คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ประตูชุมพลยามค่ำคืน

         ประตูเมืองทางทิศตะวันตกของเขตเมืองเก่า เป็นประตูเมืองเพียงแห่งเดียว ในบรรดาประตูเมืองทั้งหมด 4 ประตูของเมืองนครราชสีมา ที่ยังคงสภาพเดิมอยู่พร้อมกำแพงเมืองเก่า สำหรับ ชื่อประตู "ชุมพล" นั้นหมายความถึง ที่ชุมนุมพลส่วนใหญ่ เป็นประตูสำหรับเตรียมไพร่พล และออกศึก เนื่องจากมีภูมิประเทศเปิดกว้าง ไม่มีป้อมปราการตามธรรมชาติเหมือนประตูอื่นๆ

         เดิมความพิเศษของประตูชุมพล คือ ตรงเหนือช่องประตูจะมีเรือนไม้หลังเล็กๆ เป็นเรือนแบบไทยมีหลังคามุงกระเบื้อง ประดับด้วยช่อฟ้าใบระกา เรียกว่า “หอรบ” เอาไว้สำหรับบัญชาการรบ ส่วนของกำแพงที่ต่อไปทั้งสองข้างส่วนบน ทำเป็นรูปใบเสมา ใต้ใบเสมาเจาะช่องเป็นรูปกากบาท เพื่อใช้ลอบดูข้าศึกด้านนอก และมีบันไดขึ้นหอรบ กำแพงเมืองนี้แต่เดิมได้สร้าง ล้อมรอบเมืองโคราช โดยมีคูน้ำคู่ขนานกันไปเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นปราการอันแข็งแกร่ง เพื่อปกป้องเมืองโคราชจากข้าศึก ศัตรูมาหลายยุคหลายสมัย

         เชื่อกันว่าหากลอดประตูนี้ 1 ครั้ง จะได้กลับมาโคราชอีกในไม่ช้า ถ้าลอด 2 ครั้งจะได้ทำงานหรือมาอยู่ที่โคราช แต่ถ้าลอดถึง 3 ครั้งก็จะได้คู่ครองเป็นคนโคราช ประตูชุมพลอยู่ด้านหลังของย่าโม ทำให้ผู้คนที่ไปกราบไหว้ย่าโมได้ลอดประตูชุมพลด้วย

........................................

Credit by :
นางสาวขวัญฤดี หวดขุนทด

1,852 views

0

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดนครราชสีมา