คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

รำเหย่ย

รำเหย่ย

       ตำบลพนมทวน อำเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี นิยมเล่นเพลงเหย่ยกันมาแต่ครั้งโบราณ สืบเนื่องจากเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพักแรมที่ตำบลพนมทวน กำนันในสมัยนั้นได้รวบรวมชาวบ้านนำการแสดงพื้นบ้าน รำเหย่ยไปแสดงถวายหน้าพระที่นั่ง ซึ่งเป็นที่พอพระทัยอย่างยิ่ง ทรงตรัสสั่งให้ประชาชนชาวพนมทวนอนุรักษ์การแสดงเพลงพื้นบ้านรำเหย่ยไว้ชาวบ้านมีความภูมิใจในผลงานครั้งนั้น จึงมีการ สืบทอดกันเสมอมา ซึ่งการรำเหย่ยมีเล่นกันหลายหมู่บ้าน เช่น บ้านพนมทวน บ้านห้วยสะพาน บ้านทุ่งสมอ บ้านหนองปลิง และที่บ้านเก่า อำเภอเมืองกาญจนบุรี ในปัจจุบัน การแสดงเพลงเหย่ย ซบเซาเกือบสูญหาย กรมศิลปากรได้พิจารณาเห็นว่า การแสดงเพลงเหย่ย มีแบบแผนการแสดงที่น่าดูน่าชม ควรให้มีการแพร่หลาย จึงจัดส่งคณะนาฏศิลป์ของกรมศิลปากรไปรับการฝึกหัดและถ่ายทอดการแสดงจากชาวบ้านที่จังหวัดกาญจนบุรี
       เพลงเหย่ย เป็นการแสดงพื้นบ้านอย่างหนึ่งของชาวไทยภาคกลาง นิยมร้องและเล่นมาแต่โบราณเดิมมีชื่อเรียกกันหลายอย่างแตกต่างกันออกไปตามท้องถิ่น เช่น เพลงดอกแคร่วง เพลงกลองยาว เพลงรำแคน เพิ่งจะเรียกกันว่า เพลงเหย่ย เมื่อมีการฟื้นฟูวัฒนธรรมการละเล่นพื้นบ้านขึ้นมาที่เรียกว่า เหย่ย เป็นเพราะว่าคำร้องทุกวรรค ลงท้ายด้วยเสียงเดียวกันคือ เอย หรือ เหย่ย ซึ่งเป็นเสียงที่เพี้ยนมาจากคำว่า "เอย” การแต่งกายของผู้เล่นเพลงเหย่ย ชาย นุ่งโจงกระเบนต่างสีกัน สวมเสื้อคอกลมแขนสั้น มีผ้าขาวม้าคาดพุง และสไบพาดไหล่โดยให้ชายสไบทั้งสองข้างอยู่ด้านหลัง ส่วนผู้หญิง จะนุ่งโจงกระเบนผ้าพิมพ์ลายต่างสีสัน สวมเสื้อคอกลมแขนยาว ห่มสไบทับเสื้อ สวมใส่เครื่องประดับ สร้อยคอ ต่างหู สร้อยข้อมือ และทัดดอกไม้สีสด ส่วนใหญ่การ แต่งกายของผู้เล่นชายและหญิงจะใช้ผ้าสีสด เพื่อความสดใส สวยงาม เพลงเหย่ย" หรือ "รำเหย่ย" มีลักษณะการเล่น เริ่มจากการประโคมกลองอย่างกึกก้องเพื่อให้ผู้เล่นและผู้ดูเกิดความรู้สึกสนุกสนาน วิธีการเล่นไม่จำกัดจำนวน ผู้เล่นยิ่งมากยิ่งสนุกสนาน โดยแบ่งผู้เล่นออกเป็นฝ่ายชาย กับหญิงแต่ละฝ่ายจะมีผู้ร้องประกอบด้วยพ่อเพลง แม่เพลง ลูกคู่ และผู้รำ เมื่อเริ่มเล่นฝ่ายชายจะเป็นผู้เริ่มชวนฝ่ายหญิงให้เล่นเพลงเหย่ยกัน ฝ่ายหญิงรับคำชวนก็จะมายืนล้อมเป็นวงกับฝ่ายชาย แม่เพลงจะร้องโต้ตอบกับพ่อเพลงโดยมีลูกคู่รับทั้งสองฝ่าย เนื้อร้องส่วนใหญ่จะเป็นทำนองหยอกล้อ เกี้ยวพาราสี เครื่องดนตรีที่ใช้ในการแสดงรำเหย่ย ประกอบด้วย กลองยาว รำมะนา ฉิ่ง ฉาบใหญ่ ฉาบเล็ก กรับ และโหม่ง

 

ข้อมูลจาก   สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกาญจนบุรี    

ข้อมูลติดต่อ  035-518797  http://www.m-culture.go.th/

27,325 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดกาญจนบุรี