คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

เว็บบอร์ด

  1. หน้าแรก
  2.    >   มิวเซียมไทยแลนด์
  3.    >   เว็บบอร์ด
  4.    >   พระชัยเมืองนครราชสีมา พุทธปฏิมาแห่งราชสีมานคร

พระชัยเมืองนครราชสีมา พุทธปฏิมาแห่งราชสีมานคร

20 กุมภาพันธ์ 2560

ชื่นชอบ 8

11,788 ผู้เข้าชม

8

แบ่งปัน
"พระชัยเมืองนครราชสีมา พุทธปฏิมาแห่งราชสีมานคร"
Phra Chai of Nakhon Ratchasima :  
The Image of Buddha of Nakhon Ratchasima.

(พระพุทธรูปสำคัญ ที่อัญเชิญออกมาในนิทรรศการ"พระพุทธรูป ณ วังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน ศุภวารกราบกรานพุทธบูชา วัสสวานร ๒๕๕๙" ณ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (พระราชวังบวรสถานมงคล) กรุงเทพฯ)




"พาหํุ สหสฺสมภินิมฺมิตสาวุธนฺตํ คฺรีเมขลํ อุทิตโฆรสเสนมารํ ทานาทิธมฺมวธินา ชิตฺวา มุนินฺโท ตนฺเตชสา ภวตุ เต ชยสิทฺธิ นิจฺจํ." อันแปลได้ว่า สมเด็จพระผู้มีพระภาค ผู้เป็นจอมของนักปราชญ์ ทรงชนะพญามารพร้อมด้วยเสนา ซึ่งเนรมิตแขนได้ตั้งพัน มีมือถืออาวุธครบทั้งพันมือ ขี่ช้างคีรีเมขล์ ส่งเสียงสนั่นน่ากลัว ด้วยธรรมวิธีทานบารมีเป็นต้น และด้วยเดชาของพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ขอชัยมงคลจงมีแก่ท่าน และที่กล่าวไปนี้คือ"ชัยสิทธิมงคลคาถา"  หรือคาถาพาหุง อันเป็นคาถาแห่งชัยชนะอันยิ่งใหญ่ของสมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า นอกจากคาถาที่เป็นเครื่องระลึกถึงชัยชนะแห่งสมเด็จพระบรมศาสดาแล้ว ในทางพุทธศิลป์ ยังมีพระพุทธรูปที่มักสร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงชัยชนะแห่งสมเด็จพระบรมศาสดาเช่นกัน 

คือ "พระชัย" หรือ พระไชย อันมีความหมายมงคลนาม หมายถึง ชัยชนะ  นับตั้งแต่โบราณกาลนั้นถือได้ว่าเป็นพระพุทธรูปสำคัญ มีพุทธลักษณะในปางมารวิชัย ตามพุทธประวัติ  ในตอนที่สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงปราบกองทัพพญามารวสวัตตี ได้ชัยชนะ และยังมีกล่าวไว้ในพระราชพงศาวดารตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในรัชสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชนั้น จะทำการอัญเชิญพระชัยไปด้วยในกองทัพยามไปราชการสงครามเพื่อสร้างขวัญและกำลังใจแก่กองทัพ ให้มีชัยชนะเหนืออริราชศัตรู นอกจากนี้ยังอัญเชิญไปตั้งในการพระราชพิธีต่าง ๆ อีกด้วย


(พระชัยเมืองนครราชสีมา องค์จริง ที่อัญเชิญออกมาจัดแสดงด้านหน้าบุษบกพระพุทธสิหิงค์ ภายในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  กรุงเทพฯ)



พระชัยเมืองนครราชสีมา  พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะอยุธยา พุทธศตวรรษที่ ๑๙ – ๒๐ เนื้อสำริด หน้าตักกว้าง ๑๕.๓ ซม. สูง ๒๒.๒ ซม.  ประทับนั่งสมาธิราบบนฐานเตี้ย พระบาทขวาทับพระบาทซ้าย ครองจีวรห่มเฉียง ชายสังฆาฏิยาวสอดอยู่ใต้ชายรัดประคดพระพักตร์สี่เหลี่ยม พระเนตรเบิกกว้าง กรอบพระพักตร์มีไรพระศก(คอ)สองเส้น ขมวดพระเกศาเล็ก พระรัศมีทำเป็นรูปคล้ายหม้อน้ำแบบศิลปะที่เรียกว่า พระพุทธรูปอู่ทอง ๒ มีจารึกอักษรขอม ภาษาบาลี (รูปแบบอักษรประมาณพุทธศตวรรษที่ ๒๒ – ๒๓) ที่องค์พระโดยรอบเป็นยันต์และหัวใจพระคาถาต่าง ๆ   ที่ด้านหน้า บริเวณพระอังสกุฏ(จะงอยบ่า)ด้านซ้ายจารึกตัวอักษร จ ที่พระนลาฏ(หน้าผาก)จารึกตัวอักษร ภ ที่พระศอจารึกตัวอักษร ก ที่พระอังสกุฎด้านขาวจารึกตัวอักษร ส  สำหรับคำว่า จะ ภะ กะ สะ นั้น  โบราณเรียกว่า คาถากาสลัก ในคัมภีร์วชิรสารัตถสังคหะ แต่งโดยพระภิกษุรัตนปัญญาเถระ โดยให้ความหมายไว้ว่ากำเนิดจากพระพุทธธรรม มงคลสูงสุด ๓๘ ประการ นั่นเอง


(พระชัยเมืองนครราชสีมา องค์จริง ที่อัญเชิญออกมาจัดแสดงด้านหน้าบุษบกพระพุทธสิหิงค์ ภายในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร  กรุงเทพฯ)




พระชัยเมืองนครราชสีมา นี้  เมื่อคราวสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จมาตรวจราชการเมืองนครราชสีมา ในปี พ.ศ. ๒๔๓๒ หรือ ปี พ.ศ. ๒๔๗๒  ไม่ปรากฏแน่ชัด  เจ้าเมืองนครราชสีมาได้นำถวายแด่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ   จึงทรงประดิษฐานไว้ ณ ห้องกลางกระทรวงมหาดไทย ศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย   แต่มากระทรวงมหาดไทยได้มอบให้กรมศิลปากรเป็นผู้เก็บรักษา  ปัจจุบันเก็บรักษา ณ  ห้องศิลปะอยุธยา อาคารประพาสพิพิธภัณฑ์  พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร (ภายในบริเวณพระราชวังบวรสถานมงคล หรือวังหน้า)  กรุงเทพมหานคร (เลขทะเบียน อ.ย.๒๕)


(พระชัยเมืองนครราชสีมา องค์จำลอง ประดิษฐาน ณ หอพระชัยเมืองนครราชสีมา ในบริเวณศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา)




และต่อมา ในปี พ.ศ. ๒๕๕๘ นายธงชัย ลืออดุลย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ในขณะนั้น ได้ร่วมกับข้าราชการ พ่อค้า และประชาชนชาวจังหวัดนครราชสีมา จัดสร้างพระชัยเมืองนครราชสีมาองค์จำลองที่มีขึ้นใหญ่กว่าองค์จริงหลายเท่าขึ้น เพื่อประดิษฐานไว้ ณ หอพระชัยเมืองนครราชสีมา ในบริเวณศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา  สำหรับให้ประชาชนชาวจังหวัดนครราชสีมาได้สักการะบูชาเป็นพระพุทธรูปจำลองอันเป็นพุทธปฏิมาแห่งราชสีมานคร และเป็นหลักชัยแห่งเมืองนครราชสีมาไปตราบนานเท่านาน


(พระชัยเมืองนครราชสีมา องค์จำลอง ประดิษฐาน ณ หอพระชัยเมืองนครราชสีมา ในบริเวณศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา)


(พระชัยเมืองนครราชสีมา องค์จำลอง ประดิษฐาน ณ หอพระชัยเมืองนครราชสีมา ในบริเวณศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา)


(พระชัยเมืองนครราชสีมา องค์จำลอง ประดิษฐาน ณ หอพระชัยเมืองนครราชสีมา ในบริเวณศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา)






เรียบเรียงและค้นคว้า โดย  ช.ท. อาทโร

เอกสารอ้างอิง

ปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระ. พระปฐมสมโพธิกถา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา, ม.ป.ป.
ศิลปากร, กรม. พระพุทธรูป ณ วังหน้า พระปฏิมาแห่งแผ่นดิน ศุภวารกราบกรานพุทธบูชา วัสสวานร ๒๕๕๙. นนทบุรี : ไทภูมิ พับลิชชิ่ง. ๒๕๕๘.

วันที่สร้าง : 12 มิถุนายน 2560

8

แบ่งปัน
สร้างโดย