คำแนะนำการใช้งาน
ขยายขนาดตัวอักษร
เพิ่มระยะห่างตัวอักษร
เพิ่มขนาดลูกศรชี้
ตำแหน่ง
เส้นช่วยในการอ่าน
เน้นการเชื่อมโยง
ปรับชุดสี
เปิดการใช้งาน
ปิดการใช้งาน
Instructions for use
เริ่มต้นใช้งาน
Text Size

การขยายขนาดตัวอักษร

สามารถเลือกปรับขนาดตัวอักษรได้ 3 ระดับ คือ 20% 30% และ 40% จากขนาดมาตรฐาน

Text Spacing

การเพิ่มระยะห่างตัวอักษร

การปรับระยะห่างของตัวอักษร และช่องว่างระหว่างบรรทัด สามารถปรับได้ 3 ระดับ เพื่อให้อ่านข้อมูลต่างๆ ได้ง่ายขึ้น

Large Cursor

การเพิ่มขนาดลูกศรชี้ตำแหน่ง

ขยายขนาดของลูกศรชี้ตำแหน่ง (Cursor) ให้ใหญ่ขึ้นถึง 400%


Reading Guide

เส้นช่วยในการอ่าน

จะมีเส้นปรากฏขึ้น พร้อมกับการเลื่อนลูกศรชี้ตำแหน่ง เพื่อให้ผู้อ่านสามารถโฟกัสข้อความที่ต้องการอ่านได้สะดวกขึ้น

Highlight Links

เน้นการเชื่อมโยง

ช่วยเน้นและแยกส่วนของลิงค์หรือปุ่มต่างๆ ออกจาก เนื้อหาภายในเว็บไซต์ เพื่อให้สามารถมองเห็นปุ่มได้ชัดเจนยิ่งขึ้น

Change Color

เลือกปรับชุดสี

สามารถเลือกปรับชุดสีของเว็บไซต์ได้ 4 แบบตัวอักษรและปุ่มต่างๆ มีสีเข้มคมชัด มองเห็นได้ชัดเจน

Back

ตลาดโต้รุ่ง

ตลาดโต้รุ่งกับวิถีชีวิตผู้คนในจังหวัดมหาสารคามระหว่างปี พ.ศ.2500-2558

      หากกล่าวถึงตลาดโต้รุ่งแล้วเราก็คงทราบดีว่าหมายถึงตลาดที่จำหน่ายอาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทานที่มีให้เลือกกินหลายชนิดไม่ว่าจะเป็นประเภทอาหารคาวหวาน และมีความหลากหลายของอาหารไม่ว่าจะเป็นอาหารของแต่ละภาคหรือแม้แต่อาหารที่เป็นที่นิยม เช่น ผัดไทย หอยทอด ข้าวหมูแดง ข้าวหมูกรอบ นอกจากตลาดโต้รุ่งจะเป็นสถานที่ที่ให้บริการด้านอาหารแล้ว อีกในหนึ่งตลาดโต้รุ่งยังเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นชุมชนเมืองอีกด้วย ที่กล่าวเช่นนี้เนื่องจากหารเราลองสังเกตุแล้วในแทบทุกจังหวัดของประเทศไทยจะมีตลาดโต้รุ่งอยู่ในเขตอำเภอเมืองซึ่งถือเป็นศูนย์กลางของจังหวัดทั้งสิ้น

      ตลาดโต้รุ่งเกิดขึ้นในช่วงประมาณ พ.ศ. 2511[1] บริเวณสี่แยกธนาคารกสิกรในปัจจุบันยาวลงไปจนถึงหน้าวัดสามัคคี โดยจะมีบรรดาพ่อค้าแม่ค้ามารวมตัวกันหาบหิ้ว เข็นสินค้าต่างๆมาวางขายอาหารเท่านั้นได้เป็นอย่างที่เห็นในปัจจุบัน อาหารที่นำมาขายในยุคแรกๆนั้นก็เป็นอาหารพื้นบ้านเท่านั้นซึ่งตลาดโต้รุ่งก็ได้มีการพัฒนาการมาเรื่อยๆ ทั้งความหลากหลายของชนิดอาหารที่มากขึ้น และกลายเป็นสถานที่นัดรวมตัวของผู้คนในยุดสมัยหนึ่งอีกด้วย ซึ่งจะได้อธิบายให้เห็นเป็นยุคๆไปเพื่อจะได้ทำให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนมากขึ้น

กำเนิดตลาดโต้รุ่ง

      ตลาดโต้รุ่งมหาสารคามนั้นเกิดขึ้นในสมัยนายเกตุ วงศ์กาไสย นายยกเทศมนตรีเทศบาลเมืองมหาสารคามในสมัยนั้น (ดำรงตำแหน่งระหว่าง พ.ศ.2511-2513)[1] ที่ต้องการให้มีศูนย์รวมอาหารสำหรับการบริโภคที่เป็นหลักแหล่ง เพื่อให้บริการแก่ประชาชนและอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดตลาดโต้รุ่งนั้นอาจเป็นผลมาจากการที่เทศบาลเมืองมหาสารคามในสมัยนั้นประสบปัญหาเรื่องการเงินเป็นหนี้และไม่มีเงินจ่ายค่าคนงาน[2] จึงอาจเป็นสาเหตุให้มีการเปิดคลาดโต้รุ่งขึ้นเพื่อเก็บค่าเช่าแผงลอย โดยเริ่มให้บริการตั้งแต่เวลา 17.00 – 23.00 น.โดยสถานที่ตั้งที่แรกของตลาดโต้รุ่งนั้นอยู่ที่ถนนศรีราชวงศ์บริเวณสี่แยกธนาคารกสิกรในปัจจุบันยาวลงไปจนถึงหน้าวัดสามัคคี โดยจะมีบรรดาพ่อค้าแม่ค้ามารวมตัวกันหาบหิ้ว เข็นสินค้าต่างๆมาขายมีทั้งอาหารพื้นบ้านอาหารแบบสากล และของหวาน

สาเหตุของการย้ายสถานที่ตั้ง

      เนื่องจากความนิยมของตลาดโต้รุ่งเพิ่มมากขึ้นจึงทำให้จำนวนผู้คนที่มาใช้บริการตลาดโต้รุ่งเพิ่มมากขึ้นด้วยพร้อมกับการเติบโตทางเศรษฐกิจทำให้ผู้คนมีรถเพิ่มขึ้นไม่ว่าจะเป็นรถยนต์หรือจักรยานยนต์จึงทำให้เกิดปัญหาด้านการจารจรเกิดขึ้นและจากการที่มีนิสิตนักศึกษาเข้ามาศึกษาต่อยังสถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดเพิ่มมากขึ้นละได้มาใช้บริการตลาดโต้รุ่ง ประกอบกลับมีพ่อค้าแม่ค้าส่วนหนึ่งที่เป็นเจ้าของตึกแถวร้านค้าที่อยู่บริเวณสี่แยกธนาคารกสิกรในปัจจุบันยาวลงไปจนถึงหน้าวัดสามัคคีซึ่งเป็นสถานที่ตั้งเดิมได้รวมตัวกันเรียกร้องจากเทศบาลให้ย้ายตลาดโต้รุ่งออกไปเนื่องจากเหตุผลเรื่องความสะอาดและกลิ่นเน่าเหม็นเนื่องจากเศษอาหารและขยะที่ตกที่พื้นและปิดขวงบริเวณหน้าร้าน[1] จึงทำในปี พ.ศ. 2528 ช่วงนายประพิศ ทองโรจน์ เป็นนายกเทศมนตรี (พ.ศ.2528 - 2530) เห็นถึงปัญหา และเพื่อสะดวกในการดูแล จึงได้ย้ายตลาดโต้รุ่งมาที่ “บริเวณหลังโรงเรียนผดุงนารี”

แหล่งร่วมตัวของวัยรุ่น พ.ศ.2528 – 2543

      อาจกล่าวได้ว่าในยุคนี้เป็นยุคที่ตลาดโต้รุ่งดูมีสีสันมากที่สุดเลยก็ว่าได้เนื่องจากตลาดโต้รุ่งได้กลายเป็นสถานที่นัดรวมตัวกันของนักเรียน นิสิต นักศึกษา ในยามเย็นหรือยามค่ำคืนซึ่งตลาดโต้รุ่งได้ตั้งอยู่ที่บริเวณนี้เป็นเวลายาวนานและเป็นตำนานกล่าวขานของนิสิตนักศึกษาหลายรุ่นที่ได้มาศึกษาในยุคนี้และยังนับได้ว่าเป็นสถานที่ยอดนิยมของชาวเมืองมหาสารคาม ที่ชอบมาเลือกซื้อหาอาหารรับประทาน เป็นที่นัดพบ นัดเดท หรือแม้แต่เดินเล่นเตร็ดเตร่ดูหนุ่มดูสาวอย่างรื่นรมย์และนักศึกษาส่วนใหญ่ยังนิยมมาดูหนังอีกด้วย ซึ่งโรงภาพยนตร์ในขณะนั้นก็มีหลายแห่งและบูมไม่แพ้กัน[1] ตลาดโต้รุ่งในช่วงดังกล่าวจึงเป็นดังศูนย์กลางพบปะผู้คนเมืองมหาสารคามไปโดยปริยาย

      เป็นสถานที่นัดรวมตัวกันของนิสิตนักศึกษาในยุคนี้ตลาดโต้รุ่งได้กลายเป็นสถานที่รวมตัวของนักศึกษาจากสถาบันต่างๆที่มักนิยมจับกลุ่มเป็นกลุ่มใหญ่ๆแล้วพากันเดินมาที่ตลาดโต้รุ่งเพื่อมารับประธานอาหารหรือน้ำผลไม้ปั่นหรือขนมหวานหรือบางทีก็ต่อด้วยการดูหนังโดยมักนิยมใส่เครื่องแบบของสถาบันมาเลยเพื่อเป็นการประกาศศักดาของสถาบัน[2] ความเป็นศูนย์รวมและนัดพบของนิสิตนักศึกษานั้นถึงขั้นว่ามีหนุ่มสาวต่างสถาบันมาเจอกันแล้ว พบรักกันเลย[3] ซึ่งเป็นภาพความในความทรงจำของใครหลายๆคนหรือแม้แต่คนที่อยู่ในช่วงเวลานั้น ไม่ได้มีแต่นิสิตนักศึกษาเท่านั้นที่มาใช้บริการตลาดโต้รุ่ง ยังมีหนุ่มสาวในวัยทำงานอีกด้วยซึ่งส่วนใหญ่เป็นข้าราชการที่มาจากต่างจังหวัดและมาใช้บริการ[4]

จากคำบอกเล่าของนางบุญเลิศ จันทะพิมพ์ อายุ 50 ปี ซึ่งเคยมาใช้บริการตลาดโต้รุ่งในช่วงเวลานั้นได้อธิบายให้เห็นภาพมากขึ้น

“แต่ก่อนวันไหนไม่อยากกินข้าวบ้านพอตกเย็นก็ไปตลาดโต้รุ่งก็จะเห็นนิสิตนักศึกษาเดินมาเป็นกลุ่มๆพากันมาเต็มไปหมดกินข้าวเสร็จก็พากันไปดูหนังบ้างพากันไปนั่งเล่นอยู่ริมคลองแต่นั่งได้ไม่นานเทศบาลเขาก็มาไล่เขากลัวเป็นแหล่งมั่วสุม หนุ่มสาวก็มานั่งกินข้าวกัน ครึกครื้นมาก คนเลิกงานมาก็มาซื้อข้าวไปกินหรือไม่ก็กินที่นี้เลยเขามีโต๊ะให้”[5]

      ในปี พ.ศ. 2543 ในสมัย นายสุรกิจ ยนต์ตระกูลดำรงตำแหน่งนายยกเทศมนตรีเทศบาลเมืองมหาสารคามได้ย้ายตลาดโต้รุ่งไปตั้งที่ข้างสนามกีฬาสำนักงานเทศบาลฯ บริเวณหลังห้างสรรพสินค้าเสริมไทยและอยู่ยาวนานจนถึงปัจจุบันนี้สาเหตุการย้ายนั้นก็เป็น ผลมาจากข้อกำหนดของเทศบาลที่ให้ผู้ประกอบการเก็บแผงและรถเข็นกลับบ้านทุกวัน ปรากฏว่าผู้ประกอบการบางรายไม่ทำตามข้อตกลงของทางเทศบาล จึงเกิดปัญหาความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยขึ้น มีการปรับผู้ประกอบการที่ทำผิดประกอบกับทำให้เกิดการขีดขวางเส้นทางจารจรขึ้น และเพื่อเป็นการแก้ปัญหาที่ถาวรมากขึ้นทางเทศบาลจึงมีนโยบายให้ย้ายตลาดโต้รุ่งจากหลังโรงเรียนผดุงนารีมายังสถานที่ตั้งในปัจจุบัน

[1] เสาวคนธ์ ทองอตม์, ความคิดเห็นของผู้บริโภคต่อสภาวะสุขาภิบาลอาหารตลาดโต้รุ่ง เทศบาลเมืองมหาสารคาม อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม, การศึกษาค้นคว้าอิสระหลักสตรูปริญญาสาธารณสุขศาสตร์บัณฑิต(ต่อเนื่อง 2 ปี), คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 2546, หน้า 5

[1] สัมภาษณ์ : นายสมาน มีโชด อายุ 68 ปี,วันที่สัมภาษณ์ 19 กุมภาพันธ์ 2558

[2] สัมภาษณ์ : นายนราวิทย์ ดาวเรือง อายุ 39 ปี,วันที่สัมภาษณ์ 26 กุมภาพันธ์ 2558

[3] สัมภาษณ์ : นางเข็มทอง แก้วประเสริฐ อายุ 45 ปี,วันที่สัมภาษณ์ 6 มีนาคม 2558

[4] สัมภาษณ์ : นายวินิต ชาญศิริรัตนะ อายุ 63 ปี,วันที่สัมภาษณ์ 6 มีนาคม 2558

[5] สัมภาษณ์ : นางบุญเลิศ จันทะพิมพ์ อายุ 50 ปี,วันที่สัมภาษณ์ 3 มีนาคม 2558

5,293 views

0

share