คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
คำแนะนำการใช้งาน
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

ย้อนกลับ

ท้าวสุรนารีสตรีแกร่ง

“ท้าวสุรนารี วีรสตรีไทย ศูนย์รวมใจของชาวโคราช”

         “หญิงไทยใจกำแหง ดาบก็แกว่งเปลก็ไกว สู้ศึกไม่หวั่นไหว เกียรติกำจาย กระเดื่องดิน” นี่คือส่วนในเนื้อเพลงสดุดีวีรกรรมท้าวสุรนารี ที่ชาวโคราชได้แสดงความกตัญญูและสดุดีวีรกรรมของท้าวสุรนารี ทุกวันที่ ๒๓ มีนาคม ของทุกปีอันเป็นวันที่จารึกในประวัติศาสตร์ชาติไทยว่า เป็นวันแห่งชัยชนะของท้าวสุรนารี ที่มีชัยชนะขับไล่กองทัพของเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ได้ ในวีรกรรมทุ่งสัมฤทธิ์ เมื่อปี ๒๓๖๙

         ท้าวสุรนารี วีรสตรีไทย ผู้ที่ได้ขับไล่อริราชศัตรูอย่างกล้าหาญ วีรกรรมของท่านยังเป็นที่กล่าวขานมาจวบจนปัจจุบันอีกทั้งเป็นที่เคารพศรัทธายิ่งของชาวนครราชสีมา และประชาชนชาวไทย ที่ได้เดินทางมากราบสักการะที่จังหวัดนครราชสีมา จนอาจกล่าวได้ว่า ควันธูปที่บริเวณอนุสาวรีย์ของท่านมิได้มีวันจางหายไป และยังติดอยู่ตลอดเวลา เพราะในฐานะของวีรสตรีไทยผู้ที่ได้ขับไล่กองทัพทหารลาวแล้ว ท้าวสุรนารี(คุณหญิงโม) หรือที่ชาวโคราชเรียกกันอย่างติดปากว่า “ย่าโม” คุณงามความดีของท่านเป็นที่ประจักษ์อยู่ในประวัติศาสตร์ชาติไทย และได้รับพระมหากรุณายกย่องมาตั้งแต่แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เป็นต้นมา ตราบจนปัจจุบัน

         “ท้าวสุรนารี เป็นผู้ที่เสียสละเพื่อให้ประเทศชาติได้อยู่รอดปลอดภัย ควรที่อนุชนรุ่นหลัง จะได้ระลึกถึงคุณงามความดีของท่าน บ้านเมืองทุกวันนี้เป็นสิ่งที่ต้องหวงแหน การหวงแหน คือ ต้องสามัคคี รู้จักหน้าที่ ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน ชาวนครราชสีมาได้แสดงพลังต้องการความเรียบร้อย ความสงบ เป็นปัจจัยสำคัญทำให้ชาติกลับปลอดภัยอีกครั้งหนึ่ง แม้ว่าสถานการณ์รอบตัวเราและรอบโลก จะผันผวนและ ล่อแหลมมาก แต่ถ้าทุกคนเข้มแข็ง สามัคคี กล้าหาญ และเอื้อเฟื้อต่อกัน ชาติก็จะมั่นคง”พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ ๙ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี มาทรงวางพวงมาลา ณ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี เมื่อวันที่ ๕ เมษายน ๒๕๒๔

         ท้าวสุรนารี ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อปี ๒๓๙๕ สิริอายุได้ ๘๑ ปี เจ้าพระยามหิศราธิบดี (ทองคำ) ผู้เป็นสามี ได้จัดการศพ และสร้างเจดีย์บรรจุอัฐิไว้ ณ วัดศาลาลอย ซึ่งเป็นวัดที่ท้าวสุรนารีได้สร้างไว้ เมื่อเวลาผ่านไปเจดีย์ชำรุดลง พลตรีเจ้าพระยาสิงหเสนี (สอาด สิงหเสนี) ข้าหลวงเทศาภิบาลเมืองนครราชสีมา ได้บริจาคเงินสร้างกู่ขนาดเล็ก(ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ มหาวีรวงศ์) บรรจุอัฐิท้าวสุรนารีขี้นใหม่ ไว้ที่วัดพระนารายณ์มหาราช(วัดกลางนคร) ต่อมากู่นั้นได้ทรุดโทรมลงมาอีก ไม่สมเกียรติ

         พระยากำธรพายัพทิศ (ดิส อินทรโสฬส) ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วยข้าราชการ และประชาชนชาวนครราชสีมา ได้พร้อมใจกันสร้างรูปหล่อของท้าวสุรนารี ซึ่งทางกรมศิลปากรได้มอบให้ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ออกแบบ ร่วมกับพระเทวาภินิมมิตร (ฉาย เทียมศิลปไชย) สร้างเป็นรูปหล่อทองแดงรมดำ แต่งกายด้วยเครื่องยศพระราชทาน ในท่ายืนมือขวากุมดาบ ปลายดาบจรดที่พื้น มือซ้ายท้าวสะเอว หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ซึ่งเป็นทิศที่ตั้งของกรุงเทพมหานคร เพื่อแสดงถึงความจงรักภักดีต่อพระราชวงศ์จักรี และเป็นอนุสาวรีย์ของสามัญชนสตรีคนแรกของไทยที่ประชาชนชาวนครราชสีมา ได้ร่วมใจกันสร้างฐานอนุสาวรีย์บรรจุอัฐิท้าวสุรนารีขึ้นใหม่ เพื่อให้เป็นศรีสง่าแก่เมืองนครราชสีมา และเป็นที่ระลึกถึงคุณงามความดีแห่งวีรกรรมของท่านไปตลอดกาลนาน

เอกสารอ้างอิง
จารึกประวัติการสร้างอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (บริเวณด้านหลังอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี), เทศบาลนครนครราชสีมา, นครราชสีมา, ๒๕๓๐
นครราชสีมา, จังหวัด. ประวัติความเป็นมาของท้าวสุรนารี. นครราชสีมา : สํานักงานจังหวัดนครราชสีมา, ๒๕๕๒.

........................................


Credit by :
นายชินาทร กายสันเทียะ

47,671 views

1

แบ่งปัน

มิวเซียมในจังหวัดนครราชสีมา