คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
Instructions for use
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Back

เมืองเรณูนคร

ประวัติเมืองเรณูนคร

         

           ชาวผู้ไทย เคลื่อนย้ายข้ามแม่น้ำโขงสู่อาณาจักรไทยครั้งแรก โดยการกวาดต้อนในสมัยกรุงธนบุรี พ.ศ. 2322 คือกลุ่ม ลาวทรงดำ ได้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่จังหวัดเพชรบุรี และสมัยรัชกาลที่ 1 พ.ศ. 2335 ได้อพยพกวาดต้อนลาวทรงดำ ลาวพวน ผู้ไทย ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่จังหวัดเพชรบุรี ภาคกลางบางส่วน และจังหวัดกาฬสินธุ์ นครพนม สกลนคร

          ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2369 พระเจ้าอนุรุทธกุมาร (เจ้าอนุวงศ์) เวียงจันทร์ เป็นกบฏต่ออาณาจักรไทย ได้ยกกำลังเข้ามากวาดต้อนผู้คนภาคอีสาน ตั้งแต่เมืองนครราชสีมาไปเป็นกำลังแก่เวียงจันทร์ พระองค์ทรงโปรดเกล้าให้เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เป็นแม่ทัพหน้า ยกกำลังไปปราบ และตั้งทัพอยู่ที่เมืองนครพนมปราบกบฏจนสงบ เพื่อตัดกำลังพลในนครเวียงจันทร์และบั่นทอนอำนาจ จึงกวาดต้อนกลุ่มชนเผ่าต่างๆเข้ามาสู่ประเทศไทยหลายครั้ง

          พ.ศ. 2377 พระยามหาอมาตย์ (ป้อม อมาตยกูล) ได้เกณฑ์กองทัพเมืองนครพนม มุกดาหาร เขมราฐ อุบลราชธานี ยโสธร ยกกองทัพข้ามแม่น้ำโขงไปกวาดต้อน กลุ่มชนชาว ข่า โส้ แสก ย้อ ผู้ไทย ให้อพยพมาตั้งบ้านเรือนอยู่นครพนม มุกดาหาร สกลนคร กาฬสินธุ์

       พ.ศ. 2384 ทรงโปรดเกล้าให้มหาสงครามและเจ้าอุปราช (ติสสะ) ซึ่งเป็นอนุชาของเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทร์ แต่มาสวามิภักดิ์ต่อไทยยกกองทัพหัวเมืองคือ นครพนม มุกดาหาร หนองหาร หนองคาย ภูเวียง เขมราฐ โดยแยกเป็น 4 ทาง ไปตีเมืองวัง เมืองตะโปน เมืองพิน เมืองนอง เมืองเชียงฮ่ม เมืองผาบัง บางคนหลบหนีเข้าป่า บางคนหลบหนีเข้าเขตญวน ในครั้งนี้ได้กวาดต้อนผู้คนอพยพให้มาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ เมืองกุฉินารายณ์ อากาศอำนวย วานรนิวาส เขตพื้นที่เมืองสกลนคร เมืองรามราชเขตพื้นที่เมืองนครพนม เมืองหนองสูง เขตพื้นที่เมืองมุกดาหาร

          เฉพาะผู้ไทยเมืองวัง ได้อพยพข้ามแม่น้ำโขงมาสู่แผ่นดินไทยใน พ.ศ. 2384 นำโดย ท้าวเพชร ท้าวสาย ท้าวไพ สามพี่น้อง เป็นบุตรพระยาเตโช (ต้นตระกูลเตโช) พร้อมด้วย ท้าวบุตร ท้าวอินทิสาร ทั้งสองคนนี้เป็นลูกเขยของพระยาเตโช ได้นำชาวผู้ไทยจากเมืองวัง ต่อลอยแพข้ามแม่น้ำโขงมาขึ้นฝั่งไทยที่บ้านพระกลางท่า (เขตอำเภอธาตุพนมในปัจจุบัน) และได้ขึ้นไปกราบนมัสการ พระภิกษุทาเจ้าสำนักธาตุพนม ท่านได้แนะนำให้ไปตั้งบ้านเรือนที่ดงหวาย แขวงเมืองนครพนม โดยมีควาญช้างชื่อ บักเอก เป็นผู้นำทางเมื่อตั้งถิ่นฐานแล้ว ชาวบ้านเรียกดงหวายว่า เมืองเว

พระธาตุเรณู (อ.เรณูนคร)

          ประดิษฐานอยู่ ที่วัดพระธาตุเรณู ตำบลเรณู อำเภอเรณูนคร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2461 โดยอาจารย์เม้า วงษา และอุปปัชฌาอินทร์ โดยจำลองมาจากองค์ พระธาตุพนม มีความสูง 35 เมตร กว้าง 8.37 เมตร มีซุ้มประตู 4 ด้าน ภายในเป็นโพรง บรรจุพระไตรปิฎก พระพุทธรูปทองคำ ภายในวัดพระธาตุเรณู นอกจากมีองค์พระธาตุแล้ว ยังมีพระรูปพระองค์แสน (น้ำหนัก 1,200 กิโลกรัม หน้าตักกว้าง 50 เซนติเมตร สูง 50 เซนติเมตร) มีพระพุทธลักษณะสวยงามมาก

          อำเภอเรณูนคร เป็นถิ่นที่อยู่ของชาวผู้ไทย ซึ่งยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นไว้เป็นอย่างดี อาทิ ธรรมเนียมการต้อนรับด้วยการบายศรีสู่ขวัญ การเลี้ยงอาหารแบบพาแลง การชวนดูดอุ การฟ้อนรำผู้ไทย การฟ้อนนับเป็นการแสดงศิลปะและวัฒนธรรมแบบพื้นเมือง สมัยก่อนเรียกการฟ้อนรำว่า "ฟ้อนละครไทย" ปัจจุบันจะยึดการฟ้อนรำแบบดั้งเดิม

 

ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเรณูนครhttp://district.cdd.go.th/renunakhon/about

us/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2/

จัดหาข้อมูลโดย นางสาวอันนานี รีจิ

6,600 views

0

share