คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

วัฒนธรรมเพลงโคราช

วัฒนธรรมโคราช เพลงโคราช

         เพลงโคราช คือ วัฒนธรรมของคนโคราชโดยแท้ เพราะมีทำนองการร้องที่ไม่ใช่การขับเสภา หมอลำ หรือเพลงอื่นๆ และถ้าจะมารับฟัง ก็ต้องมาที่เมืองโคราชเท่านั้น ถึงจะได้ฟังของแท้ โดยประวัติของเพลงโคราชนั้น มีการเล่าขานกันมาว่า มีนายพรานคนหนึ่งชื่อเพชรน้อย ออกไปล่าสัตว์ในเขตหนองบุนนาก บ้านหนองบุนนาก อำเภอโชคชัย จังหวัดนครราชสีมา คืนหนึ่งแกไปพบลูกสาวพญานาคขึ้นมาจากหนองน้ำ มานั่งร้องเพลงคนเดียว พรานเพชรน้อยได้ยินเสียง จึงแอบเข้าไปฟังใกล้ๆ แกประทับใจในความไพเราะ และเนื้อหาของเพลง จึงจำเนื้อและทำนองมาร้องให้คนอื่นฟัง ลักษณะเพลงที่ร้องเป็นเพลงก้อม หรือเพลงคู่สองอีกตำนานหนึ่งเล่าว่า ชาวโคราชได้เพลงโคราชมาจากอินเดีย โดยพระยาเข็มเพชรเป็นผู้นำมาพร้อมๆ กับลิเก และลำตัด โดยให้ลิเกอยู่กรุงเทพฯ ลำตัดอยู่ภาคกลาง และเพลงโคราชอยู่ที่นครราชสีมา เพลงโคราชระยะแรกๆ เป็นแบบเพลงก้อม คนที่เรียนรู้เพลงโคราช จากพระยาเข็มเพชร ชื่อตาจัน บ้านสก อยู่ "ซุมบ้านสก" ติดกับ สถานีรถไฟชุมทางถนนจิระ ตำนานทั้งสองถึงแม้จะต่างกันในด้านกำเนิดแต่ตรงกันอย่างหนึ่งที่กล่าวว่าเพลโคราชระยะแรกเล่นแบบเพลงก้อม ก้อม เป็นภาษาโคราชและภาษาอีสาน แปลว่า สั้น เพลงโคราชมีเอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งคือการแต่งกาย คือใส่โจงกระเบน และ ใส่เสื้อสีต่างๆ ตามวัน ณ ปัจจุบัน มีการขับร้องกันทุกอำเภอในโคราช แต่ถ้าในเมืองโคราชนั้น ส่วนใหญ่ก็จะหัดขับร้องอยู่กันที่ลานย่าโม

         ปัจจุบันเพลงโคราชจะนิยมขับร้องในหมู่คนรุ่นเก่าๆ คนสมัยใหม่นั่นไม่ค่อยสนใจเลย ทั้งที่เพลงโคราชนั้นเป็นวัฒนธรรมของคนโคราชแท้ๆ แต่ก็ยังถือว่าโชคดีที่ยังคงมีผู้คนที่ต้องการที่จะเรียนรู้ และฝึกฝน ประเด็นที่หยิบยกมานี้ ต้องการให้รับรู้ว่าโคราชนั้นยังมีวัฒนธรรม สังคม สถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมที่ยังไม่สูญหายไปและคงไม่มีวันสูญหายไป

........................................

Credit by :
นายกิตติศักดิ์ มีสัจจะธรรม

13,102 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดนครราชสีมา