คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
Instructions for use
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Back

เวียงกุมกาม

“เวียงกุมกาม” อดีตเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนา

     “เวียงกุมกาม” ตั้งอยู่ที่ ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอดีตเมืองหลวงของอาณาจักรล้านนา ที่พญามังรายโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1829 โดยโปรดให้ขุดคูเวียงทั้ง 4 ด้าน ไขน้ำแม่ปิงให้ขังไว้ในคูเมือง โบราณสถานที่ปรากฏอยู่ในเวียงกุมกามและใกล้เคียงเป็นเมืองทดลองที่สร้างขึ้นมา ก่อนที่จะมาเป็นเมืองเชียงใหม่

การสถาปนา

     “เวียงกุมกาม” เกิดขึ้นหลังจากที่พญามังรายได้ปกครองและพำนักอยู่ในนครหริภุญชัย(ลำพูน)อยู่ 2 ปี พระองค์ทรงศึกษาสิ่งหลายๆอย่างและมีพระราชดำริที่จะลองสร้างเมืองขึ้น เมืองนั้นก็คือ”เวียงกุมกาม” แต่พระองค์ก็ทรงสร้างไม่สำเร็จ เพราะเวียงนั้นมีน้ำท่วมอยู่ทุกปี จนพญามังรายจึงทรงต้องไปปรึกษาพระสหายคือพ่อขุนรามคำแหงแห่งสุโขทัยและพญางำเมืองแห่งอาณาจักรพะเยา หลังจากทรงปรึกษากันแล้วจึงทรงตัดสินใจไปหาที่สร้างเมืองใหม่ ในที่สุดจึงได้พื้นที่นครพิงค์เชียงใหม่เป็นเมืองใหม่และเป็นเมืองหลวงแห่งอาณาจักรล้านนาต่อมา จึงสรุปได้ว่าเวียงกุมกามนั้นเป็นเมืองที่ทดลองสร้างขึ้น

การล่มสลาย

     เวียงกุมกามล่มสลายลงเพราะเกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2101 – 2317 ซึ่งตรงกับสมัยพม่าปกครองล้านนา พม่าปกครองล้านนาเป็นเวลาสองร้อยกว่าปี แต่ไม่ปรากฏหลักฐานที่กล่าวถึงเวียงกุมกามทั้งๆที่เหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่นี้เป็นเรื่องร้ายแรงมาก ผลของการเกิดน้ำท่วมนี้ทำให้เวียงกุมกามถูกฝังจมลงอยู่ใต้ตะกอนดินจนยากที่จะฟื้นฟูกลับมา สภาพวัดต่างๆและโบราณสถานที่สำคัญเหลือเพียงซากวิหารและเจดีย์ร้างที่จมอยู่ใต้ดินในระดับความลึกจากพื้นดินลงไปประมาณ 1.50 -2.00 เมตร โดยวัดที่จมดินลึกที่สุดคือวัดอีค่าง รองลงมาคือ วัดปู่เปี้ย และวัดกู่ป่าด้อม

การขุดค้นพบ

     ในปี พ.ศ. 2527 เรื่องราวของเวียงกุมกามก็เริ่มเป็นที่สนใจของนักวิชาการและประชาชนทั่วไป ทำให้หน่วยศิลปากรที่ 4 ขุดแต่งบูรณะวัดร้าง(ขุดแต่งวิหารกานโถม ณ วัดช้างค้ำ) และบริเวณโดยรอบเวียงกุมกามอย่างต่อเนื่องจนถึง พ.ศ. 2545 ปัจจุบันเวียงกุมกามก็ได้รับการพัฒนาให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ เพราะเห็นว่าเวียงกุมกามมีความสมบูรณ์และเป็นแหล่งความรู้การศึกษาในแบบของเรื่องราวทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมตลอดจนวัฒนธรรมล้านาต่างๆ โดยศูนย์กลางของการนำเที่ยวชมโบราณสถานต่างๆในเขตเวียงกุมกามอยู่ที่วัดช้างค้ำ

ที่ตั้ง และ ลักษณะ

     เวียงกุมกามมีผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีความยาวประมาณ 850 เมตร ไปตามแนวทิศตะวันออกเฉียงใต้สู่ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และกว้างประมาณ 600 เมตร ตัวเมืองยาวไปตามลำน้ำปิงสายเดิมที่เคยไหลไปทางด้านทิศตะวันออกของเมือง ดังนั้นในสมัยโบราณตัวเวียงกุมกามจะตั้งอยู่บนฝั่งทิศตะวันตกหรือฝั่งเดียวกับเมืองเชียงใหม่ แต่เชื่อกันว่าเนื่องจากกระแสของแม่น้ำปิงเปลี่ยนทิศทาง จึงทำให้เวียงกุมกามเปลี่ยนมาตั้งอยู่ทางฝั่งด้านตะวันออกของแม่น้ำดั่งเช่นปัจจุบัน

     ปัจจุบันเวียงกุมกามอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองเชียงใหม่ ประมาณ ก.ม. 3-4 ถนนเชียงใหม่-ลำพูน ด้านขวามือ ในเขตตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภีและอยู่ใกล้ฝั่งด้านทิศตะวันออกของแม่น้ำปิง

โบราณสถานที่สำคัญ

     หลังจากที่หน่วยกรมศิลปากรที่ 4 เชียงใหม่ได้ทำการขุดค้นหาซากเมืองและโบราณสถานเพิ่มเติมก็ได้ค้นพบเจอวัดต่างๆที่จมอยู่ใต้พื้นดินเป็นจำนวนหลายวัด ดังต่อไปนี้

วัดกู่คำ หรือวัดเจดีย์เหลี่ยม

     เป็นวัดที่ตั้งอยู่นอกเวียงกุมกาม พญามังรายทรงให้ขุดคูเมืองทั้ง ๔ ด้าน แล้วนำดินที่ขุดได้มาทำเป็นอิฐประกอบกับการใช้ศิลาแลงเพื่อก่อเจดีย์ ลักษณะเจดีย์เป็นเจดีย์กลวงสี่เหลี่ยมข้างในเจดีย์มีทางเข้าออกได้ มีพระพุทธรูปประดับด้านละ ๑๕ องค์ แต่ละด้านมีซุ้มพระชั้นละ ๓ องค์ มี ๕ ชั้น รวมทั้งองค์เจดีย์มีพระพุทธรูป ๖๐ องค์ โดยวัดนี้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐมเหสีพระองค์หนึ่งที่สิ้นชีวิตที่เวียงกุมกาม

วัดกานโถม หรือวัดช้างค้ำ

     เป็นวัดสำคัญของเวียงกุมกามควบคู่กับวัดกู่คำ สาเหตุที่ชื่อวัดกานโถม เพราะตั้งชื่อตามนายช่างกานโถมหรือหลานของพญามังราย ซึ่งเป็นผู้สร้างวัดนี้ พญามังรายโปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมธาตุที่ได้จากประเทศลังกา ลักษณะเจดีย์มีฐานกว้าง ๑๒ เมตร สูง ๑๘ เมตร ทำซุ้มคูหา ๔ ทิศ ชั้นล่างไว้พระพุทธรูป ๔ องค์ ชั้นบนไว้พระพุทธรูปยืน ๑ องค์ การซ่อมเจดีย์กานโถม ครั้งสุดท้ายอยู่ในปลายสมัยรัชกาลที่ ๕ ผลของการซ่อมได้กลายเป็นศิลปะพม่าซึ่งเป็นเจดีย์รูปช้างค้ำ อันเป็นที่มาของชื่อวัดช้างค้ำ

วัดหัวหนอง

     ตั้งอยู่ในเวียงกุมกาม ใกล้กำแพงเมืองด้านเหนือ วัดมีพื้นที่ประมาณ ๔ ไร่ ภายในวัดมีสิ่งก่อสร้างประกอบด้วยซุ้มโขงประตูใหญ่ อุโบสถ มณฑป วิหารและเจดีย์ ซึ่งมีการสันนิษฐานว่าเป็นที่ประทับของกษัตริย์มาก่อน

วัดธาตุขาว

     ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของเวียงกุมกาม อยู่ลึกจากผิวดินประมาณ ๑ เมตร ประกอบด้วยเจดีย์ อุโบสถ และมณฑป ลักษณะสถาปัตยกรรมของเจดีย์เป็นเจดีย์กลม ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมย่อมุม แบบศิลปะล้านนา

ขอบคุณภาพและเนื้อเรื่อง จาก

www.wiangkumkam.com

www.chiangmai.siamdot.com

37,972 views

0

share

Museum in Chiang Mai

14 September 2023
23,087
551
16 July 2020
23,294
1,637
11 January 2019
3,448
301
07 February 2022
46,962
794
11 August 2018
8,314
595
08 August 2022
7,081
608
30 April 2019
38,102
718
17 March 2022
34,850
688