คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

วิถีนาเกลือสมุทร

วิถีนาเกลือสมุทร

     จังหวัดสมุทรสาครมีภูมิประเทศติดกับทะเล จึงมีการทำอาชีพทำนาเกลือมากที่สุดของประเทศไทย นาเกลือเป็นอาชีพดั้งเดิมของคนไทยที่สืบทอดกันมายาวนาน เป็นภูมิปัญญาของมนุษย์ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณซึ่งควรค่าแก่การรักษาภูมิปัญญานี้ไว้ไม่ให้สูญหายไป แต่ด้วยประสบปัญหาหลายด้าน ทำให้คนรุ่นใหม่ขาดแรงจูงใจที่จะมาสืบทอดต่อ เส้นทางสายนาเกลือจึงดูเหมือนจะค่อยๆ เลือนหายไปจากสังคมไทย และวิถีนาเกลือก็กำลังจะสูญหายไปเพราะทุกวันนี้ชาวนาเกลือมีจำนวนลดลง

    พอสิ้นฤดูฝนชาวนาเกลือจะเริ่มต้นฤดูการผลิตเกลือ ตั้งแต่ เตรียมนา กำจัดสิ่งสกปรก ปรับดิน และกลิ้งนาให้แน่นเรียบโดยใช้รถไถ จากนั้นก็เปิดน้ำกักเก็บในนาจนมีความเค็มระดับที่เหมาะสม โดยการทยอยเปิดน้ำเข้านาแปลงต่างๆตามลำดับ

น้ำจากทะเลจะไหลตามคลองส่งน้ำไปยังที่ทำกินของชาวนาเกลือ แต่เดิมมีธรรมเนียมในท้องถิ่นว่าเมื่อน้ำทะเลขึ้น นาเกลือผืนที่อยู่ปลายสุดของลำรางจะต้องได้รับน้ำก่อน ส่วนผู้ที่อยู่ใกล้กว่าจะสูบน้ำได้ทีหลัง เพื่อป้องกันปัญหาการแย่งน้ำกัน น้ำทะเลที่ผันมาตามคลองส่งน้ำจะถูกสูบเข้าไปเก็บที่วังน้ำ จากนั้นจึงจะถูกผันเข้านาประเทียบ และนาตาก เพื่อตากแดดให้น้ำระเหยออก ถัดไปเป็นนาเชื้อ ซึ่งเตรียมน้ำให้มีความเค็มจัดในระดับที่เหมาะสมจะทำเป็นเกลือ และสุดท้ายจะปล่อยน้ำเข้านาปลง ซึ่งเป็นพื้นที่ตกผลึกเกลือ กระบวนการตกผลึกหรือการปลงใช้เวลา 15 วัน ก็จะสามารถรื้อเกลือไปขายได้ เกลือรุ่นแรกของปีจะออกช่วงเดือนมกราคม และได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในฤดูแล้งที่มีแดดจัด

    ชาวนาจึงหยุดทำนาเกลือตลอดฤดูฝนเพราะเกลือกับฝนเป็นของไม่ถูกกัน แต่หากมีฝนหลงฤดูมาในช่วงการทำนาเกลือเป็นเรื่องที่โชคร้ายมาก เพราะฝนตกลงมาเพียงไม่กี่นาที ก็สามารถทำให้กองเกลือที่กำลังเตรียมเก็บขายกลายเป็นน้ำในพริบตา และไม่สามารถนำน้ำเกลือนั้นมาตกผลึกได้อีก จะต้องเริ่มทำความสะอาดนาและปล่อยน้ำเข้านาปลงใหม่ ด้วยเหตุนี้ชาวนาเกลือจึงมีการพยากรณ์อากาศที่แม่นยำมาก คือลางบอกฝนตามภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมา เช่น ถ้าน้ำในนาเกลือเริ่มแดง มีเมฆหัวแดงทางทิศตะวันออก หรือถ้าเดินที่คันนาแล้วมีดินติดเท้า นั่นแปลว่าอีก 3-4 วัน ฝนจะตก

ข้อมูลจาก : คุณมนูญ จงสกุล  ( เกษตรกรนาเกลือ )

เรียบเรียง : นางสาว ภักดิพร ดีโสภา นิสิตชั้นปีที่ 4  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

10,307 views

0

แบ่งปัน