คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

พระเจ้าเสือ

ถิ่นประสูติพระเจ้าเสือ

สมเด็จพรระสรรเพชญ์ที่ 8 หรือสมเด็จพระเจ้าเสือ (สมเด็จพระพุทธเจ้าเสือ) ราชวงศ์บ้านพลูหลวง พระองค์ที่ 2 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 29 แห่งกรุงศรีอยุธยา สำหรับพระสมญานามว่า “เสือ” อาจสืบเนื่องมาจากพระราชสมภพปีขาล ซึ่งแปลว่าเสือ บางท่านกล่าวว่าเป็นเพราะพระองค์มีพระนิสัยดุ จากพระราชประวัติ น่าจะหมายถึงทรงมีความเด็ดขาดในการมีรับสั่งให้ผู้ที่ปฏิบัติงานใดก็แล้วแต่ ทำงานแล้วจะต้องสำเร็จผลเป็นอย่างดี หากบกพร่องพระองค์จะมีรับสั่งให้ลงโทษ ไม่เฉพาะข้าราชบริพารเท่านั้น แม้พระราชโอรสทั้งสองก็เช่นกัน แต่หากผู้ใดมีความดีความชอบพระองค์กลับมีพระเมตตายิ่งดังเรื่อง พันท้ายนรสิงห์มหาดเล็กข้าหลวง เดิมตำแหน่งนายท้ายเรือพระที่นั่งเอกชัยของสมเด็จพระเจ้าเสือเมื่อครั้ง เสด็จทางชลมารคไปตามคลองโคกขาม เมืองสาครบุรี ลำคลองคดเคี้ยวมาก พันท้ายนรสิงห์เป็นผู้คัดท้ายเรือพระที่นั่งและเป็นผู้ทำให้หัวเรือพระที่ นั่งชนกิ่งไม้ หัวเรือพระที่นั่งหัก ซึ่งตามพระราชประเพณีนายท้ายเรือจะต้องรับโทษถึงตายแต่สมเด็จพระเจ้าเสือ ทรงมีพระเมตตาพระราชทานอภัยโทษแต่พันท้ายนรสิงห์เกรงจะเสียขนบธรรมเนียม กราบทูลขอให้พระองค์มีพระเมตตาแก่บุตรภรรยาของตนแทน และขอรับโทษตามราชประเพณี พระองค์จึงมีรับสั่งให้ปลูกศาลเพียงตาแล้วประหารชีวิตตัดศีรษะพันท้ายนรสิงห์ พร้อมทั้งนำหัวเรือพระที่นั่งขึ้นพลีกรรมไว้บนศาลด้วย

สมเด็จพระเจ้าเสือ พระนามเดิม “เดื่อ” สืบเนื่องมาจากพระมารดาและสมเด็จพระเพทราชา(จางวาง-กรมช้าง) ตามเสด็จสมเด็จพระนารายณ์มหาราชขึ้นไป นมัสการพระพุทธชินราชและพระพุทธชินสีห์ วัดพระศรี-มหาธาตุ เมืองพิษณุโลก กระบวนเสด็จพระราชดำเนินถึงตำบลโพธิ์ประทับช้าง เมืองพิจิตร พระมารดาเจ็บครรภ์คลอดพระองค์ใกล้ต้นโพธิ์ใหญ่ ซึ่งมีต้นมะเดื่อใหญ่อยู่ใกล้กัน และได้นำรกไปฝังไว้ระหว่างต้นโพธิ์กับต้นมะเดื่อเสร็จแล้วกระบวนเสด็จพระราช ดำเนินทางต่อไปจนถึงเมืองพิษณุโลก

สมัยสมเด็จพระเจ้าเสือบ้านเมืองสงบสุขไม่มีศัตรูมารุกราน แม้พระองค์โปรดการเสด็จประพาสไปในที่ต่างๆ ทั้งทางบกทางน้ำเป็นส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้ประทับในพระราชวัง แต่ก็ไม่มีผู้ใดคิดร้าย เนื่องจากเกรงอำนาจบารมีของพระองค์ โปรดการคล้องช้างป่าเพื่อนำมาใช้ในราชการ โปรดการทรงเบ็ดตกปลา ล่าสัตว์ และโปรดการชกมวยอย่างยิ่ง ทรงปลอมพระองค์เป็นสามัญชนนักมวยชาวกรุงผู้มีฝีมือเป็นเลิศเสด็จไปตามสนาม มวยต่าง ๆ เพื่อเปรียบมวยชกและทรงชนะทุกครั้งหาผู้ใดเปรียบฝีพระหัตถ์ได้ไม่ หลังการชกมวยพระองค์และทหารจะเสด็จเที่ยวชมงานเยี่ยงสามัญชนโดยไม่มีผู้ใด รู้ว่าพระองค์คือ กษัตริย์

 

 

ข้อมูลจาก http://www.phichit.go.th

 

46,829 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในกรุงเทพมหานคร