คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
Instructions for use
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Back

การเลี้ยงผีปู่ตา

การเลี้ยงผีปู่ตา

ความเป็นมา

       ประเพณีการเลี้ยงผีปู่ตาเป็นประเพณีความเชื่อของชาวอีสาน ที่มีความเกี่ยวพันธ์ต่อเนื่องกัน กล่าวคือก่อนจะมีการทำบุญซำฮะนั้นก็จะต้องมีการเลี้ยงผีปู่ตาเสียก่อนในช่วงเดือน6 เดือน7 ทั้งสองประเพณีนี้เกิดขึ้นจากความเชื่อในเรื่องจิตวิญญาน(Supernaturalism) ที่มีอำนาจเหนือธรรมชาติ ซึ่งคนทั่วไปมักเรียกว่า “ผี”[1] ความเชื่อเรื่องผีในสังคมท้องถิ่นของชาวอีสานมีอยู่อย่างแพร่หลายมีทั้งผีที่ร้ายและผีที่ดี ตัวอย่างของผีที่ร้ายก็ เช่น ปอป กระสือ ซึ่งผู้คนกลัวและหาทางกำจัด ส่วนผีอีกประเภทคือผีดีนั้นผู้คนให้ความเครพนับถือกราบไหว้บูชา เช่น ผีปู่ตา เจ้าพ่อ เจ้าแม่ หรือผีบ้านผีเรือน ที่มีความเชื่อว่าคอยปกป้องให้ความคุ้มครองคนในชุมชนนั้นๆ เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพนธ์ระหว่างคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ อันเป็นผลให้เกิดประเพณีที่เกี่ยวข้องกับผีคือประเพณีการเลี้ยงผีปู่ตาและประเพณีบุญซำฮะขึ้น

ผีปู่ตา

       สมัยก่อนแทบทุกหมู่บ้านในภาคอีสานจะมี “ดอนปู่ตา” ซึ่งถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ในชุมชน โดยมีความเชื่อว่าดอนปู่ตาเป็นที่อยู่อาศัยของผีบรรพบุรุษของหมู่บ้าน ปู่ตา หมายถึง วิญญาณของบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ปู่เป็นวิญาณทางพ่อ ตา เป็นวิญญาณทางแม่ [2] คนในชุมชน จึงปลูก ตูบ หรือ หอ ให้ผีปู่ตาอาศัยซึ่งอาจจะมีรูปปั้นแทนหรือไม่มีก็ได้ โดยถือว่าเป็นเขตพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ผู้ใดจะรุกล้ำหรือตัดต้นไม้แสดงวาจาหยาบคาย ไม่ได้ ดังนั้น ดอนปู่ตา จึงเป็นกลายเป็นป่าขนาดเล็กๆและเป็นพื้นที่ป่าสงวนของคนในชุมชนไปในตัว

ความเชื่อเรื่องผีปู่ตา

       คนอีสานมีความเชื่อเรื่องผีปู่ตามานานแล้วถือว่าเป็นวิญญาณของบรรพบุรุษผู้ก่อตั้งหมู่บ้าน ความเชื่อดังกล่าวได้หยั่งลึกลงไปจิตสำนึกของลูกหลานในชุมชน และถือปฏิบัติติดต่ออย่างเคร่งครัดตลอดมา ผีปู่ตาเป็นผู้รักษาหมู่บ้านให้ชาวบ้านอยู่เย็นเป็นสุข อีกทั้งยังมีการบ๋าหรือขอพรในกรณีต่างๆ ของคนในหมู่บ้าน ซึ่งชาวบ้านที่มาบ๋าจะมีตั้งแต่เด็กนักเรียนจนถึงผู้สูงอายุทุกเพศทุกวัย การบนบานจะมีหลายอย่างเช่น การขอพรให้ตนเองประสบความสำเร็จในด้านการเรียน ค้าขาย หรือในการเดินทาง โดยหากสิ่งที่ตนเองบ๋านั้นประสบความสำเร็จ ก็จะมีการแก้บนตามที่ได้กล่าวไว้ เช่น การบ๋า ด้วยหัวหมู เป็ด ไก่ น้ำแดงหรือเหล้า หากเป็นเรื่องใหญ่ก็อาจจะถึงขึ้นมีการแสดงงมโหรสรรพ เช่น หมอลำ หรือภาพยนตร์ เลยทีเดียว[3] นอกจากนี้ในทุกๆเดือน 6 (พฤษภาคม)[4] จะมีการทำบุญเลี้ยงผีปู่ตาเป็นประจำทุกปี โดยพิธีกรรมทั้งหมด ตั้งแต่การบ๋าหรือการเซ่นไหว้ต่างๆต้องผ่าน เฒ่าจ้ำหรือกระจ้ำ ซึ่งเป็นผู้ติดต่อทางจิตกับผีปู่ตา ในกรณีที่มีคนในชุมชนทำในสิ่งที่สมควรผีปู่ตาจะแสดงให้เห็นโดยการไปสิง หรือเข้าเฒ่าจ้ำ เฒ่าจ้ำจะมีอาการสั่นแล้วพูดอะไรออกมาชัดเจนว่าใครทำอะไรผิดผีปู่ตา ให้รีบแก้ไขโดยการนำดอกไม้ ธูปเทียน ไปบอกกล่าวเพื่อขอขมา[5]

พิธีเลี้ยงปู่ตา

      พิธีเลี้ยงศาลปู่ตาหรือชาวบ้านเรียกว่าพิธีเลี้ยงบ้าน จะทำกันในวันพุธแรกของเดือน 6[6] เฒ่าจ้ำจะประกาศให้ลูกบ้านเตรียมข้าวปลาอาหาร และให้เอาหญ้าคามัดแทนวัว ควาย เป็ด ไก่ และคน ให้ครบตามจำนวนของแต่ละครอบครัว โดยนำไปรวมกันบริเวณพิธีที่ดอนปู่ตา จากนั้นเฒ่าจ้ำก็จะเป็นผู้นำประกอบพิธีเสี่ยงทายดินฟ้าอากาศรวมทั้งเหตุเภทภัยที่อาจเกิดขึ้นกับหมู่บ้าน หลังเสร็จพิธีดังกล่าวชาวบ้านก็จะแบ่งข้าวปลาอาหารไปกินเพื่อเป็นสิริมงคล

การเสี่ยงทาย

      หลังจากการทำพิธีเลี้ยงปู่ตาเสร็จจะมีการเสี่ยงทายฟ้าฝนขึ้น ด้วยวิธีการที่แตกต่างกันไปในแต่ละชุมชนเช่นการจุดบั้งไฟ ถอดคางไก่ และแทกวัดไม้วา เป็นต้น บางแห่งก็จัดเป็น 3 ชุดคือ เสี่ยงฝน เสี่ยงคน และเสียงควาย/สัตว์เลี้ยง[7] ซึ่งในแต่ละท้องถิ่นมีความแตกต่างกันไป

 

[1] ศรีศักร วัลลิโภดม . ความหมายของภูมิวัฒนธรรม การศึกษาจากภ่ยในและสำนึกของท้องถิ่น. 2551 .หน้า 32

[2] ว.ศรีสุโร .”ปู่ตา – อาฮัก”. วารสารศิลปวัฒนธรรม ปี 19 ฉบับที่ 5-9( มี.ค.-ก.ย. 2541) .หน้า64

[3] สัมภาษณ์ : นายสุภาพ บุตรวิเศษ อายุ 65 ปี บ้านเลขที่ 73 ต.กู่สันตรัตน์ อ.นาดูน จ.มหาสารคาม ผู้สัมภาษณ์ : นายนนทนันท์ เวทสรากุล,วันที่สัมภาษณ์ 5 กันยายน 2558

[4] การนับเดือนแบบปฏิทินจันทรคติของไทย

[5] สัมภาษณ์ : นายสุภาพ บุตรวิเศษ อายุ 65 ปี บ้านเลขที่ 73 ต.กู่สันตรัตน์ อ.นาดูน จ.มหาสารคาม ผู้สัมภาษณ์ : นายนนทนันท์ เวทสรากุล,วันที่สัมภาษณ์ 5 กันยายน 2558

[6] ก่อนจะมีพิธีเลี้ยงศาลปู่ตา 1 เดือน ชาวบ้านจะนำไก่ไปปล่อยบริเวณป่าใกล้ๆ ศาลปู่ตา เพื่อให้ไก่เหล่านั้นมาเป็นบริวาร

[7] สมชาย นิลอาธิ . บุญซำฮะ – เบิกบ้าน : พิธีกรรมสร้างความบริสุทธิ์เพื่อชีวิตที่สมบูรณ์ . หน้า 111

37,904 views

1

share