดลายบนผืนผ้าของชาวเมี่ยนที่เลื่องลือเป็นที่รู้จักและยอมรับในความงดงาม คือ งานปัก ซึ่งลวดลายงานปักแต่ละลายที่ปรากฏบนผืนผ้าแทบทุกผืนยังคงเป็นลวดลายโบราณเอกลักษณ์ดั้งเดิมที่สืบทอดต่อมาจากบรรพบุรุษตั้งแต่สมัยโบราณกาล มักมีความเกี่ยวข้องและผูกพันกับตำนาน รวมถึงความเชื่อที่สอดแทรกอยู่ในประเพณีวัฒนธรรมประจำชนเผ่าที่สืบทอดต่อกันมา

 

อาจารย์แคะเว่น ศรีสมบัติ เล่าให้ฟังว่าลวดลายผ้าปักของชาวเมี่ยนนี้เกิดจากการใช้สติปัญญาในการวางแผนการรบ ด้วยการจำลองเมืองไว้ในลวดลายกางเกง หากถึงเวลาที่ต้องออกไปรบก็จะให้ทหารดูเรื่องราวแผนการรบในกางเกง ในกางเกงหนึ่งตัวนั้นจะมีเรื่องราวของลายรอบเมือง กำแพงเมือง ทหารองครักษ์เป็นต้น ปัจจุบันงานผ้าปักได้ผสมผสานกลมกลืนเข้ากับลวดลายที่มาจากธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมรอบตัว ตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเมี่ยน ไม่ว่าจะเป็นข้าวของเครื่องใช้ในครัวเรือน พืชพรรณต่างๆ สัตว์ป่าน้อย
3
ใหญ่ การใช้สีในลวดลายปักก็ยังคงยึดถือการใช้สีเส้นด้ายที่ไม่น้อยกว่า ๗ สี ได้แก่สีแดง สีเหลือง สีน้ำเงิน สีเขียว สีม่วง สีดำ และสีขาว ผ้าปักบางผืนอาจพบลวดลายมากกว่า ๑๐ ลวดลายรวมกันอยู่ในผืนเดียว และต้องใช้เวลาในการสร้างสรรค์งานปักแต่ละผืนเนิ่นนานเป็นปีกว่าจะแล้วเสร็จ ลักษณะลวดลายที่เกิดขึ้นบนผืนผ้าสะท้อนถึงตัวตนของชนเผ่าเมี่ยนที่ชัดเจน ในปัจจุบันมีการประยุกต์สร้างสรรค์ลวดลายใหม่ๆ ขึ้นมา แต่ยังคงช่วยกันอนุรักษ์ภูมิปัญญาล้ำค่าของชนเผ่าที่สืบต่อกันมาตั้งแต่อดีต

16,846 views

3

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดพะเยา