คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

มนต์รักโค้งแหลม

มนต์รักโค้งแหลม แซมเสน่ห์นารายณ์ราชนิเวศน์

ปฏิเสธไม่ได้ว่า เสน่ห์ประการหนึ่งของพระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี คือซุ้มประตูที่มีรูปทรงเป็นวงโค้งยอดแหลม (Pointed Arch) โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ไม่ซ้ำใคร แล้วที่ผนังด้านในกำแพงวัง ยังเจาะช่องซุ้มโค้งแหลมเล็ก สำหรับตามประทีป หรือวางตะเกียงส่องสว่างอีกนับพันช่อง

ชวนให้จินตนาการถึงค่ำคืนที่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ พ.ศ.2199 – 2231) ทรงเปิดพระราชวังต้อนรับพระราชอาคันตุกะจากแดนไกล โดยใช้ “ตึกเลี้ยงต้อนรับแขกเมือง” เป็นสถานที่จัดงานสโมสรสันนิบาต ยามนั้นจะงดงามอลังการเพียงใด

สะท้อนยุคทองของเศรษฐกิจการค้า ศิลปวัฒนธรรม และการเจริญสัมพันธไมตรีกับนานาอารยะประเทศ จนกรุงศรีอยุธยาประหนึ่งเป็นสโมสรที่มีชาวนานาชาติพันธุ์มาชุมนุมกันมากถึง 40 ชนชาติภาษา ตามที่ เดอ ลาลูแบร์ ราชทูตฝรั่งเศสบันทึกไว้

หนึ่งในจำนวนนั้นคือชาวเปอร์เชีย หรือ “แขกเปอร์เซีย” ที่เข้ามาค้าขายเป็นล่ำเป็นสันกับชาวอยุธยา จนร่ำลือกันว่าพระเจ้ากรุงเปอร์เซียถึงกับแต่งทูตมาถวายคัมภีร์อัล กุรอ่าน เพื่อเชิญเสด็จสมเด็จพระนารายณ์ให้เปลี่ยนศาสนา เป็นเหตุให้ฝรั่งเศสต้องรีบแต่งราชทูตมาทูลเชิญให้เข้ารีตเป็นชาวคริสเตียนเช่นกัน ทว่า ก็เป็นเจตนาที่ล้มเหลวด้วยกันทั้งสองฝ่าย

ขณะเดียวกัน ราชสำนักอยุธยาก็ส่งคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรีกับราชสำนักเปอร์เซีย สมัยชาห์สุลัยมานแห่งราชวงศ์ซาฟาวิยะห์ ซึ่งเป็นยุครุ่งเรืองทางศิลปกรรม และสถาปัตยกรรม อันเป็นเหตุให้รูปทรงสถาปัตย์แบบวงโค้งยอดแหลม (Pointed Arch) เลื่อนไหลถ่ายเทมาเติมเสน่ห์ให้ซุ้มประตูพระนารายณ์ราชนิเวศน์ตราบจนวันนี้

ในทางสถาปัตยกรรม ช่องโค้ง (Arch) เป็นภูมิปัญญาในการออกแบบโครงสร้างลักษณะโค้ง เพื่อใช้รองรับน้ำหนักสิ่งก่อสร้างด้านบนเหนือตัวมันเอง เป็นเทคนิควิธีที่มีพัฒนาการมาแต่สมัยเมโสโปเตเมีย อียิปต์ และโดยเฉพาะในสมัยโรมันเรืองอำนาจ

จากช่องโค้งธรรมดา พัฒนาไปสู่วงโค้งยอดแหลม (Pointed Arch) โครงสร้างสำคัญของโบสถ์ในศาสนาคริสต์ มัสยิดในศาสนาอิสลาม ซึ่งนอกจากเป็นเทคนิคถ่ายเทน้ำหนักสิ่งก่อสร้างแล้ว ยังเป็นสัญลักษณ์แทนจิตใจมนุษย์ที่มุ่งทำแต่ความดี เพื่อจะได้ใกล้ชิดพระเจ้าบนสรวงสวรรค์ พบเห็นได้ในศิลปะสถาปัตยกรรมแบบกอทิก ศิลปะเปอร์เซีย และศิลปะไบแซนไทน์ และกอทิกแบบเวนิเทียน (Venetian Gothic) ซึ่งผสมผสานกอทิกกับไบแซนไทน์ เข้าด้วยกัน
เช่น รูปทรงวิหารซานมาร์โก และพระราชวังดอจ ในเมืองเวนิส อิตาลี ถือเป็นศิลปะ “กอทิกแบบเวนิเทียน” ที่ส่งแรงบันดาลใจให้ล้นเกล้า รัชกาลที่ 6 ทรงสร้าง “บ้านนรสิงห์” ด้วยศิลปะลูกผสมนี้ โดยปัจจุบัน บ้านนรสิงห์เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในนาม ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล

สำหรับซุ้มประตูโค้งแหลม ณ พระนารายณ์ราชนิเวศน์ ศาสตราจารย์พิทยา บุนนาค ผู้ศึกษาอิทธิพลศิลปกรรมเปอร์เซียในสถาปัตยกรรมอยุธยา ระบุว่าเป็นโค้งแบบอิสลาม ไม่ใช่โค้งแบบกอทิก และมีลักษณะพิเศษคือเป็นโค้งยอดแหลมแบบตวัดเล็กน้อย งดงามไปอีกแบบหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม มนต์รักโค้งแหลมที่แซมเสน่ห์ให้นารายณ์ราชนิเวศน์ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรมเปอร์เซียที่ปรากฏเด่นชัดในสังคมไทย นอกเหนือไปจาก กุหลาบ แกงมัสมั่น ขนมซ่าหริ่ม ข้าวหมกไก่ รวมถึงคำว่า “ฝรั่ง”   ก็มาจาก “ฟารังงี” ที่ชาวเปอร์เซียใช้เรียกชาวตะวันตก และอีกมากมายหลายคำ ที่ซึมแทรกอยู่ในสังคมไทยมาช้านาน...ตราบจนวันนี้   

*เอกสารอ้างอิง

1.น. ณ ปากน้ำ. “ศิลปะและวัฒนธรรมจากดินแดนอาหรับเมื่อแรกเข้าสู่สยามประเทศ“ สนพ.เมืองโบราณ, 2534

2.เว็บไซต์ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร https://www.surdi.su.ac.th

 

 

 

หมูตึกสิบสองท้องพระคลัง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

วิหารซานมาร์โก เวนิส อิตาลี

 

 

 

 

 

 

 

พระราชวังดอจ เวนิส

 

 

 

 

 

 

 

 

ตึกเลี้ยงต้อนรับแขกเมือง

 

ผู้เขียนบทความ : teeraparb lohitkul

10,137 views

1

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดลพบุรี