คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ประเพณีปักธงนครไทย

ประเพณีปักธงนครไทย

ชาวนครไทยมีความเชื่อ มีความศรัทธา และยึดมั่นกับประเพณีปักธงชัย งานประเพณีปักธงชัยจะจัดขึ้นในวันขึ้น 14-15 ค่ำ เดือน 12 และขึ้นอยู่กับความพร้อม นำไปปักที่ยอดเขาช้างล้วง ซึ่งเป็นเทือกเขาที่ทอดยาวขนานไปกับถนนหมายเลข 1143 (นครไทย-ชาติตระการ)ห่างจากที่ว่าการอำเภอนครไทยประมาณ 6 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ

ในอดีต หลังจากทอธงและตกแต่งธงเสร็จแล้ว ชาวบ้านจะมารวมกันที่วัด แล้วจัดเป็นขบวนแห่ผ่านตลาด มีการตีฆ้อง สีซอ และร่ายรำเป็นที่สนุกสนาน ก่อนวันปักธง 1 วัน จะมีการนิมนต์พระมาเพื่อเจริญพระพุทธมนต์ในตอนเย็นเพื่อฉลองธง รุ่งเช้าในแต่ละวัด ทั้ง 3 วัดจะมีการทำบุญตักบาตร เสร็จแล้วมีการแห่ไปเขาช้างล้วง ผู้ที่จะขึ้นไปปักธงบนยอดเขาช้างล้วง จะต้องเตรียมอาหารสำหรับตัวเองและสำหรับเลี้ยงเพลพระบนเขาช้างล้วงด้วย หลังจากกินอาหารเช้าเสร็จก็จะเดินขึ้นเขา โดยจะเตรียมห่อข้าวไปอย่างเดียว ส่วนน้ำไม่ต้องนำไปด้วยเพราะยอดเขาแรกคือเขาฉันเพลจะมีบ่อน้ำเพียงพอสำหรับคนจำนวนหนึ่งเพราะสมัยก่อนมีคนขึ้นเขาไม่มาก ผู้ที่จะเดินทางขึ้นเขาไปปักธง จะประกอบไปด้วยพระสงฆ์ที่นิมนต์ไว้ และชาวบ้านหนองลาน หนองน้ำสร้าง บ่อไอ้จอก บ้านนาหัวเซและบ้านเนินเพิ่ม สมัยก่อนบ้านหนองลานจะนำธงไปด้วย บ้านหนองลานจะตกลงกับบ้านเหนือว่าหมู่บ้านใดทำธงอีกหมู่บ้านหนึ่งจะ ไม่ทำ ในระยะต่อมาบ้านเหนือจะทำธงบ้านหนองลานจะไปร่วมปักธงด้วย ผู้ที่จะขึ้นเขาไปปักธงนอกจากจะเตรียมน้ำเตรียมอาหารไปแล้ว จะต้องเตรียมมีดไปด้วย เพื่อถางป่าทำทางขึ้นไป ชาวบ้านจะเดินขึ้นเขาเป็นกลุ่ม กลุ่มคนหนุ่มสาว กลุ่มคนแก่ที่พอมีกำลัง และพระสงฆ์ จากตีนเขาขึ้นไปประมาณเวลา 11.00 น.ซึ่งเป็นเวลาฉันเพลของพระสงฆ์ พระจะฉันอาหารที่ถ้ำฉันเพล แต่เป็นถ้ำที่มีลักษณะของเพิงถ้ำรอดมีพื้นเป็นหิน มีพื้นที่ไม่มากนัก พระสงฆ์สามารถนั่งได้ประมาณ 8-10 รูป เมื่อไปถึงชาวบ้านจะถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ แต่ถ้วยชามเป็นภาระในการเดินขึ้นเขา ชาวบ้านมักจะห่ออาหารด้วยใบตอง หลังพระฉันเสร็จ ชาวบ้านก็จะร่วมกันรับประทานอาหาร จากนั้นชาวบ้านและพระสงฆ์ก็จะนำธงของบ้านเหนือขึ้นไปปักบนเขาฉันเพลก่อนโดยใช้บันไดไม้ไผ่ ผู้นำชาวบ้านก็จะกล่าวคำถวายธงอาราธนาให้พระสงฆ์สวดชัยมงคลคาถา ระหว่างพระสวด ผู้นำชาวบ้านก็จะนำธงขึ้นไปปักไว้ในหลุมบนยอดเขาใช้เสียบเสาธงได้ เสร็จแล้วชาวบ้านก็จะไชโยโห่ร้องทั้งผู้ที่อยู่บนยอดเขาและกองเชียร์ข้างล่าง เป็นอันเสร็จพิธีสำหรับการปักธงผืนแรก ห่างออกไปประมาณ 300 เมตร เป็นยอดเขายั่นไฮ พิธีการเหมือนกับยอดเขาแรก แต่เป็นธงของบ้านในเมืองหรือของวัดกลาง ยอดเขาสุดท้ายคือยอดเขาช้างล้วง ซึ่งเป็นยอดเขาที่ใหญ่ที่สุด และปีน ขึ้นไปยากที่สุด ยอดเขาช้างล้วงมีลักษณะเหมือนลูกช้างนอนหมอบ การปีนขึ้นไปข้างบนจะต้องลอดช่องก้อนหินขึ้นไป ซึ่งเป็น ช่องทางที่คับแคบมาก จึงเชื่อกันว่าผู้มีบุญเท่านั้นที่จะปีนขึ้นไปได้ ธงที่จะนำขึ้นไปปักจะเป็นของวัดหัวร้อง เมื่อปักธงเสร็จแล้วก็เป็นอันเสร็จพิธีสำหรับงานประเพณีปักธงชัยประจำปี

ข้อมูลจาก : สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

ข้อมูลติดต่อ : 055-267224-5 http://library.psru.ac.th

7,205 views

1

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดพิษณุโลก