คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
Instructions for use
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Back

หนองน้ำมนต์

หนองน้ำมนต์ คนเมืองหวาน

หนองน้ำมนต์ ผ่านไปใครแวะมาจะรู้บ้างหนอ ว่านี่คือชื่อเดิมของ “หนองมน” ที่เรารู้จักกันเป็นดิบดี มองผิวเผินตลาดหนองมน ก็คงเป็นตลาดเก่าแก่ ที่นักท่องนักเที่ยวต่างแวะเวียนกันมาชม ชิม ช็อป กันตามประสาคนหาช่วงเวลาแห่งความสุข แต่น้อยคนนัก ที่จักรู้ความเป็นมาหรือประวัติอันเลื่องลือเมื่อครั้นก่อนของที่แห่งนี้ หนองมนที่ผู้คนรู้จักนี้ มันมีที่มาอย่างไร..

เปิดตำนาน อันคำว่าชื่อ"หนองมน"นั้น หลายๆคนอาจจะสงสัยว่าชื่อนี้  ได้แต่ใดมา ซึ่งตามตำนานของหมู่บ้านแห่งนี้ก็ได้บันทึกเอาไว้ว่า หนองมน เดิมที

เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ของ จ. ชลบุรี วันหนึ่งมีพระภิกษุรูปหนึ่งมาธุดงค์และได้ปักกลดค้างแรมข้างหนองน้ำแห่งหนึ่งในละแวกนั้น ซึ่งก็เป็นเวลาที่หมู่บ้านแห่งนี้และหมู่บ้านใกล้เคียงเกิดโรคระบาดร้ายแรงขึ้นพอดี ส่งผลให้ชาวบ้านต่างบาดเจ็บล้มตายกันเป็นจำนวนมาก แม้ว่าชาวบ้านจะพยายามให้หมอกลางบ้านหรือหมอยาสมุนไพรก็ไม่สามารถรักษาให้หายได้ ด้วยความวิตกกังวลชาวบ้านจึงอาราธนาพระธุดงค์ให้มาช่วยเหลือ พระธุดงค์รูปนั้นจึงได้ทำพิธีปลุกเสกน้ำมนต์ให้ชาวบ้านที่มาขอน้ำมนต์นำไปดื่มกินและประพรมตัวให้คนที่เจ็บไข้ได้ป่วย ปรากฏว่าโรคร้ายหายไปไม่มีใครล้มป่วยอีก ชาวบ้านที่หมู่บ้านใกล้เคียงได้ยินกิตติศัพท์ในการรักษาโรคร้าย ต่างก็พากันมาขอน้ำมนต์จากหลวงพ่อไปรักษาโรคร้ายในหมู่บ้านของตนบ้าง

จนพระธุดงค์ไม่สามารถทำน้ำมนต์ให้เพียงพอกับความต้องการของชาวบ้านได้ ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันขุดพื้นดินตรงที่พักของพระธุดงค์เป็นบ่อน้ำ ก่อนเชิญท่านมาทำพิธีปลุกเสกและหยดเทียนลงไปในบ่อน้ำนั้นชาวบ้านทั้งในและนอกหมู่บ้านนำน้ำในบ่อไปดื่มกินและรักษาโรคร้ายด้วยความศรัทธา

        เมื่อพระธุดงค์เดินทางไปธุดงค์ที่อื่น ชาวบ้านต่างพากันอพยพมาอยู่ใกล้ๆ หนองน้ำกลายสภาพเป็นหมู่บ้านใหญ่ ส่วนบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์แห่งนั้นนานๆ เข้าก็แผ่ขยายกลายเป็นหนองน้ำใหญ่ขึ้นไปเรื่อยๆ ชาวบ้านจึงพากันตั้งชื่อว่า “หนองน้ำมนต์” และเรียกหมู่บ้านตามชื่อหนองน้ำนั้น ก่อนจะกลายเป็น“หนองมน” ในกาลต่อมา เพราะไม่มีหนองน้ำมนต์ให้เห็นอีก เนื่องจากหนองน้ำมนต์ได้กลายเป็นท้องไร่ท้องนาไปแล้วนั่นเอง..

 

คนเมืองหวาน  เมื่อพูดถึงรสชาติอาหารของคนเมืองนี้ ผู้คนต้องพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าอาหารของเมืองนี้ “หวาน” นอกจากรสชาติของขนมหวานที่เมืองนี้จะมีความหวาน หอม กลอมกล่อมอยู่มากแล้ว อาหารคาวก็ยังมีรสชาติที่ออกไปทางหวานกลอมกล่อมเช่นเดียวกัน ขนมหวานของเมืองนี้ จึงขายดิบขายดีเป็นพิเศษ เพราะมีเอกลักษณ์เฉพาะสูตรของแต่ละอย่างอยู่มาก เช่น ข้าวหลาม ขนมมจาก และอื่นๆอีกมากมายให้เลือก ความเป็นอริจินอล ความเป็นธรรมชาติของรสชาติของขนมหวาน สะท้อนวิถีชีวิตอันน่าจดจำและควรค่าแก่การอนุรักษ์ไว้ เช่นการ “เผาข้าวหลาม”

ชาวหนองน้ำมนต์ คนเมืองหวาน จึงเป็นที่รู้จักต่อนักท่องนักเที่ยว ใครที่ได้แวะเวียนมาจำต้องซื้อของติดไม้ติดกลับไปอย่างแน่นอน ไม่อย่างนั้นจะพูดได้ว่า มาไม่ถึง “บางสิบหมื่น”

8,489 views

0

share

Museum in Chon Buri